โครงการหนูน้อยสดใส พัฒนาการสมวัย ปี 2561
ชื่อโครงการ | โครงการหนูน้อยสดใส พัฒนาการสมวัย ปี 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L1487-1-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุโสะ |
วันที่อนุมัติ | 24 เมษายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 20,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางละออง ด้วงคง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.236,99.673place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
พัฒนาการที่สมวัยเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็กไทยการที่เด็กจะมีพัฒนาการสมวัยในทุกๆด้านต้องอาศัยความร่วมมือของหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเริ่มตั้งแต่แม่หรือครอบครัวที่จะต้องให้การดูแลที่ถูกต้องตั้งแต่อยู่ในครรภ์โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในปริมาณและสัดส่วนที่เพียงพอการออกกำลังกายการไปตรวจครรภ์ตามนัดภายหลังคลอดแล้วมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่การให้อาหารเสริมตามวัยในส่วนของสถานบริการส่งเสริมสุขภาพและให้ความช่วยเหลือแม่และครอบครัวในรายที่ต้องการความช่วยเหลือซึ่งครอบครัวและชุมชนควรมีการจัดเตรียมความพร้อมและมีการส่งเสริมพัฒนาการที่เหมาะสมแก่เด็กรวมทั้งจัดให้มีสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนหรือศูนย์เด็กเล็กเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเตรียมความพร้อมทั้งด้านการเคลื่อนไหว ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการเข้าใจภาษา และด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคมให้แก่เด็กเมื่อครอบครัวและชุมชนมีการเลี้ยงดูเด็กที่ดีแล้วก็จะเป็นการวางรากฐานในการพัฒนาคนให้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคต จากการประเมินพัฒนาการเด็กในเด็ก ๐ – 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุโสะ พบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ปกครองมากกว่าร้อยละ ๗๐ ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการประเมินพัฒนาการและการกระตุ้นพัฒนาการเด็กในด้านต่างๆ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุโสะ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น
ดังนั้นทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุโสะ และกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลสุโสะ จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสดใส พัฒนาการสมวัย เพื่อให้เด็กในพื้นที่ได้รับการดูแลและตรวจพัฒนาการเด็ก พร้อมทั้งเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าได้รับการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้องเหมาะสม มีมุมตรวจพัฒนาการ ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสุโสะ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่ออบรมให้ความรู้เรื่องพัฒนาการที่สมวัย แก่ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ผู้ปกครอง มีความรู้ความเข้าใจในการเข้าร่วมอบรมเพิ่มขึ้นโดยใช้แบบประเมิน ก่อน - หลังการอบรม |
90.00 | |
2 | 2. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี นำเด็กเข้ารับการประเมินพัฒนาการ
|
0.00 | |
3 | 3. เพื่อให้ผู้ปกครองรู้จักวิธีการสังเกตอาการเด็กพัฒนาการล่าช้า
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 20,050.00 | 1 | 20,050.00 | 0.00 | |
14 ส.ค. 61 | โครงการหนูน้อยสดใส พัฒนาการสมวัย | 0 | 20,050.00 | ✔ | 20,050.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 20,050.00 | 1 | 20,050.00 | 0.00 |
ขั้นเตรียมการ
๑. ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ
2. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้าน
ขั้นดำเนินการ
1. จัดกิจกรรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก 0-5 ปี เรื่องพัฒนาการที่สมวัย โดยการแนะนำให้ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กรู้จักใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตรวจประเมินพัฒนาการด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และตรวจอย่างสม่ำเสมอ
2. แนะนำผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ให้นำบุตรหลานมารับการตรวจพัฒนาการที่สถานีอนามัย ในช่วงอายุเด็ก 9 เดือน อายุ 18 เดือน อายุ 30 เดือน และอายุ 42 เดือน เพื่อรับการตรวจประเมินพัฒนาการที่ถูกต้องจากเจ้าหน้าที่
- ในรายที่พัฒนาการสมวัย แนะนำผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก ให้ฝึกทักษะพัฒนาการตามวัยประมาณ 1เดือนจากนั้นรับการตรวจพัฒนาการซ้ำที่สถานีอนามัยหากพัฒนาการสมวัย ก็เฝ้าระวังพัฒนาการซ้ำตามปกติ ในรายที่ตรวจซ้ำแล้วพบไม่สมวัยให้มีการส่งต่อ รพ.ปะเหลียน ต่อไปตามขั้นตอน
3. อบรมให้ความรู้การตรวจพัฒนาการทั้ง 5ด้าน
- ด้านการเคลื่อนไหว Gross Motor (GM)
- ด้านการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก และสติปัญญา Fine Motor (FM)
- ด้านการเข้าใจภาษา Receptive Language (RL)
- ด้านการใช้ภาษา Expressive Language (EL)
- ด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม Personal and Social (PS)
4. ให้ความรู้เรื่องประเมินพัฒนาการเด็กด้วยตนเองที่บ้านอย่างง่าย โดยผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กแนะนำทักษะการประเมินพัฒนาการ การกระตุ้น ส่งเสริมเด็ก ให้มีพัฒนาการสมวัย
ขั้นสรุปผลดำเนินการ 3. ติดตามการประเมินผลการดำเนินโครงการ
1.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี ได้รับการประเมินพัฒนาการ และการกระตุ้นพัฒนาการที่ถูกต้อง ตามวัย
ร้อยละ 100
2.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการที่สมวัย ทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม
ร้อยละ 90
3.เพื่อให้เด็ก 0-5 ปี มีพัฒนาการล่าช้าให้ได้รับการกระตุ้นพัฒนาการให้มีพัฒนาการที่สมวัย และได้รับการรักษาที่ถูกต้องในรายที่มีความผิดปกติ
4.ผู้ปกครอง และผู้เลี้ยงดูเด็ก มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
0-5 ปี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2561 20:54 น.