กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจการออกกำลังกาย และสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ26 มิถุนายน 2561
26
มิถุนายน 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.กำแพง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ

1.1 กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยเชิญวิทยากรผู้ที่มีความรู้ความสามารถจากเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอหรือผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น มาให้ความรู้วิธีการปลูกผัก การดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว และให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนที่จำหน่ายอาหาร
1.2 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ จะเป็นการยกโรงเพาะปลูกลักษณะกึ่งถาวร เตรียมดินในกระบะ โดยจะผสมมูลไก่ มูลวัว แกลบดำและแกลบแห้งเข้ากับดินร่วน โดยการปลูกผักลักษณะนี้ จะเป็นการร่วมมือกันระหว่างโรงเรียนและชุมชน จะเป็นการปลูกผักปลอดสารพิษ ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักเป็นธาตุอาหารหลักสำหรับพืช
1.3 แกนนำนักเรียนลงพื้นที่สำรวจร้านค้าในชุมชน เพื่อสำรวจการบริโภคพืชผักของประชาชนในชุมชน
1.4 นักเรียนขยายองค์ความรู้ที่ได้ไปสู่ครอบครัว โดยสนับสนุนให้นักเรียนและครอบครัวปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเองที่บ้าน โดยครูประจำชั้นจะเป็นผู้ประเมินในช่วงเวลาของการออกเยี่ยมบ้านนักเรียน

1.5 นักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 96 และผู้ปกครองนักเรียนหรือคนในชุมชน โดยจะเป็นการแบ่งปันสถานที่ร่วมกันในการเพาะปลูก ผู้ปกครองก็สามารถใช้สถานที่ในการปลูกผักไว้กินเองได้ เมื่อได้ผลผลิตแล้วก็จำหน่ายให้กับโรงเรียนหรือบุคคลภายนอก และนำกำไรมาเป็นทุนในการผลิตพืชผักในรอบต่อไป จะทำให้เกิดการหมุนเวียนของระบบเศรษฐกิจเล็กๆภายในโรงเรียนและชุมชน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมย่อยที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการปลูกผักปลอดสารพิษหรือการปลูกผักปลอดภัย โดยทางโรงเรียนได้เชิญนายพงษ์ศักดิ์ ฉิมอินทร์ โดยได้รับคำแนะนำจากเกษตรอำเภอละงู ซึ่งท่านเป็น Smart Farmer ของอำเภอละงู ท่านมีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ด้านการปลูกผักปลอดภัยอย่างถูกวิธีทั้งการเตรียมดิน วิธีการปลูกดูแล การเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วยนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะครู และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในการอบรมก่อน-หลัง พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ 53.20 หลังจากได้มีการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่า มีระดับความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.16 ในส่วนกิจกรรมย่อยที่ 2 เป็นการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ลงมือปฏิบัติในการปลูกผัก นักเรียนมีทักษะในการผสมดิน การเพาะเมล็ดพันธุ์ การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ ซึ่งพืชที่ปลูกจะเป็นพืชสวนครัว อาทิ ผักบุ้งจีน คะน้า ผักกาด มะเขือ พริก เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปขายให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน นักเรียนได้รับรายได้จากการดูแลพืชพันธุ์ของตนเอง อีกทั้งนักเรียนเองก็สามารถมั่นใจได้ว่าบริโภคผักที่ปลอดสารพิษในทื้ออาหารกลางวัน และนักเรียนก็จะได้นำองค์ความรู้ ทักษะที่ได้จากโรงเรียนไปต่อยอดสู่ครอบครัวในการปลูกผักเพื่อไว้รับประทานเอง โดยโรงเรียนได้แจกต้นกล้าที่เพาะไว้ให้กับนักเรียนกลับไปปลูกที่บ้าน