กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมย่อยที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการปลูกผักปลอดสารพิษหรือการปลูกผักปลอดภัย โดยทางโรงเรียนได้เชิญนายพงษ์ศักดิ์ ฉิมอินทร์ โดยได้รับคำแนะนำจากเกษตรอำเภอละงู ซึ่งท่านเป็น Smart Farmer ของอำเภอละงู ท่านมีความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ด้านการปลูกผักปลอดภัยอย่างถูกวิธีทั้งการเตรียมดิน วิธีการปลูกดูแล การเก็บเกี่ยว ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วยนักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะครู และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชน มีความรู้ความเข้าใจในการอบรมก่อน-หลัง พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ 53.20 หลังจากได้มีการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่า มีระดับความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 81.16 ในส่วนกิจกรรมย่อยที่ 2 เป็นการปลูกผักปลอดสารพิษ โดยให้นักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้ลงมือปฏิบัติในการปลูกผัก นักเรียนมีทักษะในการผสมดิน การเพาะเมล็ดพันธุ์ การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้ ซึ่งพืชที่ปลูกจะเป็นพืชสวนครัว อาทิ ผักบุ้งจีน คะน้า ผักกาด มะเขือ พริก เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปขายให้กับโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียน นักเรียนได้รับรายได้จากการดูแลพืชพันธุ์ของตนเอง อีกทั้งนักเรียนเองก็สามารถมั่นใจได้ว่าบริโภคผักที่ปลอดสารพิษในทื้ออาหารกลางวัน และนักเรียนก็จะได้นำองค์ความรู้ ทักษะที่ได้จากโรงเรียนไปต่อยอดสู่ครอบครัวในการปลูกผักเพื่อไว้รับประทานเอง โดยโรงเรียนได้แจกต้นกล้าที่เพาะไว้ให้กับนักเรียนกลับไปปลูกที่บ้าน

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมทางกาย เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมเพื่อปลูกฝังให้นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะครูมีเจตคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย ทั้งนี้เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์การออกกำลังกายจากโรงเรียนสู่ชุมชนให้หันมาออกกำลังกาย ผ่านกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในทุกเย็นวันอังคาร เวลา 15.00-16.00 น. ทั้งนี้บางสัปดาห์จะเป็นการวิ่ง บางสัปดาห์จะเป็นการปั่นจักรยานสลับกันไป ซึ่งเส้นทางในการเดิน วิ่ง ปั่น จะออกจากโรงเรียนสู่ชุมชนบ้านท่าแลหลาหรือมุ่งหน้าสู่ชุมชนที่ใกล้เคียง อาทิ ชุมชนบ้านอุไร ชุมชนบ้านป่าฝาง ชุมชนบ้านปีใหญ่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยส่วนมากจะเป็นนักเรียน คณะครู และมีผู้ปกครองนักเรียนบางส่วนให้ความร่วมมือเข้ากิจกรรม ทั้งนี้เมื่อประมวลภาพรวมของกิจกรรมจะเห็นได้ว่า นักเรียนตื่นตัวกับกิจกรรม ให้ความร่วมมือดีและเฝ้ารอที่จะเข้าร่วมกิจกรรม สร้างบรรยากาศของการออกกำลังกายร่วมกัน และจากแบบสำรวจความพึงพอใจในกิจกรรม พบว่า นักเรียน คณะครูและผู้ปกครองนักเรียนให้ความพึงพอใจในกิจกรรมร้อยละ 98 และอยากให้จัดกิจกรรมแบบนี้อย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมอบรมให้ความรู้การลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ โดยทางโรงเรียนได้เชิญครูกิตติศักดิ์ อาหลี ครูโรงเรียนบ้านวังพระเคียน ครูปริญญา หยีมะเร็บ ครูโรงเรียนบ้านทุ่งสภากาชาดอุปถัมป์ 25850 ครูอนิรุทธ์ โทบุรี ครูโรงเรียนบ้านปากบารา ซึ่งครูทั้งสามท่าน เป็นบุคคลที่มีความสามารถในการจัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้การลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะรีไซเคิลมาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ผู้เข้ารับการอบรมเป็นนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และคณะครูโรงเรียนท่าแลหลา ซึ่งหัวข้อในการบรรยายเกี่ยวกับปัญหาขยะการจัดการขยะอย่างถูกวิธี การคัดแยกขยะ ซึ่งกิจกรรมการคัดแยกขยะ วิทยากรจะให้ลูกบอลสีแก่นักเรียนทุกคนคละสีกัน ซึ่งนักเรียนจะต้องบอกชื่อขยะให้ตรงกับสีที่ตนเองได้รับ จากนั้นนักเรียนจะต้องนำขยะไปคัดแยกให้ตรงประเภท ซึ่งจากการสังเกตุนักเรียนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีและนักเรียนสามารถบอกชื่อขยะได้ตรงกับสีที่ถือ และสามารถคัดแยกได้ตรงกับประเภทของขยะนั้น ทั้งนี้เป็นการสร้างความเข้าใจให้กับนักเรียนในเรื่องการคัดแยกขยะได้เป็นอย่างดี ในส่วนภาคบ่ายเป็นกิจกรรมการประดิษฐ์สิ่งของจากขยะรีไซเคิล โดยให้นักเรียนนำเศษผ้าเหลือใช้มาจากบ้าน เพื่อมาประดิษฐ์เป็นพรมรองนั่งหรือพรมเช็ดเท้า วิทยากรได้แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ คละชั้นกัน โดยให้นักเรียนแบ่งเศษผ้าออกเป็นชิ้นเท่าๆกัน มีความกว้างความยาวเท่าๆกัน และให้นักเรียนนำมาผูกกับตะแกรงที่เตรียมไว้เต็มทุกช่อง เมื่อนักเรียนผูกผ้าเต็มทุกช่อง ก็จะได้พรมรองนั่งหรือพรมเช็ดเท้าที่มีสีสันสวยงาม เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างในการลดขยะมูลฝอย โดยการนำมารีไซเคิลและประดิษฐ์ให้เป็นชิ้นงานใหม่เพื่อเอาไว้ใช้ประโยชน์ และจากการประเมินผลการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม พบว่า ก่อนการอบรมผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความรู้ร้อยละ 62.18 หลังจากได้มีการอบรมให้ความรู้แล้ว พบว่า มีระดับความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.73


ปัญหาและอุปสรรค
ในส่วนที่ 2 กิจกรรมทางกาย เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย ผู้ปกครองนักเรียนหรือคนในชุมชนให้ความร่วมมือในกิจกรรมค่อนข้างน้อย เนื่องด้วยภาระหน้าที่การงานของแต่ละครที่จะต้องทำ ซึ่งในชุมชนประกอบอาชีพเกษตรกรรม และในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนที่ผ่านมา ผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่จะต้องเตรียมไร่นาของตัวเองในการเพาะปลูก จึงไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ จึงมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มาร่วมกิจกรรมกับทางโรงเรียน ทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จในการสร้างความสนใจ ความตื่นตัวในการออกกำลังกายในแก่คนในชุมชนมากเท่าที่ควร

ข้อเสนอแนะ

ควรประชาสัมพันธ์ในหลายๆช่องทาง ทั้งผ่านเสียงตามสายของชุมชน ป้ายประชาสัมพันธ์ ที่มากกว่านี้หรือแม้กระทั่งแผ่นพับประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่างๆของโรงเรียน เพื่อสร้างความสนใจ ความตื่นตัวในการเข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ
ตัวชี้วัด : - นักเรียน ผู้ปกครอง ครู และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ
80.00 81.16

 

2 2.เพื่อลดการบริโภคสารพิษเข้าสู่ร่างกาย
ตัวชี้วัด : - ร้อยละ 80 ของนักเรียน ครู และผู้ปกครองร่วมกันปลูกผักปลอดสารพิษภายในโรงเรียน - นักเรียนนำผักปลอดสารพิษจากโรงเรียน ไปขยายผลสู่ครัวเรือนไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 - ร้านค้าในชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 จำหน่ายผักปลอดสารพิษในชุมชน
80.00 100.00

 

3 3.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกายร่วมกันระหว่างนักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : - นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 - นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองและคนในชุมชน มีความพึงพอใจต่อโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
70.00 98.00

 

4 4.เพื่อให้นักเรียน และครู มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์
ตัวชี้วัด : - นักเรียนและครู ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการลดขยะ คัดแยกขยะ และการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์
80.00 85.73

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 96
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 96
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการอาหารปลอดภัย ใส่ใจการออกกำลังกายและสิ่งแวดล้อม เป็นโครงการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้นักเรียนผู้ปกครอง ครูและผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษและลดการบริโภคสารพิษเข้าสู่ร่างกาย โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้ประกอบการร้านค้าในชุมชน จำนวนทั้งหมด 150 คน ซึ่งได้เชิญวิทยากรมาให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษและนักเรียนก้ได้ลงมือปฏิบัติในการปลูกผักรับประทานเองด้วย อีกทั้งเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการออกกำลังกายร่วมกันระหว่างนักเรียน คณะครู ผู้ปกครอง และคนในชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน คณะครู ผู้ปกครองนักเรียนและคนในชุมชน จำนวน 150 คน มาร่วมเดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกายด้วยกันในทุกเย็นวันอังคาร และสุดท้ายเพื่อให้นักเรียนและคณะครูมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการลดขยะ คัดแยกขยะและการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียน ครู จำนวน 111 คน ซึ่งได้เชิญวิทยากร มาให้ความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะมูลฝอย และประดิษฐ์สิ่งของจากเศษวัสดุเหลือใช้ ในการนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ในการอนุเคราะห์วิทยากรเพื่อมาให้ความรู้แก่นักเรียนในกิจกรรมต่างๆ ดังที่กล่าวมา ซึ่งงบประมาณในการดำเนินโครงการ ได้รับการจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลกำแพง จำนวน 48,615 บาท โดยแบ่งเป็นกิจกรรมย่อย ดังนี้ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ งบประมาณ 15,285 บาท กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปลูกผักปลอดสารพิษ งบประมาณ 10,280 บาท กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม เดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย งบประมาณ 7,500 บาท และกิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การลดขยะ คัดแยกขยะและการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ งบประมาณ 14,550 บาท

ผลที่ได้จากการดำเนินโครงการ ประเมินจากผลการทดสอบความรู้ ก่อนการอบรม และหลังการอบรม ของนักเรียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักปลอดสารพิษและคัดแยกขยะ พบว่า นักเรียนมีความรู้หลังการอบรมมากกว่าก่อนเข้ารับการอบรม ดังนี้ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ นักเรียนมีความรู้ก่อนอบรม ร้อยละ 53.20 เมื่อทดสอบด้วยข้อสอบชุดเดิมหลังการอบรม นักเรียนมีความรู้ร้อยละ 81.16 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ การลดปริมาณขยะ คัดแยกขยะและการนำขยะมูลฝอยมาใช้ประโยชน์ นักเรียนมีความรู้ก่อนการอบรม ร้อยละ 62.18 เมื่อทดสอบด้วยข้อสอบชุดเดิมหลังการอบรม นักเรียนมีความรู้ร้อยละ 85.73 และกิจกรรมเดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย จากการสังเกตการณ์เข้าร่วมกิจจกรรม พบว่า นักเรียน คณะครู ร้อยละ 98 มีความสนใจ กระตือรือร้นในการเข้าร่วมกิจกรรม ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี

ในด้านปัญหาและอุปสรรค พบว่า ในการดำเนินการต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา 2561 พบว่า ในกิจกรรมการเดิน วิ่ง ปั่น ออกกำลังกาย ความร่วมมือจากผู้ปกครองและคนในชุมชนยังมีสัดส่วนที่น้อย เนื่องด้วยภาระงานของคนในชุมชน จึงไม่สะดวกในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวเท่าที่ควร

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh