โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการ ปี 2561
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการ ปี 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L1487-2-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านห้วยน้ำตก |
วันที่อนุมัติ | 24 เมษายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 12,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยน้ำตก |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.236,99.673place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย และยังมีแนวโน้มว่าเป็นปัญหาในอนาคต เนื่องจากความรุนแรงของโรคแปรผันตรงต่ออัตราการตาย และการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกส่งผลต่อสุขภาพผู้ป่วยครอบครัวชุมชนและสังคมปัจจุบันโรคไข้เลือดออกสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่จะมีการระบาดมากช่วงหน้าฝนโดยธรรมชาติของโรคไข้เลือดออกจะมีการระบาดปีเว้นปีหรือระบาดปีเว้น ๒ ปี แต่ปัจจุบันพบมีการะบาดทุกปีการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกจะสำเร็จได้นั้นต้องอาศัยความร่วมมือบูรณาการจากประชาชนในชุมชนและภาคีเครือข่ายสุขภาพทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังอย่างโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่องจากการศึกษาสาเหตุที่สำคัญของการดำเนินการเฝ้าระวังและป้องกันโรคไข้เลือดออกไม่ประสบความสำเร็จคือ ประชาชนขาดความตระหนัก และความเอาใจใส่ในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ตำบลสุโสะ จากข้อมูลระบาดวิทยาผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ๕ ปี ย้อนหลัง ตั้งแต่ ปี ๒๕๕๖ – ๒๕๖๐ พบผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีพบการระบาดของโรคเกือบทุกปีและยังมีแนวโน้มพบการระบาดของโรคอย่างต่อเนื่อง ในปี ๒๕๖๑จากปัญหาโรคไข้เลือดออกดังกล่าวชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยน้ำตกจึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการ ปี ๒๕๖๑
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจและร่วมมือในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง |
100.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ประชาชนมีการทำลายแห่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง |
100.00 | |
3 | เพื่อไม่ให้มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก ประชาชนจะไม่มีผู้ป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออก |
100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 100.00 | 1 | 12,450.00 | -12,350.00 | |
24 ก.ค. 61 | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกแบบบูรณาการ | 0 | 100.00 | ✔ | 12,450.00 | -12,350.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 100.00 | 1 | 12,450.00 | -12,350.00 |
ขั้นเตรียมการ
๑.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม.รพ.สต.บ้านห้วยน้ำตกเพื่อจัดทำโครงการ
๒.จัดทำโครงการเสนออนุมัติเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ อบต.สุโสะ
๓.ประสานงาน รพ.สต.บ้านห้วยน้ำตกโรงพยาบาลปะเหลียน อบต.สุโสะผู้นำชุมชนเพื่อขอความ
ร่วมมือและขอสิ่งสนับสนุน
๔.ประสานงานกับโรงเรียนเพื่อขออนุญาตนำเด็กนักเรียนเข้าร่วมโครงการและขอความร่วมมือในการ
รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง
๕.เตรียมวัสดุเอกสารและสื่อประกอบการอบรม เช่น วีซีดี แผ่นพับ เอกสาร สารเคมีกำจัดลูกน้ำฯ
ขั้นดำเนินการ
๑.ประชุมอบรมให้ความรู้การป้องกันควบคุมและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกกลุ่มเป้าหมาย ๑๐๐ คน
-นักเรียน จำนวน ๔๐ คน อบรมให้ความรู้การบรรยายโดยวิทยากรฉาย วีซีดีวงจรการเกิดโรคการติดต่ออาการการดูแลผู้ป่วยวงจรชีวิตของยุงลาย ฝึกปฏิบัติการสำรวจลูกน้ำยุงลาย การกำจัดลูกน้ำยุงลาย การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การกำจัดยุงลายแล้วกลับไปดำเนินการในโรงเรียน
-อสม จำนวน ๕๐ คน ผู้นำชุมชน จำนวน ๑๐ คนอบรมให้ความรู้การบรรยายโดยวิทยากรฉาย
วีซีดีวงจรการเกิดโรคการติดต่ออาการการดูแลผู้ป่วยวงจรชีวิตของยุงลาย ฝึกปฏิบัติการสำรวจลูกน้ำยุงลาย การกำจัดลูกน้ำยุงลาย การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การกำจัดยุงลายการพ่นหมอกควัน
๒.การร่วมรณรงค์โรงเรียนบ้าน มัสยิดและชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลายโดย การกำจัดลูกน้ำยุงลาย การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย การกำจัดยุงลายการพ่นหมอกควันพร้อมกัน
ขั้นสรุปผลดำเนินการ
๑.สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
๑.ประชาชนทุกครัวเรือนมีความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมที่ดีในการป้องกันควบคุมและเฝ้าระวัง โรคไข้เลือดออกอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง ๒.อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกไม่เกิน ๕๐ ต่อแสนประชากร ๓.ไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ติดต่อรายแรกภายใน ๒๘ วัน ๔.ไม่มีผู้ป่วยตายโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2561 22:15 น.