กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมป้องกันและค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ปี 2561
รหัสโครงการ 61-L1487-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุโสะ
วันที่อนุมัติ 24 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 11,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางชลธิชา ปานแดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.236,99.673place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างใหญ่หลวงอุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้า ๆ ในอดีต แต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้นเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยาดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงให้วามสำคัญแก่แผนงานวัณโรคแห่งชาติในอันที่จะพัฒนายุทธศาสตร์ที่สำคัญในการควบคุมวัณโรคโดยการดำเนินงานควบคุมวัณโรคในระยะแรกได้เน้นไปที่การตรวจรักษาและการป้องกันโรคจากการทบทวนแผนงานวัณโรคแห่งชาติโดยคณะผู้เชี่ยวชาญวัณโรคจากองค์การอนามัยโลกมีข้อเสนอแนะที่ต้องเร่งรัดการดำเนินงานวัณโรค เพื่อให้บรรลุเป้าหมายอัตราการรักษาหายและกินยาครบหรือที่เรียกว่าอัตราความสำเร็จของการรักษาวัณโรค (Treatment success rate) มากกว่าร้อยละ 90 แนวทางการรักษาที่เป็นที่ยอมรับทั่วโลก คือ การรักษาผู้ป่วยวัณโรค โดยมีพี่เลี้ยงคอยกำกับการกินยา ต่อหน้าทุกวัน ที่เรียกว่า DOTS ( Directly Observed Treatment System) ซึ่งองค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ให้เสนอแนะให้ทุกประเทศทั่วโลก ใช้แนวทางการรักษาเพื่อเพิ่มอัตราความสำเร็จ ในการรักษาวัณโรคโดยพี่เลี้ยงหมายถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม.หรือบุคคลในครอบครัวเพื่อคอยดูแลผู้ป่วยวัณโรคให้กินยาทุกวัน ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยได้กินยาจนกระทั่งหายขาด ไม่เกิดปัญหาดื้อยาวัณโรคและการแพร่เชื้อวัณโรคในชุมชนต่อไปจำนวนผู้ป่วยวัณโรค รพ.สต.สุโสะ ตั้งแต่ปี 2558-2560 ทั้งหมด 4 รายอัตราการรักษาหาย 4 ราย เพื่อให้มีประสิทธิภาพรวมทั้งการสร้างความตระหนักในระดับชุมชนและร่วมกันส่งเสริมป้องกันปัญหาของวัณโรคให้ลดน้อยลงต่อไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุโสะ จึงได้เร่งรัดดำเนินการโครงการป้องกันและควบคุมวัณโรค โดยการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่และวิธี DOTS ในระดับชุมชน ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในกลุ่มเสี่ยง พื้นที่เขตรับผิดชอบของ รพ.สต.สุโสะ

ประเมินผลจากกิจกรรมการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคปอดกลุ่มเสี่ยงในชุมชน

75.00
2 2. เพื่อให้ผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในพื้นที่เขตรับผิดชอบของรพ.สต.สุโสะ ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ทันเวลา

ประเมินจากอัตราสำเร็จการรักษาหายขาดของผู้ป่วยวัณโรคปอดรายใหม่

13.00
3 3. เพื่อให้แกนนำสุขภาพได้รับความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองที่ถูกต้อง

 

75.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11,250.00 1 11,250.00
2 ส.ค. 61 โครงการควบคุมป้องกันและค้นหาผู้ป่วยวัฒโรครายใหม่ 0 11,250.00 11,250.00

ขั้นเตรียมการ 1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. รพ.สต.สุโสะ 2. จัดทำโครงการเสนออนุมัติเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.สุโสะ 3. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขั้นดำเนินการ 1. สำรวจข้อมูลประชากรกลุ่มเสี่ยงในเขตพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต.สุโสะ 2. จัดการอบรมให้ความรู้เรื่องโรควัณโรคและแนวทางการคัดกรองให้กับ แกนนำสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานโรคติดต่อ จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอปะเหลียน 3. ดำเนินการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อวัณโรครายใหม่ในชุมชน 4. สรุปผลการคัดกรอง หากพบผู้ที่มีลักษณะอาการเข้าข่ายเป็นผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่จะมีการดำเนินการติดตามบุคคลนั้นมาที่ รพ.สต. เพื่อดำเนินการส่งตัวไปยัง รพ.ปะเหลียน ต่อไป

ขั้นสรุปผลดำเนินการ 1. สรุป/ประเมินผลโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ระบบคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้รับการพัฒนาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  2. การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  3. ชุมชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันวัณโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2561 20:10 น.