กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจเยี่ยมร้านชำเเละอบรมผู้ประกอบการร้านชำในเขตเทศบาลเมืองลำพูน
รหัสโครงการ 61-L7236-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลำพูน
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 พฤศจิกายน 2560 - 17 พฤศจิกายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 19,748.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ พงษ์นรินทร์ จินดา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ละติจูด-ลองจิจูด 18.573,99.002place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ , แผนงานสุรา , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 0.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (19,748.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 95 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย (ร้าน)
4.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามนโยบายของรัฐบาลกำหนดให้อาหารปลอดภัย และการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นนโยบายหลัก โดยมีความครอบคลุมความปลอดภัยทั้งในอาหารและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ต้องมีคุณภาพมาตรฐาน เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยในสินค้า ซึ่งจะเห็นได้จากมีแนวทางในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ๒ แนวทาง ได้แก่ แนวทางในการเฝ้าระวังสินค้าและบริการในชุมชน และแนวทางในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้บริโภค

แนวทางในการเฝ้าระวังสินค้า เช่น การตรวจเยี่ยมร้านชำในชุมชน เพื่อเฝ้าระวังสินค้าที่มีการจำหน่ายในร้านชำ ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้ ได้แก่ สินค้ากลุ่มอาหาร เช่น อาหารกระป๋องที่หมดอายุ เครื่องดื่มบรรจุขวดที่ฉลากไม่ถูกต้อง การจำหน่ายยาเกินกรอบบัญชียาสามัญประจำบ้าน อาจทำให้เกิดการแพ้ยา ได้ยาเกินความจำเป็น และอาจได้ยาเสตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาครอบจักรวาลแต่มีอันตรายมาก สินค้าเครื่องสำอางที่ฉลากไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดฝ้าถาวร หน้าลอกหน้าแดงได้ หรือการจัดเรียงสินค้าในร้านอาจมีความเสี่ยงที่ผู้บริโภคจะได้รับอันตรายจากการปนเปื้อนสารเคมี เป็นต้น

แนวทางในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภค ได้แก่ การให้ผู้บริโภคทราบสิทธิของตนในการได้รับความปลอดภัยในสินค้าและบริการ การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคในการอ่านฉลากสินค้า รู้เท่าทันการโฆษณาประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับข้อมูลของสินค้าและบริการใหม่ ๆ ซึ่งอาจส่งผลเสียหรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้ และการจัดตั้งชมรมคุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น

ร้านชำเป็นแหล่งกระจายสินค้าที่มีความใกล้ชิดชุมชนมาก ถือเป็นประการด่านหน้าในการกระจายสินค้าเข้าสู่ชุมชน ผู้ประกอบการร้านชำมีบทบาท ๒ บทบาท ได้แก่ เป็นผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าเข้าร้าน และเป็นผู้ขายสินค้าให้กับคนในชุมชน การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ สร้างความตระหนักในสิทธิของผู้บริโภค แนวทางการเลือกซื้อสินค้ามาจำหน่ายในร้านชำ การดูวันหมดอายุ ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยต่อผู้บริโภค การจำหน่ายแอลกอฮอล์และบุหรี่ในร้านชำ และบทกำหนดโทษ จะเห็นได้ว่า การให้ความรู้ความเข้าใจในงานคุ้มครองผู้บริโภคแก่ผู้ประกอบการร้านชำเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นทางออกที่ดีในการป้องกันผู้บริโภคถูกละเมิดสิทธิและได้รับอันตรายจากการบริโภคสินค้า และทราบแนวทางการเลือกซื้อสินค้าที่ดีมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภค และผู้บริโภคมีแนวทางในการเลือกซื้อสินค้า ไม่ถูกหลอกลวงหรือเอารัดเอาเปรียบได้ ดังนั้นศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลเมืองลำพูน จึงได้จัดทำโครงการอบรมผู้ประกอบการร้านชำในเขตเทศบาลเมืองลำพูนในงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) ขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำเลือกซื้อสินค้าที่ปลอดภัยมาจำหน่ายในร้าน และประชาชนสามารถเลือกซื้อสินค้าในร้านชำได้อย่างปลอดภัย

จากการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านมา พบว่า ความปลอดภัยสินค้าที่จำหน่ายในร้านชำ ซึ่งแบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านอาหาร 2) ด้านเครื่องสำอาง 3) ด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 4) ด้านวัตถุอันตราย 5) ด้านบุหรี่และสุรา โดยเก็บข้อมูลจากการใช้แบบสำรวจและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมของร้านชำจำนวน 97 ร้านในเขตเทศบาลเมืองลำพูน ระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 ถึง 15 พฤศจิกายน 2559 ผลการศึกษาสถานการณ์ความปลอดภัยของร้านชำ พบว่า 1) ด้านอาหาร ร้านชำร้อยละ 51.1 ไม่มีสินค้าอาหารหมดอายุ 2) ด้านเครื่องสำอาง ร้านชำร้อยละ 100 ไม่มีการจำหน่ายเครื่องสำอางที่มีสารอันตราย 3) ด้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ พบว่าร้านชำ ร้อยละ 91.3 ไม่มีการจำหน่ายยาอันตรายและยาปฏิชีวนะจำหน่ายในร้านชำ ร้านชำร้อยละ 76.1 ไม่มียาที่สามารถจำหน่ายได้ในร้านชำ4) ด้านวัตถุอันตราย ร้านชำร้อยละ 94.8 มีแยกเก็บวัตถุอันตรายออกจากบริเวณที่จำหน่ายสินค้าบริโภค 5) ด้านบุหรี่และสุรา ร้านชำร้อยละ 18.2 ไม่มีป้ายเตือนห้ามจำหน่ายบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และร้านชำ ร้อยละ 19.1 ไม่มีป้ายเตือนห้ามจำหน่ายสุราแก่เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี และหลังจากการตรวจเยี่ยมร้านชำได้มอบป้ายเตือนให้กับร้านชำที่ไม่มีป้ายเตือนห้ามจำหน่ายบุหรี่แก่เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี และห้ามจำหน่ายสุราแก่เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปี แสดงให้เห็นว่าการดำเนินการตรวจเยี่ยมร้านชำ และอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพควรมีการดำเนินงานเป็นประจำ และต่อเนื่อง โดยควรเน้นกระบวนการที่ทำให้เกิดการตรวจสอบวันหมดอายุของสินค้าที่จำหน่ายในร้านชำ และการมีส่วนร่วมไม่ให้มีการจำหน่ายยาอื่น นอกจากยาสามัญประจำบ้าน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

จำนวนร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์ยาสูบในชุมชนที่ปฏิบัติตามกฎหมายเพิ่มขึ้นเป็น(ร้าน)

4.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 38.00 2 39,496.00
15 - 17 พ.ย. 60 ตรวจเยี่ยมร้านชำในเขตเทศบาลเมืองลำพูน 0 19.00 19,748.00
15 - 17 พ.ย. 60 อบรมผู้ประกอบการร้านชำในเขตเทศบาลเมืองลำพูน 0 19.00 19,748.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

กิจกรรมที่ ๒

๑. เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติโครงการ
๒. กำหนดหลักสูตรการอบรม และเชิญวิทยากร
๓. จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม และสร้างแบบประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
๔. ประชาสัมพันธ์โครงการโดยการทำป้ายและประสัมพันธ์เสียงตามสาย
๕. ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนด
๕.๑ ทดสอบความรู้ก่อนการอบรม
๕.๒ อบรมประกอบการร้านชำ ในชุมชน
๕.๓ ทดสอบความรู้หลังการอบรม

รวบรวมข้อมูลสรุปและประเมินผลหลังเสร็จสิ้นโครงการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2561 16:01 น.