กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมหกรรมตลาดนัดทันตสุขภาพ เพื่อเด็กลาโละ ฟันดี ปี ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 61-L2514-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ลาโละ
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 12,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวมารียัม มะเกะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว มารียัม เจ๊ะโว๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.343,101.59place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 16 ก.ค. 2561 16 ก.ค. 2561 4,000.00
2 31 ก.ค. 2561 31 ก.ค. 2561 8,400.00
รวมงบประมาณ 12,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 82 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) เด็กปฐมวัย เป็นช่วงที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างเสริมสุขภาพพัฒนาการ และพฤติกรรมด้านสุขภาพ ที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของเด็กในระยะยาว สิ่งแวดล้อม อาหาร การอบรมเลี้ยงดู จากบิดามารดาและผู้เลี้ยงดูเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหล่อหลอมให้เด็กมีพัฒนาการดีทั้งร่างกายและอารมณ์สังคม และสติปัญญา ด้วยวิวัฒนาการทางสังคมได้ จากการศึกษาของกรมอนามัยเรื่องพัฒนาการของเด็กปฐมวัยไทย ปี ๒๕๕๗ พบว่าปัจจัยทางชีวภาพด้านสุขภาพของเด็ก ได้แก่ โรคประจำตัว โรคปอดบวม ปัญหาสุขภาพช่องปาก การขาดสารอาหาร(W/A) น้ำหนักตามส่วนสูง (W/H) ส่วนสูง (H/A) และภาวการณ์เจริญเติบโต มีความสัมพันธ์ต่อพัฒนาการสมวัยของเด็ก โดยเด็กที่ไม่มีโรคประจำตัว จะมีโอกาสที่พัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น ๑.๓๘ เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่มีโรคประจำตัว เด็กปฐมวัยที่ไม่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก จะมีโอกาสที่พัฒนาการสมวัยเพิ่มขึ้น ๑.๔๓ เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก การค้นพบปัญหาสุขภาพ ปัญหาพัฒนาการผิดปกติหรือภาวะเสี่ยงตั้งแต่แรกเริ่มในขวบปีแรกๆ โดยเฉพาะก่อน ๓ ปี เพื่อเร่งให้การช่วยเหลือที่เหมาะสมจะสามารถลดความรุนแรงของปัญหา ลดความพิการและความสูญเสียด้านต่างๆ
ข้อมูลพื้นฐานสุขภาพเด็กอายุ 0-5 ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลลาโละ จากรายงานโปรแกรม JHCIS และรายงาน Health Data Center (HDC) จังหวัดนราธิวาส ปี ๒๕๕๙ และปี ๒๕๖๐ พบว่า เด็กอายุ 0-5 ปีมีสูงดีสมส่วน ร้อยละ 50.69 และ 58.29 ตามลำดับ เด็กอายุ 0-5 ปี มีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 96.13 และ ร้อยละ 100 ตามลำดับ และเด็กอายุ 0-5 ปีมีฟันไม่ผุร้อยละ 62.12 และ 58.08 ตามลำดับ การดำเนินงานเพื่อให้เด็กลาโละอายุ ๐ – ๕ ปี สูงดีสมส่วน พัฒนาการสมวัย ฟันไม่ผุ นั้นต้องเริ่มตั้งแต่หญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงมีครรภ์ เด็ก ๐ – ๕ ปี ทุกภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือในการดูแลสุขภาพ เฝ้าระวังภาวะโภชนาการ การส่งเสริมพัฒนาการโดยเน้นการปลูกฝังให้เด็กกินผัก และการดูแลสุขภาพช่องปาก เพื่อให้เด็กมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัย เติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่า และเป็นอนาคตที่สำคัญของประเทศชาติต่อไป สำหรับกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากในกลุ่มเด็กเล็ก จะมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายผู้ดูแลเด็กเล็กทั้งในส่วนของ อสม.และผู้ปกครองให้มีความรู้ในการจัดการสุขภาพของลูกหลานในชุมชน โดยการพัฒนาขีดความสามารถในการตรวจเฝ้าระวังสุขภาพช่องปากเด็ก การแปรงฟันให้เด็กได้สม่ำเสมอ การตรวจคราบจุลินทรีย์ให้เด็กได้ และการสร้างสิ่งแวดล้อมในด้านการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ในขณะเดียวกันให้สามารถผลิตสื่ออย่างง่ายในการใช้กระตุ้นติดตามสภาวะช่องปากของเด็กในชุมชนได้ ร่วมกับการพัฒนาการให้บริการฟลูออไรด์วาร์นิชที่มีคุณภาพ
ในการนี้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ จึงเห็นความสำคัญของการพัฒนากิจกรรมให้มีคุณภาพและพัฒนาชุมชนให้เป็นต้นแบบชุมชนต้นแบบที่เข้มแข็งในการจัดการสุขภาพเด็กเล็ก จึงได้จัดทำโครงการมหกรรมตลาดนัดทันตสุขภาพ เพื่อเด็กลาโละฟันดี เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากให้ฟันดีด้วยวิถี Selfcareปี 2561 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กอายุ ๙ – ๓๖ เดือนได้รับการแปรงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง

เพื่อให้เด็กอายุ ๙ – ๓๖ เดือนได้รับการแปรงฟันทุกวันอย่างน้อยวันละ ๒ ครั้ง  ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

80.00
2 เพื่อให้เด็กอายุ ๙ – ๓๖ เดือนมีฟันที่สะอาดปราศจากคราบจุลินทรีย์

เพื่อให้เด็กอายุ ๙ – ๓๖ เดือนมีฟันที่สะอาดปราศจากคราบจุลินทรีย์  ร้อยละ ๘๐ 

80.00
3 ผู้ปกครองได้รับการฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากชองกลุ่มเป้าหมายและทุกคนมีความรู้ที่เพิ่มขึ้น

ผู้ปกครองได้รับการฝึกทักษะการดูแลสุขภาพช่องปาก ร้อยละ 80 ชองกลุ่มเป้าหมายและทุกคนมีความรู้ที่เพิ่มขึ้น

80.00
4 ผู้ปกครองที่ได้รับการฝึกทักษะการดูแลมีการนำไปปฏิบัติจริง

ผู้ปกครองที่ได้รับการฝึกทักษะการดูแลมีการนำไปปฏิบัติจริง ร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
16 ก.ค. 61 อบรมพัฒนาศักยภาพเครือข่าย อสม. เขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ (ระยะเวลา ๑ วัน) 40 4,000.00 4,000.00
24 - 31 ก.ค. 61 บรมผู้ดูแลเด็กอายุ 9-36 เดือน ในการดูแลสุขภาพช่องปาก (ระยะเวลา 2 วัน) 42 8,400.00 8,400.00
รวม 82 12,400.00 2 12,400.00

ขั้นวางแผน(Plan)
๑. กำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ ๒. สำรวจข้อมูลทางสุขภาพ ทันตสุขภาพในเขตหมู่บ้านรับผิดชอบ ๓. จัดทำโครงการจัดอบรม และขออนุมัติงบประมาณและโครงการ ๔.. ประสานพื้นที่และประชุมชี้แจงโครงการแก่อาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการให้ชุมชนรับทราบ
๕. ดำเนินงานตามโครงการ
ขั้นดำเนินการ(Do) ๑. จัดอมรมกลุ่มเป้าหมาย -จัดทำฐานข้อมูลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ0-5 ปีให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน -การตรวจสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 0-5 ปี -คัดกรองและประเมินความเสี่ยงเด็กปฐมวัยตามเกณฑ์ที่กำหนด -ให้ทันตสุขศึกษา และ สอน/ฝึกวิธีการทำความสะอาดช่องปากเด็กแก่ผู้ปกครองของเด็ก -ทาฟลูออไรด์วานิชในเด็ก 0-5 ปี -ส่งต่อเด็กที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลแม่ข่าย -ติดตามเยี่ยมบ้านและจัดบริการส่งเสริมป้องกันแบบเชิงรุกในชุมชน -จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม.ในเขต ในการดูแลและเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพช่องปากแก่ เด็ก 0-5 ปี ในชุมชน ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check) ๑.ประเมินผลกิจกรรมกลุ่มเด็กอายุ ๐-๖๐ เดือน จากผลการตรวจสุขภาพช่องปากและการทาฟลูออไรด์วานิช ๒.ประเมินผลกิจกรรมกลุ่มเด็กอายุ ๐-๖๐ เดือน จากผลการตรวจสุขภาพช่องปากและผลคะแนนการแปรงฟัน ๓.ประเมินการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการแกไขปัญหาทันตสุขภาพของชุมชน สรุปผลการดำเนินงานขันปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑.รายงานผลการดำเนินงาน ๒.ประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ๓.ปรับปรุง/พัฒนาวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2561 11:11 น.