กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดพุง ปี 2561
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.หมู่ที่ 7
วันที่อนุมัติ 4 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 20,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม. หมู่ที่ 7
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ บ้าลานเสือ หมู่ที่7ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.973,99.85place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ค่านิยมในการบริโภคและวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปได้รับอิทธิพลจากตะวันตกตามกระแสบริโภคนิยมและวัตถุนิยม ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น การบริโภคอาหารโปรตีนและไขมันสูงที่ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ล้วนๆ อาหารรสจัด เช่นมันจัด หวานจัด เค็มจัด กินผักและผลไม้น้อย เดินน้อยลง ขาดการออกกำลังกายโดยเฉพาะคนวัยทำงานทำให้พลังงานในร่างกายไม่สมดุลกันระหว่างการได้รับเข้ามากับการใช้ไป ร่างกายจึงเปลี่ยนพลังงานที่เหลือใช้กลับไปเป็นไขมันสะสมไว้ตามส่วนต่างๆของร่างกาย และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดต่อ เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน อ้วนลงพุง ไขมันในเส้นเลือดสูง เป็นต้น หมู่ที่ 7 บ้านลานเสือ ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล จากการคัดกรองสุขภาพเชิงรุกตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ในกลุ่มประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป ในปี 2561 จำนวน 143คน พบอัตราภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน จำนวน 40 คน ร้อยละ 27.97และรอบเอวเกิน จำนวน 55 คน ร้อยละ 38.46 รวมถึงการตรวจสุขภาพในกลุ่มอายุ 15 – 34 ปี พบกลุ่มที่มีน้ำหนักเกินและรอบเอวเกิน ร้อยละ 50 ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัญหาภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐานและรอบเอวเกินทั้ง 2 กลุ่มเป็นส่วนใหญ่ หากไม่รีบควบคุมและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง เบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดนิ่วในถุงน้ำดี และมะเร็งประชาชนกลุ่มเสี่ยงจึงควรมีการปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย เพื่อให้มีการใช้พลังงานให้สมดุลกัน ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังการปรับพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการออกกำลังกายในการควบคุมภาวะน้ำหนักเกินที่ถูกต้อง เน้นที่การปฏิบัติโดยส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ศึกษาปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อให้พฤติกรรมนั้นคงอยู่ตลอดไปซึ่งการส่งเสริมสุขภาพ ดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ ว่าผลสำเร็จของการปรับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายเกิดผลลัพธ์ว่ามีการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว และลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ ดังนั้นอสม.หมู่ที่ 7 บ้านลานเสือ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อในส่วนนี้จึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดพุงปี 2561 ดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดพุง ร้อยละ 80 ข้อที่ 2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีรอบเอวและค่าดัชนีมวลกายลดลง ร้อยละ 20

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดพุง ร้อยละ 80
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมีรอบเอวและค่าดัชนีมวลกายลดลง ร้อยละ20

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20.00 0 0.00
1 ต.ค. 60 - 30 ก.ย. 61 โครงการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ลดพุง ปี 2561 0 20.00 -

1.เขียนโครงการเสนอเพื่อขออนุมัติ
2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง( เจ้าหน้าที่ แกนนำชุมชน แกนครอบครัว อสม.) 3.ทำทะเบียนและประเมินสุขภาพกลุ่มเสี่ยงเบื้องต้นก่อนเข้าร่วมโครงการ ชั่งน้ำหนัก ส่วนสูง ความดันโลหิต รอบเอว ค่าดัชนีมวลกาย 4. จัดอบรมให้ความรู้โดยวัดความรู้ก่อน – หลัง อบรม
5. ประเมินผลการเปลี่ยนแปลงหลังจากเข้าร่วมโครงการเดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน
6. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค
    1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีสุขภาพที่ดีรอบเอวลดลง สามารถดูแล แนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องแก่ประชาชนในพื้นที่ได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2561 16:17 น.