กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสบายหัวเมื่อหนูปลอดเหา
รหัสโครงการ 61-L3319-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทะเลน้อย
วันที่อนุมัติ 17 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 14 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 7,550.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอาทิตยา แก้วเหมือน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทะเลน้อย อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.824,100.145place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2561 14 ก.ย. 2561 7,550.00
รวมงบประมาณ 7,550.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน(3 ขึ้นไป - 6 ปี) ที่มีปัญหาโรคเหา
30.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เหา เป็นแมลงในกลุ่มปรสิต อาศัยอยู่บนร่างกายคน และดำรงชีวิตด้วยการกินขี้ไคลบนหนังศีรษะของคนเรา เหามีมากกว่า 3,000 ชนิด ซึ่งบางส่วนเป็นปรสิตที่อยู่ในสัตว์ แต่ที่เป็นชนิดที่อยู่ ในคนนั้นมีเพียงแค่ 3 ชนิด ได้แก่ เหาที่อยู่บนศีรษะ เหาที่เกาะอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเหาที่บริเวณอวัยวะเพศ หรือ โลน โดยเหาแต่ละชนิดจะอาศัยอยู่ในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย อาทิเช่น บนศีรษะ บนร่างกาย และบริเวณอวัยวะเพศ เหาสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ โดยการอยู่ใกล้ชิดและคลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรคเหา จึงทำให้ผู้ที่เป็นโรคเหานั้นก็มักจะถูกสังคมรังเกียจ ซึ่งอาการที่มักจะพบได้จากคนที่เป็นเหา คือ อาการคันและเป็นแผลติดเชื้อบนหนังศีรษะ อันเนื่องมาจากการระคายเคือง นอกจากนี้เหายังชอบวางไข่เอาไว้ตามเส้นผมของเราจนทำให้เห็นเป็นจุดขาวๆ ตามเส้นผม แถมยังเกาะแน่นอีกด้วย โดยจะไม่หลุดไป ถึงแม้ว่าจะหายเป็นเหาแล้วก็ตาม
โรคเหาเป็นโรคที่พบกันบ่อยมากในกลุ่มเด็กปฐมวัย จาการตรวจสุขภาพประจำวันของเด็กประจำปี 2560 ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทะเลน้อย พบว่า เด็กผู้หญิงเป็นเหาจำนวนมาก โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 45 ซึ่งโรคเหานับเป็นโรคที่น่ารังเกียจ สำหรับคนทั่วไป นอกจากก่อให้เกิดความรำคาญกับผู้ที่เป็นเนื่องจากมีอาการคันศีรษะแล้วยังทำให้เสียสมาธิในการเรียน เสียบุคลิกภาพ และยังเป็นพาหนะนำไปติดผู้อื่นต่อไป วิธีการรักษาเหา จะต้องทำการรักษาผู้ที่อยู่ใกล้ชิดควบคู่กันไป โดยต้องทำการควบคุมไม่ให้เหาแพร่กระจาย และป้องกันไม่ให้เกิดการติดเหาซ้ำโดยใช้ยาเพื่อฆ่าเหาซึ่งยามีทั้งในรูปครีม เจล หรือโลชั่น ซึ่งวิธีการรักษาเหาในรูปแบบดังกล่าวเป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย และเห็นผลชัดเจน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านทะเลน้อย ได้เล็งเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพของเด็กปฐมวัยที่เป็นโรคเหา จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นเพื่อกำจัดเหาในเด็กปฐมวัยเด็กเล็กบ้านทะเลน้อย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยศูนย์เด็กเล็กบ้านทะเลน้อยได้รับการกำจัดเหา

ร้อยละ 70 ของเด็กปฐมวัยได้รับการกำจัดเหาที่ถูกวิธี

30.00
2 2. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสมาธิในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น

ร้อยละ 70 ของเด็กปฐมวัยมีสมาธิในการทำกิจกรรมอย่างมีความสุข

30.00
3 3. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขอนามัยที่ดีและมีบุคลิกภาพดีขึ้น

ร้อยละ 70 ของเด็กปฐมวัยมีสุขอนามัยที่ดีและมีบุคลิกภาพที่ดี

30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1. เพื่อให้เด็กปฐมวัยศูนย์เด็กเล็กบ้านทะเลน้อยได้รับการกำจัดเหา

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสมาธิในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3. เพื่อให้เด็กปฐมวัยมีสุขอนามัยที่ดีและมีบุคลิกภาพดีขึ้น

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

21 ส.ค. 61 สาธิตวิธีการกำจัดเหาและแจกแชมพูยากำจัดเหา 7.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ
  2. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
  3. จัดซื้อยากำจัดเหาและอุปกรณ์
  4. จัดทำหนังสือขออนุญาตจากผู้ปกครองเพื่อกำจัดเหา
  5. ชี้แจงผู้ปกครองทำความเข้าใจเกี่ยวกับห้วงเวลาการกำจัดเหาให้เด็กปฐมวัยกลุ่มเป้าหมาย (โดยติดต่อกันจำนวน 2 ครั้งห่างกัน 2 สัปดาห์)
  6. แจกยากำจัดเหาและอุปกรณ์ให้ผู้ปกครองเด็กกลุ่มเป้าหมายเพื่อให้การกำจัดเหาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
  7. ติดตามผลโดยครูตรวจสุขภาพเด็กกลุ่มเป้าหมายทุกวัน
  8. ประเมินผล สรุปและรายงานผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กปฐมวัยศูนย์เด็กเล็กบ้านทะเลน้อยได้รับการกำจัดเหา
  2. เด็กปฐมวัยมีสมาธิในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น
  3. เด็กปฐมวัยมีสุขอนามัยที่ดีและมีบุคลิกภาพดีขึ้น
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2561 14:42 น.