กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพลังชุมชนต้านภัยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน
รหัสโครงการ 61-L2514-1-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านอูยิ
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 6 มิถุนายน 2561 - 6 มิถุนายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 6 กรกฎาคม 2561
งบประมาณ 14,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาว มารียะห์ ตาเห
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว มารียัม เจ๊ะโว๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.343,101.59place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 6 มิ.ย. 2561 6 มิ.ย. 2561 6 มิ.ย. 2561 6 มิ.ย. 2561 14,000.00
รวมงบประมาณ 14,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง(HT) เป็นภัยเงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านอูยิ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ มีจำนวนประชากร ๕,๐๖๒ คน จำนวน ๘๔๑ หลังคาเรือน  มีผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด ๑๔๐ ราย โรคเบาหวาน ๘๕ ราย จากการติดตามข้อมูลของกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี พบว่ามีเพียงร้อยละ ๗.๐๖ ของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่สามรถควบคุมระดับความโลหิตได้ดีและพบเพียงร้อยละ ๑๙.๒๘ เท่านั้นที่สามรถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งนี้สาเหตุหลักมักเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีการดูแลสุขภาพของตนเองทั้งด้านการบริโภค การออกกำลังกาย การจัดการด้านอารมณ์และการรับประทานยายังไม่เหมาะสมและถูกต้อง ตลอดจนขาดการส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดการพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง     ดังนั้นการจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้องสำหรับผู้ป่วย ถือเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะเสริมสร้างให้ผู้ป่วยและชุมชนมีความตระหนักและให้ความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อให้มีศักยภาพและมีความพร้อมในการดูแลสุขภาพของตนเอง งานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ ได้ให้ความสำคัญเรื่องการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยจึงจัดทำโครงการรวมพลังชุมชน ต้านภัยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วย มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองให้ถูกต้องและเหมาะสม ทำให้สามารถควบคุมโรคได้ดี เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นวางแผน(Plan) ๑. ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ๒. เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓. แต่งตั้งผู้รับผิดชอบงาน ๔. ประชุม/ประสาน อสม.  แกนนำชุมชน เพื่อชี้แจงและปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการ ขั้นดำเนินการ(Do) ๑. ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. เกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ๒. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
๓. ตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้กับกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานโดยทีมเจ้าหน้าที่สาธารณสุข  และทีมอสม. ๔. จัดตั้งชมรมผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรเบาหวาน ๕.ประเมินติดตามระดับความดันโลหิตสูงและระดับน้ำตาลในเลือด

ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check)       ๑. ประเมินจากจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม       ๒. ติดตามและประเมินผลการควบคุมระดับความดันโลหิตและน้ำตาลในเลือด       ๓. ประเมินจากทะเบียนติดตามผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหาน ๔.สรุปผลการดำเนินงาน

  ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑.รายงานผลการดำเนินงาน ๒.ประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ๓.ปรับปรุง/พัฒนาวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ป่วยได้รับความรู้ ความเข้าใจและสามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างถูกต้อง ๒. ผู้ป่วยสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตและระดับน้ำตาลในเลือด
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2561 10:07 น.