กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ๔ ดี หมู่บ้านยุคใหม่ ใส่ใจ ลด หวาน มัน เค็ม เติมเต็มผัก ผลไม้ ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 61-L2535-1-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกวาลอซีรา
วันที่อนุมัติ 18 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,260.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนิอาซีซะ เจ๊ะอาลี
พี่เลี้ยงโครงการ นาย อายิ หะมาดุลลาห์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปาเสมัส อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.054,101.975place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 1390 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยภาวะที่เร่งรีบจากกระแสการพัฒนาในยุคปัจจุบัน ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจของลัทธิวัตถุนิยม ที่มุ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางด้านวัตถุ เอาเงินเป็นตัวตั้ง การดำเนินธุรกิจที่ขาดความรับผิดชอบ ผู้ผลิตไม่ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับส่วนประกอบและคุณค่าทางโภชนาการ ทำให้ประชาชนมีวิถีการดำรงชีวิตที่เร่งรีบ เกิดค่านิยม วัฒนาธรรม และวิถีการดำเนินชีวิตที่ไม่เพียงพอ ขาดความสมดุล ทำให้ประชาชนขาดการเอาใส่ใจดูแล ควบคุม และป้องกันปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ประชาชนมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมและฟุ่มเฟือย นิยมบริโภคอาหารขยะหรือจั๊งค์ฟู้ด (Junk Food) ที่มีส่วนประกอบหลัก ซึ่งประกอบด้วยแป้ง น้ำตาล น้ำมัน ไขมัน ผงชูรส และเกลือมากขึ้น แต่มีสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและสติปัญญาอยู่ในปริมาณน้อยมาก ได้แก่ อาหารประเภทฟาสต์ฟูด อาหารสำเร็จรูปอาหารจานด่วน อาหารทอด อาหารขบเคี้ยว ลูกอม หมากฝรั่ง ขนมหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มรสหวาน เป็นต้น โดยสามารถหาซื้อได้ง่าย สะดวก มีการแข่งขันทางการตลาดและมีการลงทุนโฆษณาสูงมาก (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ๒๕๕๓) ส่วนการประกอบอาหารกินเองที่บ้าน และการปลูกผักไว้กินเองมีลดน้อยลง ซึ่งพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่รับประทานอาหารประเภทผักและผลไม้น้อยลงขาดการออกกำลังกาย มีภาวะความเครียดเรื้อรัง ไม่สามารถจัดการอารมณ์ได้ มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์มากขึ้น (ไพจิตร์วราชิต. ออนไลน์ ,๑ มีนาคม ๒๕๕๕) จากพฤติกรรมการบริโภคที่เกินจำเป็นขาดความสมดุลของพลังงานเข้าและออกในร่างกาย จึงไม่สามารถควบคุมน้ำหนักที่เหมาะสมได้ ทำให้เกิดภาวะโภชนาการเกิน มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วนอันมีสาเหตุจากความนิยมบริโภคที่เน้นความอร่อยตามใจชอบมากกว่าคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการ ก่อให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือที่เรียกว่า "โรควิถีชีวิต" ที่สามารถป้องกันได้และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ไปทั่วโลก โดยเฉพาะ ๕ โรควิถีชีวิตที่สำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็ง (ไพจิตร์วราชิต. ออนไลน์ ,๑ มีนาคม ๒๕๕๕) โดยพบว่า มีผู้เสียชีวิตจาก ๕ โรคดังกล่าวปีละ ๙๗,๙๐๐ คน หรือประมาณ ๑ ใน ๓ ของผู้เสียชีวิตทั้งหมดที่มีปีละประมาณ ๓ แสนคน เฉลี่ยชั่วโมงละ ๑๑ คน โดย ๒ ใน ๓ มีอายุน้อยกว่า ๖๐ ปี และในรอบ ๕ ปี ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๔๙ ๒๕๕๓ มีผู้ป่วยจาก ๕ โรควิถีชีวิตดังกล่าว เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลสูงขึ้นเกือบ ๒ เท่า (โสภณ เมฆธน. ออนไลน์ ,๑ มีนาคม ๒๕๕๕) โรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาทีพบบ่อยและเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคเรื้อรังซึ่งเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ พฤติกรรมเสี่ยงในการบริโภคอาหาร การสูบบุรี่ การดื่มสุรา การที่ไม่ออกกำลังกาย ความเครียด โรคอ้วน โรคเรื้อรังดังกล่าวโรคที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูง ถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิดภาระแทรกซ้อน และทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร ในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกวาลอซีรา มีผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีแนวโน้มจะสูงขึ้น และคาดว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี จึงได้เห็นความสำคัญของโรคเรื้อรังดังกล่าว และจัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ รวมถึงผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง และกลุ่มเสี่ยง สนใจดูแลสุขภาพของตยเอง โดยตระหนักถึงอันตรายและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 20,260.00 4 20,260.00
1 พ.ค. 60 - 29 ก.ย. 60 กิจกรรมที่ 1 จัดตั้งทีมงานเพื่อเป็นแกนนำการขับเคลื่อนโดยการจัดประชุม 20 1,500.00 1,500.00
1 พ.ค. 60 - 28 ก.ย. 60 กิจกรรมที่ 2 จัดทำเวทีประชาคมเพื่อกำหนดกติกาหมู่บ้านและประกาศใช้ในหมู่บ้าน 80 2,070.00 2,070.00
1 พ.ค. 60 - 28 ก.ย. 60 กิจกรรมที่ 3 ประเมินภาวะสุขภาพประชาชนที่มีอายุ 15 ปี ขึ้นไป 0 3,225.00 3,225.00
1 พ.ค. 60 - 28 ก.ย. 60 กิจกรรมที่ 4 พัฒนาร้านอาหารตามแนวทาง หมู่บ้านลด หวาน มัน เค็มเติมผัก ผลไม้ 0 13,465.00 13,465.00

กิจกรรมที่ ๑ จัดประชุมทีมงาน ร่วมกับผู้นำชุมชน ชี้แจง และรวมกำหนดแนวทางการปฏิบัติพร้อมกำหนดนโยบายการดำเนินงานหมู่บ้านลด หวาน มันเค็มเติมเต็มผัก ผลไม้ กิจกรรมที่ ๒ จัดทำเวทีประชาคม กำหนดกติกาหมู่บ้าน และประกาศใช้ กิจกรรมที่ ๓ ประเมินภาวะสุขภาพประชาชนในชุมชน ๓.๑ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว ๓.๒ ประเมินพฤติกรรมการสุขภาพ กิจกรรมที่ ๔ จัดประชุมเพื่อร่วมวางแผนการดำเนินงาน และรายงานผลภาวะสุขภาพชุมชนให้กับแกนนำสุขภาพและผู้นำชุมชน กิจกรรมที่ ๕ พัฒนามาตรฐานร้านอาหารตามแนวทาง หมู่บ้านลด หวาน มัน เค็มเติมเต็มผัก ผลไม้ดังนี้ ๕.๑ ลงประเมินร้านอาหารก่อนให้ความรู้ ๕.๒ อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัติให้กับร้านอาหารและแผงลอย ๕.๓ จัดทำนวัตกรรม สมุนไพรเพิ่มรส (เมนูไม่ชูรส ลดเบาหวาน ความดัน) ในหมู่บ้านลด หวาน มัน เค็ม เติมเต็มผัก ผลไม้ ๕.๔ จัดตั้งกลุ่มเครือข่ายร้านอาหารต้นแบบ ลดหวาน มัน เค็ม ๕.๕ ลงประเมินร้านอาหารหลังให้ความรู้ ลด หวาน มัน เค็ม เติมเต็มผักผลไม้ ๕.๖ มอบป้ายร้านอาหารแบบแขวนให้กับร้านอาหารที่ผ่านการประเมินอาหารลด หวาน มัน เค็ม เติมเต็มผัก ผลไม้ กิจกรรมที่ ๖ ประเมินผลกิจกรรมและโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนมีความรู้และมีพฤติกรรมสุขภาพการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง ๒. เกิดคนต้นแบบและหมู่บ้านต้นแบบในการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีและถูกต้อง ๓. อัตราการป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลดลง ๔. ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2561 14:41 น.