กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมฟื้นฟูให้ความรู้ การกำจัดขยะและการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L2481-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธาณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 24 มกราคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 15 มกราคม 2562
งบประมาณ 126,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรีซัน มะเก
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.22,102.059place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 700 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามสภาวะปัจจุบันจะเห็นได้ว่า การกำจัดขยะในพื้นที่ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะท้อนเป็นท้องถิ่นหนึ่งที่ประสบปัญหาด้านการจัดการขยะมูลฝอย เนื่องจากการจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะท้อนได้เทกองบนพื้นดิน ทำให้เกิดมลพิษต่างๆ ตามมา เช่น ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เกิดความสกปรกไม่สะอาดเรียบร้อย ทั้งยังเป็นบ่อเกิดของโรคภัยไข้เจ็บแก่ประชาชน รวมถึงปัญหาปริมาณมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ให้ความร่วมมือในการคัดแยกขยะมูลฝอยจากครัวเรือน จนทำให้พื้นที่ไม่สามารถที่จะรองรับปริมาณขยะได้ในอนาคต เนื่องจากมีข้อจำกัดของพื้นที่ในการจัดการ โครงการอบรมฟื้นฟูให้ความรู้ การกำจัดขยะและการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนและท้องถิ่นดำเนินโครงการที่จะพัฒนาไปสู่ชุมชนและท้องถิ่นที่น่าอยู่ที่สุด และ เพื่อให้ประชาชนในชุมชนมีสุขภาวะครบ 4 มิติ ทั้งทางกาย ใจ สังคม และ ปัญญานั้น ตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จึงได้จัดการเพื่อร่วมสร้างสรรค์ชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่ โดยพื้นที่เป้าหมายคือ หมู่ที่ 1 บ้านปูยู ตำบลตำบลเกาะสะท้อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสเนื่องจากหมู่ที่ 1 บ้านปูยู เป็นประตูเข้าสู่ตำบลเกาะสะท้อนและมีตลาดติดถนนทั้งยังเป็นหมู่บ้านที่ติดถนนใหญ่ผู้คนสัญจรไปมามาก จึงทำให้สองข้างทางมีขยะที่ผู้คนผ่านไปมาทิ้งไว้ทำให้ดูไม่สะอาดตา และภูมิทัศน์ที่สวยงามก็ดูจะจืดจางไป ประชาชนในหมู่บ้านไม่เล็งเห็นความสำคัญเท่าที่ควร ประกอบกับเป็นชุมชนการเกษตร จึงมีขยะจากผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือทิ้งจำนวนมาก รวมทั้งเศษอาหารจากครัวเรือนซึ่งไม่ได้มีการจัดการขยะอย่างเหมาะสม มีเฉพาะถังขยะของ อบต.ที่จัดรองรับไว้เป็นจุดๆและทิ้งขยะปะปนกันทุกประเภท ซึ่งในแผนพัฒนา 3 ปีของอบต.มีในเรื่องของการจัดหาถังขยะเพื่อรองรับขยะ การจัดหาที่ทิ้งขยะประจำท้องถิ่น การจัดธนาคารขยะในบางหมู่บ้าน การรณรงค์ลดภาวะโรคร้อน ซึ่งปรากฏว่าทางอบต.ได้ดำเนินการเฉพาะการจัดหาถังขยะเพื่อรองรับขยะได้เพียงอย่าเดียว และต่อเนื่องจากโครงการปี 2560 เพื่อต่อยอดโครงการให้ประชาชนได้ดำเนินงานต่อเนื่องดังนั้นองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะสะท้อนร่วมกับแกนนำชุมชนหมู่ที่ 1 บ้านปูยู จึงได้ดำเนินการในเรื่องการจัดการขยะอย่างครบวงจร ตามโครงการอบรมฟื้นฟูให้ความรู้ การกำจัดขยะและการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี เพื่อลดปัญหาขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะอย่างครบวงจร

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะอย่างครบวงจรร้อยละ 90

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง

ประชาชนสามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้องร้อยละ 90

0.00
3 เพื่อให้มีจุดคัดแยกขยะที่ถูกวิธีในพื้นที่

มีจุดคัดแยกขยะที่ถูกวิธีในพื้นที่ร้อยละ 90

0.00
4 เพื่อจัดตั้งกลุ่มคัดแยกขยะในพื้นที่นำร่อง 1 หมู่บ้าน

จัดตั้งกลุ่มคัดแยกขยะในพื้นที่นำร่อง 1 หมู่บ้านร้อยละ 100

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 700 126,800.00 0 0.00 126,800.00
1 ก.พ. 61 - 30 ก.ย. 61 อบรมฟื้นฟูแกนนำหมู่บ้านนำร่อง 250 5,400.00 - -
1 ก.พ. 61 - 30 ก.ย. 61 อบรมฟื้นฟูในแกนนำเด็กนักเรียน 450 21,600.00 - -
1 ก.พ. 61 - 30 ก.ย. 61 ประชาสัมพันธ์โครงการ 0 99,800.00 - -
รวมทั้งสิ้น 700 126,800.00 0 0.00 126,800.00

1.ประชุมร่วมกับประชาคมของชุมชนเพื่อสะท้อนสภาพปัญหาด้านสุขาภิบาลและแนวทางการจัดการขยะของชุมชนนั้นเพื่อให้ทราบสภาพที่แท้จริงและการจัดการบ้านเรือนในชุมชนและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาโดยให้เน้นถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนในเรื่องการจัดการด้านสุขาภิบาลในชุมชน แนวทางการจัดการขยะ เพื่อดำเนินงานในระดับครัวเรือน และพัฒนาเป็นอาสาสมัครรณรงค์การคัดแยกขยะ และตกลงกติกาการดำเนินงานของกลุ่มให้ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการกลุ่มหรือบริหารงบประมาณหากมีจัดตั้งกองทุนการกำจัดขยะโดยผู้สนใจที่เข้าร่วมโครงการ ในหลังคาเรือนจะมีการแยกขยะเป็นชนิด โดยแบ่งเป็น       - ขยะสดที่เป็นเศษอาหารมีการกำจัดโดยทิ้งใส่ถังหมักที่มีกากน้ำตาล เพื่อเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพนำไปบำรุงดิน หรือพัฒนาเป็นน้ำหมักไล่แมลงรดพืชผัก ต้นไม้ ที่ปลูกในสวนหรือไร่นา       - ขยะแห้งให้มีการคัดแยกแต่ละชนิดในครัวเรือน พลาสติก กระดาษ แก้ว อาจแยกขยะใส่ภาชนะที่จัดเก็บหรือใช้ถุงปุ๋ยที่มีมากอยู่แล้วในชุมชนเก็บไว้แล้วทำการนัดหมายสมาชิกกลุ่มมารวมขยะเพื่อจะบันทึกน้ำหนักขยะ ของแต่ละครัวเรือนพร้อมนัดหมายรถรับซื้อขยะเข้ามาชื้อขยะรีไซเคิลในชุมชน และนำเงินที่ได้บริหารจัดการตามข้อตกลงของกลุ่ม
2. ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่แกนนำชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สร้างความเข้าใจแก่หน่วยงานและองค์กรต่างๆเพื่อแสวงหาแหล่งทุนและความร่วมมือในการดำเนินงานจัดการขยะอย่างครบวงจร 3. ชุมชนร่วมกันรณรงค์ จัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน และชุมชนให้น่าอยู่ เน้นปลุกจิตสำนึกสมาชิกให้ตระหนักในการรักษาความสะอาด โดยกิจกรรมกำจัดขยะครั้งยิ่งใหญ่ในชุมชน เพื่อเป็นการสร้าง กระแสและประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันทั้งหมู่บ้าน 1 ครั้ง 4. อบรมให้ความรู้การจัดการขยะอย่างครบวงจรโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ แก่ประชาชนในหมูบ้านและอสม.เพื่อเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอยใน 5. อบรมให้ความรู้การจัดการขยะอย่างครบวงจรโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ แก่แกนนำนักเรียนเพื่อเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้เรื่องการจัดการขยะมูลฝอยในโรงเรียนและที่บ้าน 6. จัดเวทีประชาคมตัวแทนครัวเรือน หมู่บ้าน ทุกหมู่บ้าน เพื่อวิเคราะห์ปัญหา /วางแผนแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย   -กำหนดกิจกรรมการจัดการขยะอย่างครบวงจร 6.1 คัดเลือกแกนนำ กลุ่ม อสม. กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชน และตัวแทนกลุ่มทุนต่างๆในพื้นที่ เพื่อเป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรม
    6.2 จัดตั้งกลุ่มกิจกรรมการจัดการขยะ เช่น กลุ่มเก็บขยะสะสมขายเป็นเงิน กลุ่มเยาวชนอาสาพิทักษ์สิ่งแวดล้อม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความตระหนักและตื่นตัวในการจัดการขยะของชุมชนตนเองด้วยการร่วมมือกันคัดแยกขยะสดออกจากขยะแห้ง
  2. ประชาชนร่วมใจกันคัดแยกขยะไว้ขาย ไว้เป็นอาหารสัตว์ ไว้ทำปุ๋ยตามธรรมชาติและทำน้ำหมักชีวภาพ
  3. เกิดกลุ่มแกนนำเยาวชนในการดูแลสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่คอยสอดส่องดูแลความสะอาดเรียบร้อยในหมู่บ้าน
  4. มีจุดคัดแยกขยะในหมู่บ้าน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2561 13:34 น.