กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน


“ คนนาทอนรักษ์สุขภาพ ”

ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายจรูญศักดิ์ โกศัยพัฒน์ ,นางสาวกีลาโรสน์ธนวิทยากร ,นางจิตติยาระเมาะ ,นางสาวสมเจริญเสียมไหม , นางสาวกุนวดีศรีสมบูรณ์

ชื่อโครงการ คนนาทอนรักษ์สุขภาพ

ที่อยู่ ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L5294-2-07 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"คนนาทอนรักษ์สุขภาพ จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
คนนาทอนรักษ์สุขภาพ



บทคัดย่อ

โครงการ " คนนาทอนรักษ์สุขภาพ " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล รหัสโครงการ 61-L5294-2-07 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 50,000.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องทำเอง เชื่อแน่ว่าประโยคทองของการรณรงค์ส่งเสริมการออกกำลังกายประโยคนี้ย่อมไม่มีใครปฏิเสธว่าไม่เคยได้ยิน เพียงแต่จะได้นำเอาไปปฏิบัติหรือไม่นั้นเป็นสิ่งที่แล้วแต่พฤติกรรมส่วนบุคคล การส่งเสริมสุขภาพหรือ Health promotion เป็นกระบวนการที่มุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพที่มีความเหมาะสมกับความต้องการของร่างกายมนุษย์ นโยบาย 6 อ. เพื่อสุขภาพที่ดี แนวทาง 6 อ. ได้แก่ ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์แจ่มใส อนามัยสิ่งแวดล้อม อโรคยา และลด ละ เลิก อบายมุข ซึ่งมีแนวทางปฏิบัติดังนี้ 1. ออกกำลังกาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรัสว่า " การออกกำลังกายนั้นทำน้อยเกินไปร่างกายและจิตใจก็จะเฉาและทำมากเกินไปร่างกายและจิตใจก็จะช้ำ"
2. อาหารปลอดภัย การปฏิบัติตนที่เกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารที่มีคุณค่า เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในแต่ละวันให้ครบ 5 หมู่ รับประทานอาหารที่ปรุงสุก สะอาด ปลอดภัยจากสารปนเปื้อน และการบริโภคอาหารให้ได้สัดส่วนที่เหมาะสม เพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัยเพื่อพัฒนาการที่สมบูรณ์ ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดในหัวข้อโภชนาการต่อไป 3. อารมณ์แจ่มใส การปฏิบัติตนที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการจัดการกับอารมณ์ การผ่อนคลายความเครียด การจัดการกับอารมณ์เป็นสิ่งที่ต้องมีความตั้งใจด้วยตัวเราเองว่าจะปรับการแสดงออกทางอารมณ์ของตนเองไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งอาศัยการฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
4. อนามัยสิ่งแวดล้อม หมายถึง การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมทั้งด้ายกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ให้เหมาะสมต่อการดูแลสุขภาพ การรักษาความสะอาดสถานที่ต่าง ๆ ลำน้ำ คู คลอง การกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกสุขลักษณะ การหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงที่เป็นพาหะนำโรค การใช้วัสดุที่ย่อยสลายง่ายเป็นต้น 5. อโรคยา หมายถึง การไม่มีโรค การปฏิบัติตนเพื่อไม่ให้ป่วยเป็นโรคต่างๆ ทั้งโรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อ สามารถทำได้จากการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค เช่น เชื้อโรคต่างๆ โดยได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อบางชนิด หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือหายใจ หรือการรับประทานอาหารที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน การตรวจสุขภาพประจำปี การมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม การแสวงหาความรู้และข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพใหม่ ๆ เสมอ ทั้งนี้ในการรับข้อมูลข่าวสารจะต้องพิจารณาถึงความถูกต้องน่าเชื่อถือ อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่เป็นเท็จเกินความเป็นจริง การเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรง เป็นต้น 6. อบายมุข หมายถึง หนทางที่นำไปสู่ความเสื่อมเสีย เป็นเหตุให้เกิดการสูญเสียทรัพย์ อาทิเช่น การดื่มน้ำเมา การเที่ยวการคืน การดูการละเล่น การเล่นการพนัน การคบคนชั่วเป็นมิตรและการเกียจคร้านการทำงาน การเข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ มากมายในการดำเนินชีวิต สุขภาพไม่ดี ขาดความสุข เช่น การดื่มน้ำเมาเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคโรคมะเร็งตับ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การขาดการพักผ่อน ร่างกายอ่อนเพลีย เกิดอุบัติเหตุ เป็นต้น รวมถึงปัญหาทางด้านสุขภาพจิตและปัญหาสังคมด้วย
ชุมชนบ้านนาทอน หมู่ที่ ๑ ตำบลนาทอน เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพของประชาชนในชุมชน เพื่อให้ครบทุกกลุ่มเป้าหมาย คนสามวัยได้แก่ เด็ก เยาวชน ประชากรวัยทำงานและผู้สูงอายุ ที่มีเวลาว่างในการออกกำลังกายน้อยและมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคที่เรียกว่า "ภัยเงียบ" ในอัตราที่สูงขึ้น จึงได้จัดทำโครงการคนนาทอนรักษ์สุขภาพ เพื่อร่วมใจส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และกระตุ้นให้เด็ก เยาวชนและประชาชนในชุมชน หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว อย่างจริงจัง ลดอัตราการป่วยที่เกิดจากภัยเงียบ ได้อย่างถาวร มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงห่างไกลจากยาเสพติด และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่างกาย และจิตใจ
  2. เพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกวิธี
  3. เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีและลดอัตราเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคติดต่อและปัญหาสุขภาพในพื้นที่ โดยบูรณาการการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
  4. เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ปัญหาที่เกิดจากยาเสพติด ปัญหาชีวิต ปัญหาสุขภาพ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันปัญหาอันอาจะเกิดขึ้นได้กับตนเองและคนรอบข้าง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. 1. กิจกรรมส่งเสริม ฟื้นฟูผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแล
  2. 2. กิจกรรมสร้างความเข้มแข็งแก่เด็กและเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. คนทุกวัยในชุมชนได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจได้ด้วยตัวเอง
    ๒. คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพ ภายใต้แนวคิดตำบลจัดการตนเอง ด้วยการพัฒนาศักยภาพตำบลจัดการสุขภาพ ในการสร้างเสริมสุขภาวะ
  2. ได้จัดรูปแบบการดำเนินงานของชุมชน ที่มีกิจกรรมและกระบวนการที่เชื่อมประสานกับการบริการของรพ.สต. ที่มีมาตรฐานด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
  3. เป็นการพัฒนาทักษะในการดำเนินชีวิตของประชาชน เสริมสร้างความสุขในครอบครัวและการมีส่วนร่วมของชุมชน
  4. ประชาชนในชุมชนมีสุขภาพกายที่แข็งแรง ลดอัตราการป่วยด้วยโรคภัยเงียบ ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิต มะเร็ง หลอดเลือดสมอง และโรคอ้วน
  5. ประชาชนมีความรู้ และใช้นโยบาย 6 อ.ในการดำเนินชีวิต
  6. เด็กและเยาวชนมีทางเลือกในการดูแลสุขภาพตนเองและเพื่อน ๆ ให้ห่างไกลจากยาเสพติด
  7. ประชาชนมีความสุขมากขึ้น วัดจากการประเมินดัชนีความสุขของประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 1. กิจกรรมส่งเสริม ฟื้นฟูผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแล

วันที่ 13 กรกฎาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.1 กิจกรรมย่อย อบรมให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพและการออกกำลังกายแก่กลุ่มเป้าหมายและผู้ดูแลให้สามารถดูแลสุขภาพและแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพด้วยตนเอง จำนวน 2 วัน
-ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน ๆ ละ 2 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท (จำนวน 2 วัน) = 2,400 บาท
-ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน คนละ 60 บาท = 6,000.-บาท
-ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 20 บาท = 4,000.-บาท
-ค่าวัสดุในการอบรม 100 คนๆ ละ 50 บาท = 5,000.-บาท
-ค่าป้ายโครงการ 500 .-บาท
1.2 กิจกรรมย่อย ตรวจสุขภาพให้แก่กลุ่มเป้าหมาย (เยี่ยมบ้านเยี่ยมใจ)
1.2.1 เจ้าหน้าที่ อสม. ลงเยี่ยมบ้านทุก 2 สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 5 เดือน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมสัมพันธภาพในครอบครัวของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสและผู้ป่วยติดเตียง โดยการสอบถามการปฏิบัติกับกลุ่มเป้าหมาย
1.2.2 เจ้าหน้าที่ อสม. ทำการตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น วัดความดัน ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว ตรวจสุขภาพในช่องปาก ฯลฯ
-ค่าพาหนะในการเดินทางสำหรับ เจ้าหน้าที่ อสม. 11 คน ๆ ละ 50 บาทต่อครั้ง จำนวน 10 ครั้ง (111050) = 5,500.-บาท
-ค่าเอกสารในการบันทึกสุขภาพ จำนวน 20 เล่มๆละ 50 บาท = 1,000.-บาท
-คู่มือในการดูแลสุขภาพ จำนวน 100 เล่ม ๆ ละ 50 บาท = 5,000.-บาท
รวมเป็นเงิน 29,400.-บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

100 0

2. 2. กิจกรรมสร้างความเข้มแข็งแก่เด็กและเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด

วันที่ 2 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

2.1 กิจกรรมย่อย อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของปัญหายาเสพติดในปัจจุบัน ทักษะในการปฏิเสธ และการสังเกตเมื่อคนในครอบครัวติดยาเสพติด
- ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน ละ 3 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท = 1,800.-บาท
- ค่าอาหารกลางวัน 30 คน ๆ ละ 60 บาท = 1,800.-บาท
- ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 30 คน จำนวน 2 มื้อ ๆ ละ 20 บาท = 1,200.-บาท
- ค่าวัสดุ/เอกสารในการอบรม 30 ชุด ชุดละ 30 บาท = 900.-บาท
***คืนเงินสด 14,900 บาท ***

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-

 

30 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่างกาย และจิตใจ
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของคนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลรักษาสุขภาพ
80.00

 

2 เพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกวิธี
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของคนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อดูแลสุขภาพให้ดีขึ้น
80.00

 

3 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีและลดอัตราเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคติดต่อและปัญหาสุขภาพในพื้นที่ โดยบูรณาการการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 70 ของคนในชุมชนมีสุขภาพดีขึ้น
80.00

 

4 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ปัญหาที่เกิดจากยาเสพติด ปัญหาชีวิต ปัญหาสุขภาพ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันปัญหาอันอาจะเกิดขึ้นได้กับตนเองและคนรอบข้าง
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 50 ของเด็กและเยาวชนหันมาใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์จากการเล่นกีฬาห่างไกลยาเสพติด
80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพร่างกาย และจิตใจ (2) เพื่อให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพที่ถูกวิธี (3) เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพดีและลดอัตราเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรคติดต่อและปัญหาสุขภาพในพื้นที่ โดยบูรณาการการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (4) เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ปัญหาที่เกิดจากยาเสพติด ปัญหาชีวิต ปัญหาสุขภาพ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันปัญหาอันอาจะเกิดขึ้นได้กับตนเองและคนรอบข้าง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) 1. กิจกรรมส่งเสริม ฟื้นฟูผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสผู้ป่วยติดเตียงและผู้ดูแล (2) 2. กิจกรรมสร้างความเข้มแข็งแก่เด็กและเยาวชนให้ห่างไกลยาเสพติด

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


คนนาทอนรักษ์สุขภาพ จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L5294-2-07

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายจรูญศักดิ์ โกศัยพัฒน์ ,นางสาวกีลาโรสน์ธนวิทยากร ,นางจิตติยาระเมาะ ,นางสาวสมเจริญเสียมไหม , นางสาวกุนวดีศรีสมบูรณ์ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด