กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโภชนาการดี พัฒนาการสมวัย รพ.สต.บ้านอูยิ
รหัสโครงการ 61-L2514-1-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านอูยิ
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 กรกฎาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 13 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฮาซามา ซูเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว มารียัม เจ๊ะโว๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.343,101.59place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ส.ค. 2561 16 ส.ค. 2561 13,000.00
รวมงบประมาณ 13,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่ง เป็นความหวังของครอบครัว เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ อนาคตของประเทศชาติจึงขึ้นอยู่กับคุณภาพของเด็ก เด็กที่มีความสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ มีพัฒนาการในทุก ๆ ด้านที่เหมาะสมกับวัย ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการทางด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคมและจริยธรรม จะเป็นผู้ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขและเป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติในอนาคต ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อพัฒนาการเด็กเด็กในวัยนี้ถูกละเลยไม่ได้รับการเอาใจใส่ด้านโภชนาการ จะส่งผลทำให้ร่างกายและสมองเติบโตช้า ผลที่ตามมาคือ โรคขาดสารอาหาร ทำให้พัฒนาการและการเรียนรู้ล่าช้าด้อยกว่าเด็กตามเกณฑ์ที่อยู่ในวัยเดียวกัน และเด็กที่ขาดสารอาหารจะมีผลทำให้ภูมิต้านทานโรคต่ำ เด็กจะเจ็บป่วยได้ง่าย เกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย เด็กในวัยนี้จะเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ หากยังปล่อยเด็กในวัยนี้ขาดสารอาหาร อาจส่งผลกระทบทุกๆด้าน การเฝ้าระวังภาวะโภชนาการของเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ด้านโภชนาการสำคัญที่สุด เพื่อให้เด็กได้รับการส่งเสริมภาวะโภชนาการทีดี จากรายงานการเฝ้าระวังและติดตามภาวะโภชนาการเด็กโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ประจำงวดที่ ๒/๒๕๖1 จำนวนเด็กทั้งหมด 546 คน จำนวนเด็กได้รับการเฝ้าระวังฯ 428 คน (ร้อยละ 78.39) พบอัตราเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ จำนวน 50คน(ร้อยละ 11.68) เด็กน้ำหนักค่อนข้างน้อย จำนวน 46 คน (ร้อยละ 10.75) จะเห็นได้ว่าภาวะทุพโภชนาการของเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส ยังคงเป็นปัญหาที่จะต้องดำเนินการแก้ไขต่อไป
ดังนั้น เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านอูยิ จึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงภาวะโภชนาการเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖1 ขึ้นเพื่อให้ผู้ปกครอง มีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กด้านโภชนาการ และมีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก ส่งผลให้ผู้ปกครองเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการดูแลเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ไปในทางที่ถูกต้อง และเหมาะสม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มอัตราของเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน มีส่วนสูงระดับดีและมีรูปร่างสมส่วนตามวัย

อัตราของเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน มีส่วนสูงระดับดีและมีรูปร่างสมส่วน ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๐

70.00
2 เพื่อให้เด็ก ๐-๕ ปี มีพัฒนาการสมวัย

ร้อยละของเด็ก ๙, ๑๘, ๓๐, ๔๒, เดือน มีพัฒนาการสมวัยไม่น้อยกว่าร้อยละ ๙๕

95.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 13,000.00 2 13,000.00
1 มิ.ย. 61 กิจกรรมอบรม อสม. เกี่ยวกับบทบาทการดูแลเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน 0 5,000.00 5,000.00
1 มิ.ย. 61 กิจกรรมอบรมผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ (น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์) 0 8,000.00 8,000.00

ขั้นวางแผน(Plan) ๑.ประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ ๒.เขียนโครงการและเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ๓.แต่งตั้งผู้รับผิดชอบงาน ๔.ประชุม/ประสาน อสม. เพื่อชี้แจงและปรึกษาหารือในการจัดทำโครงการ ขั้นดำเนินการ(Do) 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่อสม. และผู้ปกครองเด็กแรกเกิด – ๗๒ เดือน
๑.๑ กิจกรรม อบรม อสม. และ ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน ที่มีภาวะทุพโภชนาการ(น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์) 1.2 ติดตามเยี่ยมบ้านและชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ เดือนละ 1 ครั้ง 1.3 กิจกรรมประกวดแจกของรางวัลแก่เด็กน้อยที่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำสู่ภาวะโภชนาการดี ๒. ติดตามประเมินผลโครงการ ๓. สรุปผลการดำเนินงานโครงการ


ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check) ๑. สรุปความครอบคลุมของเด็กที่มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน เมื่อสิ้นปี งบประมาณ ๒๕๖1 ๒. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของการดำเนินงานภาวะโภชนาการ ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑.รายงานผลการดำเนินงาน ๒.ประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ๓.ปรับปรุง/พัฒนาวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองเด็กแรกเกิด - ๗๒ เดือน มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็กด้านโภชนาการ มีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก และสามารถนำไปปรับใช้เพื่อให้เด็กๆมีภาวะโภชนาการที่ดี พัฒนาการสมวัย ๒. อสม. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเด็กด้านโภชนาการ มีทักษะในการส่งเสริมพัฒนาการในเด็ก และสามารถนำความรู้ไปดูแลเด็กๆที่มีภาวะทุพโภชนาการในหมู่บ้าน และถ่ายทอดความรู้แก่คนในหมู่บ้าน เพื่อให้เด็กๆมีภาวะโภชนาการที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2561 10:33 น.