กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการมีส่วนร่วมของชุมชนในการคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L3061-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.เกาะเปาะ
วันที่อนุมัติ 6 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 13 กรกฎาคม 2561 - 18 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 26 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 43,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมัครแวเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นายมูหะหมัด วันสุไลมาน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะเปาะ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.815,101.201place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 38 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
80.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากกสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโยลีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งโรคเรื้อรัง Metabolic ได้แก่ โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย คือ เพิ่มขึ้นจาก 135 ล้านคน ในปี ค.ศ. 1995 เป็น 151 ล้านคน ในปี ค.ศ.2000 และคาดว่าจะเป็น 221 ล้านคน ในปี ค.ศ.2010 และ 300 ล้านคน ในปี ค.ศ.2025 ตามลำดับ (King และคณะ) ความชุกของโรคเบาหวานในประชากรทุกอายุทั่วโลก พบว่าความชุก ในปี ค.ศ.2000 เท่ากับ 2.8% และจะเป็น 4.4% ในปี ค.ศ.2030 (Wild และคณะ) ขณะที่สถานการณ์ในประเทศไทย ค.ศ.1996-1997 พบว่าอัตราความชุก เท่ากับ 4.4% การวิจัยซึ่งเก็บข้อมูลจากทุกภาคของประเทศ เมื่อปี ค.ศ.2000 พบว่าอัตราความชุกของโรคเบาหวานในประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป เท่ากับ 9.6% หรือคิดเป็นจำนวน 2.4 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ที่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวานเพียงครั้งเดียว (4.8%) อีกครึ่งหนึ่งที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นเบาหวาน มาก่อน อัตราความชุกของโรคเบาหวานในเมืองสูงกว่าชนบท(์National Health Interveiw and Examination Survey) สถานการณ์ความชุกของโรคเบาหวานโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะ ปี 2015 เท่ากับ 5.26% ในปี 2016 เท่ากับ 7.6% ในปี 2017 เท่ากับ 7.7% ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีผู้ป่่วยเบาหวานในความรับผิดชอบ จำนวน 51 คน ซึ่งเพิ่มจากปี 2017 คิดเป็น 5.2% และสถานการณ์ความชุกของโรคความดันโลหิตสูงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเเกาะเปาะปี 2014 เท่ากับ 7.67% ในปี 2015 เท่ากับ 6.68% ในปี 2016 เท่ากับ 6.5% ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในความรับผิดชอบ จำนวน 152 คน ซึ่งเพิ่มจากปี 2017 คิดเป็น 6.5% การดูแลโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะโดยแพทย์เท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับการดูแลตนเองของผู้ป่วย และการตรวจป้องกันภาวะแทรกซ้อน นอกจากยังควรมีการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านเพื่อจะได้ทราบถึงปัญหาของการดูแลตนเอง และร่วมหารือ และแนะนำการแก้ไขปัญหาสุขภาพกับผู้ป่วยแต่ละราย ปัจจุบันผู้ป่วยที่มารับบริการดูแลรักษาโรคเรื้อรังดังกล่าวมีเป็นจำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยังไม่ได้รับบริการดูแลภาวะแทรกซ้อนได้อย่างครบถ้วน และการรักษาส่วนใหญ่ยังเน้นโรงพยาบาลเป็นศูนย์กลาง (Hospital-based) ถึงแม้หลายๆโรงพยาบาลจะได้รับการับรองเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ(HPH) ก็ตามทำให้ไม่เกิดความยั่งยืนในระบบการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยและครอบครัวมีศักยภาพในการดูและตนเองน้อย ทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งแพทย์ และทีมงานเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงการที่สามารถให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงผู้ป่วยได้ตระหนักในการดูแลตนเอง มีความรู้ สร้างทัศนคติ จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และปฏิบัติตัวให้ห่างจากการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วย เพื่อลดงบประมาณในการรักษาผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก การป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงและเบาหวานในประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่มีความสำคัญเพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรค ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะเปาะได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการค้นหาและคัดกรองโรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ทั้งนี้เพื่อประเมินสถานการณ์และแนวโน้มของการเจ็บป่วย อันจะเป็นแนวทางในการวางแผน กำหนดนโยบายในการควบคุม ป้องกัน และลดอัตราป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งประชาชนในกลุ่มเป้าหมายได้เกิดทักษะในการค้นหากลุ่มเสี่ยงของโรคดังกล่าวในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

1.ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพร้อยละ 90

1.00
2 2.เพื่อวางแผนดำเนินการป้องกันและแก้ไขโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ

2.ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพร้อยละ 50

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองสุขภาพเบื้องต้นเพื่อค้นหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อวางแผนดำเนินการป้องกันและแก้ไขโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

13 ก.ค. 61 ประชุมชี้แจงการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย 38.00 9,500.00 -
16 - 18 ก.ค. 61 อบรมให้ความรู้และคัดกรองสุขภาพกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป 342.00 34,200.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

1.จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติและขอสนับสนุนงบประมาณ 2.ประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับทราบนโยบายและวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อให้มีความเข้าใจในแนวเดียวกัน 3.จัดทำแผนการออกปฏิบัติงานเชิงรุกในการดำเนินงานคัดกรองเบาหวานความดันโลหิตสูงหลอดเลือดสมองและภาวะอ้วนลงพุงประชากร35ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบ 4.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมการตรวจคัดกรองความเสี่ยงในชุมชน เช่น ผู้นำท้องถิ่น อสม. 5.ประชาสัมพันธ์การคัดกรองความเสี่ยงเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมโครงการฯ 6.จัดเตรียมเอกสาร วัสดุครุภัณฑ์ต่างๆ ในการเก็บข้อมูลการคัดกรองความเสี่ยงให้เพียงพอในการดำเนินงาน 7.ประชาสัมพันธ์เชิญชวนให้กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 8.จัดประชุมชี้แจงการคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย การดูแล/ติดตามคัดกรองกลุ่มเป้าหมายแก่อาสาสมัครสาธารณสุข 9.ประเมินผล สรุป หลังเข้าร่วมโครงการ 6 เดือน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อภาระโรค METABOLIC ร้อยละ 90

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2561 14:36 น.