กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย
รหัสโครงการ 61-L7578-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขเทศบาลตำบลป่าบอน
วันที่อนุมัติ 17 พฤษภาคม 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2018 - 30 กันยายน 2018
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชนะ ปัญญาบุตร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าบอน อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.337,100.171place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จังหวัดพัทลุง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีอัตราป่วยต่อประชากรแสนคนในปี ๒๕๖๐ เท่ากับ ๑๔๗.๒๕ (๗๖๘ ราย)(ที่มา : งานระบาดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง)มีผู้เสียชีวิต ๑ ราย ในเขตพื้นที่อำเภอป่าบอน มีอัตราป่วยต่อแสนประชากร ตั้งแต่วันที่ ๑ ม.ค.- ๓๑ ธ.ค. ๕๙ เท่ากับ ๔๕๑.๓ เป็นลำดับที่ ๓ ของจังหวัดพัทลุง การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปีการแพร่เชื้อและการกระจายโรคไข้เลือดออก จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน โรงพยาบาลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ปัจจุบันในอำเภอป่าบอนพบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก ยังทวีความรุนแรงและมีผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม) ร่วมกับกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลป่าบอนจึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายขึ้น เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1. เพื่อลดอัตราการป่วยด้วยไข้เลือดออก

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง

0.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชุมชนเข้มแข็งมีส่วนร่วมในการป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
3 ข้อที่ ๓. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของหลัก 5 ป 1ข เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก

ชุมชนเห็นความสำคัญของหลัก 5 ป 1ข เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก

0.00
4 ข้อที่ ๔.เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจและมีความตระหนักเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง

ประชาชนมีความเข้าใจและมีความตระหนักเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. เขียนโครงการเพื่อเสนอคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลป่าบอน เพื่อขออนุมัติเงินสนับสนุนโครงการ ๒. จัดทำคำสั่งพร้อมแต่งตั้งคณะทำงานโครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย
๓. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องศพด. โรงเรียน ชุมชนรพ.สต.รพ. ผู้นำชุมชนอาสาสมัคร(อสม.) และภาคีเครือข่ายที่ผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันวางแผนดำเนินการ ๔. จัดกิจกรรมให้สุขศึกษา รณรงค์ ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกแก่ประชาชนและขอความร่วมมือให้ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย - รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน - ใส่สารเคมีทรายอะเบท ในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน โดยอสม. และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด - ส่งเสริมความรู้ให้ประชาชนเกี่ยวการปลูกพืชไล่ยุงเช่น ตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง ๕. แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขในเขตรับผิดชอบ ๖. ติดตามและประเมินผล ๗. สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก 2.เสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 3. ส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของหลัก 5 ป 1ข เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันโรคไข้เลือดออก 4. ประชาชนมีความเข้าใจและมีความตระหนักเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกันที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2018 10:13 น.