กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม ลดโรค ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม. ตำบลนาพละ
วันที่อนุมัติ 17 มกราคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2560 - 25 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 11,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปรีดา แก้วละเอียด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.599,99.664place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 45 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพที่เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกๆของประเทศไทย คือมะเร็งทุกชนิดความดันโลหิตสูง/โรคหลอดเลือดสมองหลอดเลือดและโรคหัวใจมีอัตราตาย 101.88 ,49.62 ,38.48ต่อแสนประชากรตามลำดับ (ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพ.ศ.2547)ซึ่งโรคเหล่านี้เกิดจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้อง คือขาดการออกกำลังกาย มีการรับประทานอาหารไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอแม้ประชาชนจะมีความรู้ แต่ยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้องจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำรวจพฤติกรรมการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย พบว่าร้อยละ 36.6 ของประชากรอายุ 11 ปีขึ้นไป ที่มีการออกกำลังกายเพียงพอที่จะช่วยป้องกันโรคได้ สำหรับการรับประทานอาหารนั้นจากผลการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยในปีพ.ศ.2551-2552 พบว่าทั้งหญิงและชาย รับประทานผักและผลไม้ เฉลี่ยเพียงวันละ 3.1 และ 3.0 ส่วนมาตรฐาน ตามลำดับ โดยมีความชุกของการรับประทานผักและ ผลไม้ปริมาณต่อวันเพียงพอตามข้อแนะนำ (รวม > 5 ส่วน มาตรฐานต่อวัน) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ด้วยการปฏิบัติจริง 2 กระบวนการได้แก่ 1. การออกกำลังกายสม่ำเสมอสัปดาห์ละอย่างน้อย 3-5 วันๆละอย่างน้อย30 นาที2. การรับประทานผักและผลไม้สด วันละครึ่งกิโลกรัม หรือรับประทานผักในปริมาณครึ่งหนึ่งของอาหารแต่ละมื้อ และลดการรับประทานอาหารไขมันจะสามารถทำให้ประชาชนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ถึงร้อยละ20-30โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดก็ลดลงมากเช่นกันทั้งการออกกำลังกายและการปลูกผักร่วมกันยังเป็นกิจกรรมสร้างความอบอุ่นในครอบครัวอีกด้วย โดยตำบลนาพละ มีประชากรกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน คิดเป็นร้อยละ 4.48 ประชากรกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 54.31 จากข้อมูลคัดกรองโรคเรื้อรังปี 2559 ซึ่งโดยส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึงประสงค์ การบริโภคอาหาร การขาดการออกกำลังกาย จากพฤติกรรมข้างต้น ส่งผลให้ประชากรในพื้นที่มีภาวะอ้วนลงพุง ปัญหารอบเอวเกิน การส่งเสริมประชาชนให้ปฏิบัติตนถูกต้องตามพฤติกรรม 3 อ. 2 ส. ปรับพฤติกรรมการบริโภค, การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด รวมทั้งไม่สูบบุหรี่และไม่ดื่มสุรา ได้นั้นจะลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆได้
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลนาพละ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง เล็งเห็นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพ เน้นการป้องกันให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถดูแลตนเองเพื่อไม่ให้กลายเป็นกลุ่มป่วย และเพื่อให้กลุ่มป่วยสามารถควบคุมอาการตนเองและลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นได้โดยเน้นการดำเนินงานโดยภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการกระตุ้นและสร้างกระแส ให้ประชนในพื้นที่ตื่นตัวในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างต่อเนื่องจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ลดหวาน มัน เค็ม ลด ประจำปีงบประมาณ 2560

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนมีความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การออกกำลังกายสม่ำเสมอและรับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น

ร้อยละ 60 ของประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้และได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายรับประทานผักและผลไม้

2 2.เพื่อให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการกระตุ้น สร้างกระแส กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้

ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการกระตุ้น สร้างกระแส กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดประชุมคณะกรรมการประกอบด้วย อสม. ,ผู้นำชุมชน เป็นต้น ในการชี้แจงแนวทางการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  2. ดำเนินการตามขั้นตอนการดำเนินงานหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 7 ขั้นตอน 2.1 การสร้างทีมงานแต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงาน ภาคีเครือข่ายประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ,สมาชิก อบต. , อสม. ,ผู้ทรงคุณวุฒิ และปราชญ์ชาวบ้าน

- จัดประชุมคณะทำงานในการแบ่งหน้าที่และแลกเปลี่ยนแนวคิด วิเคราะห์ต้นทุนและการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 2.2 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในชุมชน(พฤติกรรมสุขภาพ,ข้อมูลทั่วไป โรค/อัตราป่วย/อัตราตาย,ปัจจัยสาเหตุพฤติกรรมทางสุขภาพ
2.3 การจัดทำแผนการดำเนินงาน 2.4 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ - การอบรมให้ความรู้การดูแลเฝ้าระวังสุขภาพและภาวะโภชนาการิการดูแลตนเองแก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ - รณรงค์การปลูกผักปลอดสารพิษ - รณรงค์การรับประทานผัก ผลไม้วันละอย่างครึ่งกิโลกรัม , ลดหวาน/มัน/เค็ม 2.5 การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ - กิจกรรมติดตามค่าความดันโลหิต และค่าระดับน้ำตาลในเลือด ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย ตามปิงปองจราจร 7 สี ทุกเดือน
2.6 การจัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2.7 การประเมินพฤติกรรมสุขภาพและภาวะสุขภาพหลังการดำเนินกิจกรรม

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายสม่ำเสมอร่วมและการรับประทานอาหาร
  2. ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการกระตุ้น สร้างกระแส กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกายร่วมกับการรับประทานผักและผลไม้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2560 09:13 น.