โครงการตรวจค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่
ชื่อโครงการ | โครงการตรวจค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านลางา |
วันที่อนุมัติ | 22 พฤษภาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 28 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 24,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายหะหมะ หลีโกะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบ้านนา อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.901,100.742place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 807 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๒ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทยรองจากมะเร็งเต้านมปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ๑๐,๐๐๐รายและเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก๕,๐๐๐รายอัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก ๗คน/วันเป็น๑๔คน/วันสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคมและครอบครัวตามมาอย่างมากมายแต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกร้อยละ ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงทีดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง จากเหตุผลดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านลางาจึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ขึ้น โดยขอรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลบ้านนาประจำปี ๒๕๖๑
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อให้สตรีอายุ ๓๐ – ๖๐ ปี มีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและวิธีการตรวจคัดกรอง ๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกและวิธีการตรวจคัดกรอง มากกว่าร้อยละ ๗๐ |
0.00 | |
2 | ๒.เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้น ๒. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี pap smear ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๒๐ และสตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อรักษา ร้อยละ ๑๐๐ |
0.00 | |
3 | ๓. เพื่อส่งเสริมให้สตรีรู้จักการป้องกันตนเองจากมะเร็งปากมดลูก ๓. สตรีกลุ่มเป้าหมายรู้วิธีการป้องกันตนเองจากมะเร็งปากมดลูก มากกว่าร้อยละ ๗๐ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 24,250.00 | 2 | 24,245.00 | 5.00 | |
28 พ.ค. 61 | กิจกรรมที่ ๑ กิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในชุมชน เพื่อเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก | 0 | 4,050.00 | ✔ | 4,045.00 | 5.00 | |
28 พ.ค. 61 - 31 ส.ค. 61 | กิจกรรมที่ ๒ จัดสัปดาห์รณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี pap smear | 0 | 20,200.00 | ✔ | 20,200.00 | 0.00 | |
28 พ.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 | กิจกรรมที่ ๓ ติดตามผลการตรวจและแจ้งให้กลุ่มเป้าหมายทราบ ส่งต่อผู้ที่มีผลการตรวจผิดปกติทุกคน | 0 | 0.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 24,250.00 | 2 | 24,245.00 | 5.00 |
วิธีดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ
๑. ประชุมปรึกษาในการจัดทำโครงการ
๒. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
๓. ประชุมชี้แจง/ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้อง
๔. จัดเตรียมวัสดุ,อุปกรณ์และสถานที่
ขั้นดำเนินการ
๑. ประชาสัมพันธ์โครงการ
๒. จัดกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายในชุมชน เพื่อเข้ารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก
๓. จัดสัปดาห์รณรงค์ตรวจมะเร็งปากมดลูกโดยวิธี pap smear
๔. บันทึกข้อมูลการตรวจมะเร็งปากมดลูกในโปรแกรม Pap Register ส่งสถาบันมะเร็ง
๕. ติดตามและแจ้งผลการตรวจแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย
๖. ส่งต่อสตรีที่มีผลการตรวจผิดปกติเพื่อรับการรักษา
๑. สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูก ๒. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ๓. สตรีที่มีผลการตรวจผิดปกติ ได้รับการส่งต่อเพื่อรักษาอย่างทันท่วงที
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2561 15:04 น.