กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง
รหัสโครงการ 61-L7580-3-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง
วันที่อนุมัติ 10 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กรกฎาคม 2561 - 15 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 15 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 16,626.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางประภาพร ชูนิ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนิสากร บุญช่วย
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลฉลุง อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.725,100.035place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 42 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในแต่ละปีไทยมีเด็กเกิดใหม่กว่า ๗ แสนคน ทำให้มีเด็กก่อนวัยเรียนที่มีอายุต่ำกว่า ๕ ปี เกือบ ๔ ล้านคน จำนวนนี้ครึ่งหนึ่งเป็นเด็กอายุระหว่าง ๒ ปี ถึง ๓ ปีร่วมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน ทำให้สภาพครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่หรือผู้ปกครองเด็กต้องทำงานนอกบ้าน ไม่สามารถเลี้ยงดูบุตรหลานตนเองในช่วงเวลากลางวัน เด็กกลุ่มนี้จึงถูกนำไปฝากเลี้ยงในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลจำนวนมาก ซึ่งเป็นสถานที่ที่เด็กอยู่รวมกันจำนวนมาก และมีมากกว่า ๑๙,๐๐๐ แห่ง ผลที่ตามมาคือศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลจึงเป็นสถานที่เด็กจำนวนมากอาศัยอยู่รวมกัน เมื่อเด็กคนใดคนหนึ่งเจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อ ซึ่งการเจ็บป่วยหรือโรคติดต่อนี้ก็จะแพร่กระจายไปสู่เด็กคนอื่นๆ ได้ง่ายและรวดเร็ว ทำให้เด็กต้องหยุดเรียนจำนวนมาก ติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายวันหรือแม้กระทั่งปิดโรงเรียนชั่วคราว เพื่อทำความสะอาดและเพื่อลดปัจจัยที่จะนำไปสู่การระบาดมากยิ่งขึ้น เช่น การระบาดของโรคมือ เท้า ปาก เป็นต้น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง ได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบการบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น ในด้านการจัดการศึกษา ในเด็กปฐมวัย ที่มีช่วงอายุ ๒-๕ ปี และด้วยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่าด้วยการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานและการจัดการศึกษาปฐมวัยเป็นการจัดการศึกษาที่มุ่งเพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมของเด็กให้เติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และมีการพัฒนาการ ที่เหมาะสมกับช่วงวัยทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและจิตสำนึกที่พึงประสงค์ และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง จึงได้มีกิจกรรมดำเนินการเตรียมความพร้อมของเด็ก ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจ โดยการตรวจคัดกรอง และป้องกันโรคที่มักเกิดขึ้นกับเด็กช่วงวัยนี้ได้แก่ โรคหวัด โรคมือ เท้า ปาก โรคไข้เลือดออก และยังดำเนินการตรวจประเมินภาวะโภชนาการ พัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ และตรวจสุขภาพช่องปากแก่เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจากการดำเนินงานดังกล่าว ยังพบว่าเด็กปฐมวัยมีฟันผุเพิ่มขึ้น ยังพบอีกว่ามีโรคที่มักเกิดขึ้นกับเด็กช่วงวัยนี้เกิดขึ้นซ้ำและซ้ำอีก ส่วนในด้านพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ พบว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ผลของการจัดโครงการเมื่อครั้งที่แล้ว ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง มีความรู้ความเข้าใจและนำไปปฏิบัติในการป้องกัน และการสังเกตอาการเบื้องต้นและการรักษาโรคติดต่อ การแปรงฟันให้ถูกวิธี สารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอสำหรับเด็กปฐมวัย พัฒนาการตามช่วงอายุของเด็กปฐมวัย ทำให้ลดการเกิดโรคและทุกขภาวะของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้เป็นอย่างดี ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุง ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลเรื่องสุขภาพเด็กปฐมวัย หากเด็กปฐมวัยได้รับการตอบสนองอย่างถูกต้องและเพียงพอ นอกจากจะทำให้ผู้ปกครองและบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าใจปัญหาทางด้านสุขภาพของเด็กปฐมวัยแล้ว ยังอาจมีส่วนยับยั้ง หรือแก้ไขความผิดปกติทางด้านร่างกายของเด็ก ก่อนที่ปัญหาจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขอนามัยเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลฉลุงขึ้น โดยจัดให้มีกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในการให้ความรู้และเพิ่มทักษะแก่เด็กปฐมวัยและผู้ปกครองเรื่องการดูแลสุขภาพในเด็กช่วงปฐมวัยอย่างถูกต้อง และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยปีการศึกษาใหม่ ในการเฝ้าระวังสุขภาพบุตรหลานของตนเองอนึ่งการจัดทำโครงการดังกล่าวจะส่งผลให้เด็กเจริญเติบโตเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีการพัฒนาการที่เหมาะสมกับช่วงวัยทั้งในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา มีความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและจิตสำนึกที่พึงประสงค์ และอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยมีความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพของเด็กในช่วงปฐมวัยในเรื่องการแปรงฟัน พฤติกรรมและพัฒนาการเด็ก โภขนาการและโรคติดต่อ

ผู้ปกครองที่เข้ารับการอบรมทำแบบทดสอบหลังอบรมได้มากกว่าร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังสุขภาพของบุตรหลานตนเองที่บ้านได้อย่างถูกต้อง

ผลการตรวจแบบคัดกรองอาการป่วยเบื้องต้น หลังจากที่ได้รับการอบรม

0.00
3 เพื่อลดอัตราการเกิดโรคและทุกขภาวะที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ผลการตรวจตามแบบคัดกรองอาการป่วยเบื้องต้น และแบบประเมินภาวะโภชนาการเด็กปฐมวัย หลังจากการได้รับการอบรม

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 16.00 1 16,626.00
23 ก.ค. 61 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 4 ฐาน 0 16.00 16,626.00
  1. ติดต่อและประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องและประสานวิทยากร 2. จัดบอร์ดให้ความรู้ ๔ ด้าน ขั้นตอนดำเนินกิจกรรม -ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรม ทำแบบทดสอบก่อนอบรมให้ความรู้ จำนวน๒๐ ข้อ -แบ่งผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรม ออกเป็น ๒ กลุ่ม จัดอบรมให้ความรู้โดยวิทยากรจากสาธารณสุข ฐานละ ๑ ชั่วโมง ได้แก่
    ฐานฟัน การแปรงฟันให้ถูกวิธี สาธิตการแปรงฟันย้อมสีฟัน ฐานพัฒนาการ พัฒนาการตามช่วงอายุของเด็กปฐมวัย การเสริมสร้าง IQ และ EQ เด็กปฐมวัยพฤติกรรมที่มักจะพบในเด็กปฐมวัย ทางบวกและทางลบ ประเมินพัฒนาการเด็กตามแบบประเมินคู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ฐานโภชนาการ สารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอสำหรับเด็กปฐมวัยเมนูอาหารบำรุงสมองเด็กปฐมวัย  ฐานโรคติดต่อโรคติดต่อในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การป้องกัน สาเหตุและการสังเกตอาการเบื้องต้นและการรักษาโรคติดต่อ -สรุปความรู้ที่ได้รับจากตัวแทนผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรม แต่ละกลุ่ม -ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรม ทำแบบทดสอบหลังอบรม พร้อมเฉลยและมอบรางวัลแก่ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรม ที่ได้คะแนนมากที่สุด 3. ประเมินผลการดำเนินงาน 4. รายงานผลให้กองทุนหลักประกันสุขภาพและเทศบาล
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจในด้านการดูแลสุขภาพ ของเด็กในช่วงปฐมวัย ในเรื่อง การแปรงฟัน พัฒนาการเด็ก โภชนาการและโรคติดต่อ 2. ผู้ปกครองสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปเฝ้าระวังสุขภาพของบุตรหลานตนเองที่บ้านได้อย่างถูกต้อง
  2. ลดอัตราการเกิดโรคและทุกขภาวะที่เกิดขึ้นกับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2561 13:57 น.