กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างภูมิคุ้มกันปัญหายาเสพติดในชุมชนโรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล

อภิปรายเรื่องผลกระทบที่เกิดจากยาเสพติด เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การเข้าถึงยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัญหาอื่นๆ ทั้งในด้านสุขภาพกาย จิต สังคม แล้วสรุปแผนผังความคิด1 กรกฎาคม 2561
1
กรกฎาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย กองทุนเทศบาลตำบลฉลุง
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

อภิปรายเรื่องผลกระทบที่เกิดจากยาเสพติด เช่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การเข้าถึงยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และปัญหาอื่นๆ ทั้งในด้านสุขภาพกาย จิต สังคม แล้วสรุปแผนผังความคิด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากแผนผังความคิดเรื่องอันตรายและผลกระทบของยาเสพติด พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถอธิบายถึงอันตรายและผลกระทบของยาเสพติดต่อตนเองและร่างกาย ต่อครอบครัว ต่อสังคมและต่อประเทศชาติ สรุปได้ดังนี้ ผลกระทบต่อตนเอง - ทำให้ร่างกายทรุดโทรม/ซึมเศร้า เกิดความเจ็บป่วย/เป็นโรคติดต่อ ทำให้จิตใจวิตกกังวล ไม่มีสติสัมปชัญญะขาดความมั่นใจ ก่อให้เกิดอาการคลุ้มคลั่งทำร้ายร่างกายตนเองและผู้อื่นได้ ผลกระทบต่อสังคม - ทำลายเยาวชน ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรม/เกิดอุบัติเหตุต่างๆ นำไปสู่โรคติดต่อร้ายแรง เป็นที่รังเกียจของสังคม เป็นบ่อเกิดให้สังคมเสื่อมโทรม ทำให้การพัฒนาสังคมเป็นไปได้อย่างล่าช้า เพิ่มภาระหน้าที่ให้กับสังคมมากขึ้น ผลกระทบต่อครอบครัว - ทำให้ครอบครัวไม่มีความสุช ขาดความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ขาดความสามัคคี เกิดความ ห่างเหินในครอบครัวเกิดความแตกแยกในครอบครัว ครอบครัวได้รับความเดือดร้อน สูญเสียรายได้ เป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุทำลายชื่อเสียงของครอบครัว ทำให้ผู้อื่นพูดในทางที่ไม่ดี ผลกระทบต่อประเทศชาติ -ส่งผลให้การพัฒนาประเทศชาติล่าช้า เสื่อมเสียชื่อเสียง สิ้นเปลืองงบประมาณของรัฐบาลในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด อาจส่งผลทำให้เพิ่มภาระการเสียภาษีของประชาชนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้พลเมืองขาดคุณภาพ ก่อให้เกิดปัญหาอาชญากรรมมากขึ้น นอกจากนี้จากการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรมเรื่องอันตรายและผลกระทบของยาเสพติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การเข้าถึงยาสูบ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และปัญหาอื่นๆ ทั้งในด้านสุขภาพกาย จิต สังคมจำนวนคำถามทั้งหมด 20 ข้อพบว่ากลุ่มเป้าหมายได้คะแนน ดังนี้

ก่อนการอบรม หลังการอบรม คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ คะแนนที่ได้ จำนวนคน คิดเป็นร้อยละ 7 1 2.08 11 1 2.08 8 2 4.17 12 1 2.08 9 2 4.17 13 1 2.08 10 1 2.08 14 1 2.08 11 3 6.25 15 2 4.17 12 2 4.17 16 3 6.25 13 4 8.33 17 7 14.58 14 3 6.25 18 9 18.75 15 2 4.17 19 5 10.42 16 3 6.25 20 18 37.5 17 8 16.67
18 5 10.42
19 6 12.5
20 6 12.5
รวม 48 100 รวม 48 99.99
จากตารางประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม พบว่า ก่อนการอบรม กลุ่มเป้าหมายได้คะแนนสูงสุดที่ 20 คะแนน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5 รองลงมา 19 คะแนน จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 12.5 และได้คะแนนน้อยที่สุดที่ 7 คะแนน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.08หลังการอบรม กลุ่มเป้าหมายได้คะแนนสูงสุดที่ 20 คะแนน จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 37.5 รองลงมา 19 คะแนน จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 10.42และได้คะแนนน้อยที่สุดที่ 11 คะแนน จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 2.08 เมื่อนำมาเปรียบเทียบการประเมินความรู้ก่อน-หลังการอบรม กลุ่มเป้าหมายมีความรู้เพิ่มขึ้นจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33 และมีความรู้เท่าเดิม จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 16.66