กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพศูนย์เรียนรู้ด้านสุขภาพจิตบ้านแม่ที ต.ลำไพล อ.เทพา จ.สงขลา
รหัสโครงการ 61-L5192-2-3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ นายสุรเดช เดเระมะ
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 15,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุรเดช เดเระมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์สภาวะด้านสุขภาพของประชากรไทยพบว่า แนวโน้มการเจ็บป่วยและตายด้วย โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพิ่มขึ้น จากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข อัตราป่วย โรคมะเร็งจาก 468.3 ในปี 2548 เป็น 759.8 ต่อแสนประชากรในปี 2555 ในขณะที่โรคมะเร็งเป็น สาเหตุการตายอันดับหนึ่งของไทยและมีแนวโน้มสูงขึ้น 8 เท่า จาก 12.6 ในปี 2510 เป็น 43.8 ในปี 2540 และ 98.5 ต่อแสนประชากร ในปี 2555 โรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นจาก 25.3 ในปี 2548 เป็น 31.7 ต่อแสนประชากรในปี 2555 ความชุกของประชาชนที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาต เพิ่มจากร้อยละ 0.8 ในปี 2547 เป็น 1.6 ในปี 2553 จากแนวโน้มดังกล่าวข้างต้นที่เพิ่มขึ้น สะท้อนถึงความต้องการการบริการการดูแลแบบประคับประคองมากขึ้น ประมาณการว่าในระยะ 10 ปีที่ ผ่านมา (2542 - 2552) ผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องการการดูแลแบบประคับประคองเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 (102,330 คน เป็น 113,548 คน) (แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาดัชนีประเมินภาระโรคและสุขภาพ ประชากรไทย สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, 2555; Cancer control, knowledge into action World Health Organization, 2007) ในทางเศรษฐศาสตร์พบว่าค่าใช้จ่ายของบุคคลในช่วงหกเดือนสุดท้ายของชีวิตมีมูลค่าสูงมากกว่า ช่วงใดๆของชีวิต คิดเป็นร้อยละ 8-11 ต่อปีของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ และเป็นร้อยละ 10-29 ของ ค่าใช้จ่ายผู้ป่วยใน (ชุติมา อรรคลีพันธ์,2553)
สำหรับพื้นที่อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ได้มีการสำรวจ และประเมินผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ที่ต้องได้รับการดูแลแบบประคับประคอง ในเดือนตุลาคม 2560 มีจำนวนทั้งหมด 53 ราย แต่ที่ได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์และได้รับการดูแลจากทีมประคับประคองของโรงพยาบาล มีเพียง 20 ราย คิดเป็นร้อยละ 37.74 ซึ่งถือว่าน้อยมาก ทั้งนี้เมื่อวิเคราะห์สาเหตุ พบว่าเกิดจากบุคลากรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง และขาดการประสานงานระหว่างเครือข่ายสุขภาพ ส่งผลให้การดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวยังไม่ครอบคลุม ความเจ็บป่วยเป็นภาวะที่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แต่ละคนมีวิธีปรับตัวต่อ การเจ็บป่วยที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของโรค ลักษณะและวิธีการแก้ปัญหาของผู้ป่วย และสภาพแวดล้อมทางครอบครัวสังคม ภาวะจิตสังคมของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ชุมชนเองควรให้ความ สนใจ และให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมซึ่งการที่ผู้เจ็บป่วยต้องเผชิญกับปัญหาชีวิต ย่อมมีความกังวลเป็นธรรมดา กังวลและซึมเศร้า เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด แต่การแสดงออกอาจไม่เท่ากัน ระยะเวลาที่มีอาการสั้นหรือยาว ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวของผู้ป่วยและญาติดังนั้นในฐานะอิหม่ามประจำหมู่บ้านแม่ทีจึงได้จัดทำโครงการมัสยิดส่งเสริมสุขภาพศูนย์เรียนรู้ด้านสุขภาพจิตบ้านแม่ที ต.ลำไพลขึ้น เพื่อพัฒนามัสยิดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพจิตและให้ประชาชนในชุมชนมีความรู้ในเรื่องมารยาทการเยี่ยมบ้านผู้เจ็บป่วยตามหลักศาสนาเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ มัสยิดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพจิต
  1. ร้อยละ 90 ประชาชนใช้มัสยิดเป็นแหล่งเรียนด้านสุขภาพจิต
90.00
2 2. เพื่อให้ชุมชนมีความรู้ในเรื่องมารยาทการเยี่ยมบ้านผู้เจ็บป่วยตามหลักศาสนา

2.  ร้อยละ 70 ประชาชนในชุมชนมีความรู้ด้านมารยาทการเยี่ยมบ้านผู้เจ็บป่วย

70.00
3 3. เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่ญาติและตัวผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง

3.  ร้อยละ 100 ของผู้ป่วยและญาติ ได้รับการเยี่ยมบ้านอย่างน้อย ๑ ครั้ง/ปี 

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 14,550.00 0 0.00
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 1 อบรมความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติและมารยาทในการใช้ชีวิตประจำวัน สู่หนทางศาสนาอิสลามเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ 0 4,700.00 -
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักการเยี่ยมผู้เจ็บป่วย ผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ ญาติผู้เสียชีวิต เพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพกายและจิต 0 7,850.00 -
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการดูแลสุขภาพจิตและญาติผู้เสียชีวิต 0 1,000.00 -
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมที่ 4 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน 0 1,000.00 -

กิจกรรมที่ 1 อบรมความรู้เกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติและมารยาทในการใช้ชีวิตประจำวัน สู่หนทางศาสนาอิสลาม เพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพกายและจิต กิจกรรมที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลักการเยี่ยมผู้เจ็บป่วยผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ ญาติผู้เสียชีวิต เพื่อดูแลส่งเสริมสุขภาพกายและจิต 2.1กิจกรรมการใช้เครื่องมือวิเคราะห์สุขภาวะชุมชนแบบมีส่วนร่วม (อสม. แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้สนใจ ) 2.2กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านศาสนาและการช่วยเหลือด้วยกองทุนญานาซะห์
2.3เยี่ยมผู้เจ็บป่วยผู้ป่วยระยะสุดท้าย และ ญาติผู้เสียชีวิต ร่วมกับผู้นำศาสนา อสม. เจ้าหน้าที่ PCU.3
กิจกรรมที่ 3 แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการดูแลสุขภาพจิตและญาติผู้เสียชีวิต
กิจกรรมที่ 4 ประชุมสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชน และชุมชนมีความรู้ในเรื่องมารยาทการเยี่ยมบ้านผู้เจ็บป่วยตามหลักศาสนาอิสลาม
  2. มัสยิดเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพจิตของประชาชนในชุมชน
  3. ได้สร้างขวัญกำลังใจแก่ญาติและตัวผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2561 09:37 น.