โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมใจ ห่างไกลโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2561
ชื่อโครงการ | โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมใจ ห่างไกลโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปี 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L7889-1-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก |
วันที่อนุมัติ | 23 พฤษภาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 17 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 13,172.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปริก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.694,100.473place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพเป็นภาวะแห่งความสมบูรณ์ของร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณที่บุคคลรับรู้ได้ว่าตนมีความสุข ปราศจากความเครียดหรือแรงกดดันใดๆ สุขภาพจึงเป็นสิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนาแต่อย่างไรก็ตามภาวะสุขภาพเป็นกระบวนการพลวัตที่ไม่หยุดนิ่ง จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างสลับซับซ้อนอยู่ตลอดเวลาและอย่างต่อเนื่องบุคคลจึงต้องพยายามหาวิธีการที่จะปกป้องสุขภาพเพื่อไม่ให้เกิดภาวะเจ็บป่วยหรือถึงแม้ว่าจะเกิดภาวะเจ็บป่วยขึ้นบุคคลจะต้องพยายามดูแลรักษาเพื่อให้ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุด วิธีการสำคัญที่บุคคลใช้ปกป้องสุขภาพนั้น คือการมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ถูกต้องและสม่ำเสมอ การมีสุขภาพดีจึงเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนาประเทศเนื่องจากเมื่อประชาชนมีสุขภาพที่ดี สามารถประกอบอาชีพและปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลิตผลเพิ่มขึ้น เพิ่มโอกาสที่จะมีรายได้และชีวิตการทำงานที่ยืนยาว การลาหยุดงานและการลาป่วยน้อยลง ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพจึงมีความสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในปัจจุบัน จากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา(ข้อมูล ณ วันที่ 11 พฤษภาคม 2561) ตามที่ได้ดำเนินการตรวจคัดกรองในปี 2560 มีกลุ่มเป้าหมายประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ทั้งหมด 1,403 คน มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานจำนวน 174 คน ได้รับการปรับเปลี่ยน 129 หรือร้อยละ 74.14 และกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,229 คน ได้รับการปรับเปลี่ยน 580 หรือร้อยละ 47.19 และจากการคำเนินโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมใจ ห่างไกลโรคเบาหวานและความดัน โลหิตสูง ปี 2560 พบกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในกลุ่มปกติได้ ร้อยละ 65 และกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในกลุ่มปกติได้ ร้อยละ 71.16 ซึ่งเห็นได้จากการสรุปผลการอบรมพบว่า กลุ่มเสี่ยงยังขาดความตระหนัก ไม่ให้ความสำคัญในการควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย ทำให้ขาดความต่อเนื่องในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ จึงเห็นควรจัดโครงการต่อเนื่องดังนั้นในปี 2561 การอบรมกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานจึงเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพที่ดีเพื่อจะได้ไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเอง ร้อยละ 90 ของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเอง |
90.00 | |
2 | เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง ร้อยละ 50 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง |
50.00 | |
3 | เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตจากกลุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มปกติร้อยละ 50 อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ลดลงร้อยละ 10 |
50.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 พ.ค. 61 | ค่าจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 1 แผ่น (ขนาด 2.4 x 1.3 ตรม.) | 60 | 402.00 | - | ||
4 มิ.ย. 61 | ค่าแผ่นตรวจน้ำตาลในเลือด แผ่น strip กล่องละ 1,400 x 1 กล่อง | 60 | 1,400.00 | - | ||
4 มิ.ย. 61 | ค่าเข็มเจาะ ( 1 กล่องราคา 870 บาท มี 200 ชิ้น ) X 1 กล่อง | 60 | 870.00 | - | ||
22 มิ.ย. 61 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 60 คน x 2 มื้อ x 1 วัน | 60 | 3,000.00 | - | ||
22 มิ.ย. 61 | ค่าอาหารกลางวัน 50 บาท x 60 คน x 1 มื้อX 1 วัน | 60 | 3,000.00 | - | ||
29 มิ.ย. 61 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 60 คน x 1 มื้อ x 1 วัน (ติดตามครั้งที่ 1) | 60 | 1,500.00 | - | ||
31 ก.ค. 61 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 60 คน x 1 มื้อ x 1 วัน (ติดตามครั้งที่ 2) | 60 | 1,500.00 | - | ||
31 ส.ค. 61 | ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บาท X 60 คน x 1 มื้อ x 1 วัน (ติดตามครั้งที่ 3) | 60 | 1,500.00 | - | ||
รวม | 480 | 13,172.00 | 0 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ
- รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ผลจากการคัดกรองเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
- จัดประชุมผู้เกี่ยวข้อง เพื่อชี้แจงแผนการดำเนินงาน
- จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ และขอสนับสนุนงบประมาณ
- ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ขั้นการดำเนินการ
- แจ้งภาวะสุขภาพให้กลุ่มเสี่ยงทราบและบันทึกข้อมูลการคัดกรองเบื้องต้นไว้เพื่อเปรียบเทียบหลังสิ้นสุดโครงการ
- จัดทำทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ
- ติดต่อวิทยากร อาหารสำหรับการจัดอบรมสำหรับกลุ่มเสี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
- จัดอบรมให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแก่กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
- นัดติดตามกลุ่มเสี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการอบรมทุก 1,2,3เดือน ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปริก โดยการเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อประเมินระดับน้ำตาลในเลือดและวัดความดันโลหิต
- ดำเนินงานตามแผนจนเสร็จสิ้นโครงการ
- สรุปผลการดำเนินงานโครงการ และรายงานผลการดำเนินงานตามลำดับชั้น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลตนเอง
2 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง
3 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตจากกลุ่มเสี่ยงเป็นกลุ่มปกติร้อยละ 50
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ค. 2561 12:50 น.