กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกลุ่มสตรีลาโละต้านภัยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมปี 61
รหัสโครงการ 61-L2514-1-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.ลาโละ
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2560 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2561
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟูซียะห์ เจ๊ะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว มารียัม เจ๊ะโว๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลาโละ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.343,101.59place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 12,000.00
รวมงบประมาณ 12,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ ๒ของโรคมะเร็งทั้งหมดของสตรีไทย รองจากมะเร็งเต้านมปัจจุบันในประเทศไทยแต่ละปีจะพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ประมาณ๑๐,๐๐๐รายและเสียชีวิตจากการเป็นมะเร็งปากมดลูก๕,๐๐๐รายอัตราการเสียชีวิตของสตรีไทยเพิ่มขึ้นจาก ๗คน/วันเป็น๑๔คน/วันสถิติจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ เมื่อระยะของโรคมะเร็งนั้นได้เข้าสู่ในระยะลุกลามแล้ว การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูง ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากไม่สามารถประกอบอาชีพได้ก่อให้เกิดปัญหาด้านสังคม และครอบครัวตามมาอย่างมากมายแต่จะสามารถป้องกันและรักษาให้หายขาดได้ถ้าพบผู้ป่วยโรคมะเร็งในระยะเริ่มแรกร้อยละ ๓๐ – ๔๐ สามารถป้องกันได้ด้วยการลดพฤติกรรมเสี่ยง และหากได้รับการตรวจคัดกรอง มะเร็งที่เหมาะสมจะสามารถป้องกันและได้รับการรักษาได้ทันท่วงที และอาจลดการตรวจลงเหลือเพียงตรวจทุก ๒ – ๓ ปี เมื่อผลตรวจคัดกรองปกติทุกๆ ๕ ปีติดต่อกันดังนั้น ถ้าสามารถกระตุ้นให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย ได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับโรคดังกล่าว พร้อมทั้งตระหนักและเห็นถึงความสำคัญของการตรวจค้นหาโรคมะเร็งปากมดลูกและโรคมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มแรกก็จะทำให้อัตราการเกิดโรค , อัตราการป่วยและอัตราการตายจากโรคมะเร็งลดลง จากผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี ๒๕๕๕-๒๕๖๐ที่ผ่านมา โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละ ได้ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทั้งหมดจำนวน ๒๓๔ ราย คิดเป็นร้อยละ ๔๐ ซึ่งนับว่าต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลาโละจึงได้จัดทำโครงการสตรีลาโละยุคใหม่ใส่ใจมะเร็งขึ้นเพื่อติดตามการตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่องของผู้รับบริการโดยเน้นการตรวจPapSmear เชิงรุกค้นหาเซลล์มะเร็งได้ในระยะเริ่มแรกรวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเบื้องต้นเพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วยซึ่งจะเป็นแนวทางในการสกัดโรคก่อนลุกลามและสร้างเสริมสุขภาพสตรีลาโละห่างไกลโรคด้วย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ค้นหาและลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านม

สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุตั้งแต่ ๓๐-๖๐ ปีได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมอย่างน้อยร้อยละ ๘๐

80.00
2 ค้นหาและลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งปากมดลูก

สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุตั้งแต่ ๓๐-๖๐ ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยร้อยละ ๒๐

20.00
3 ส่งต่อและรักษาอย่างทันท่วงที

สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
26 ก.ค. 61 จัดเวทีให้ความรู้ และ แบ่งกลุ่มเสาวนา จัดคิววันตรวจ แก่สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ ๓๐-๖๐ ปีในชุมชน ทั้ง 4 หมู่บ้าน 120 12,000.00 12,000.00
รวม 120 12,000.00 1 12,000.00

ขั้นวางแผน(Plan)
๑. กำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ ๒. ประชุมเจ้าหน้าที่ และ อสม.ในเขตรับผิดชอบ เพื่อกำหนดแนวทางแผนการเนินงาน ๓. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขอรับความเห็นชอบและอนุมัติ ขั้นดำเนินการ(Do) ๑.ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบทราบเพื่อเข้าร่วมโครงการ ๕.ติดตามกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อย่างน้อย ๕ ปีครั้ง ๖.ลงทะเบียนผู้รับบริการเพื่อจัดลำดับคิวเข้ารับบริการ ๗.ให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เมื่อผู้รับบริการมารับผลการตรวจมะเร็งปากมดลูก ๘.ดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ตามโครงการ

ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑. รายงานผลการดำเนินงาน ๒. ประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ๓. ปรับปรุง/พัฒนาวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุตั้งแต่ ๓๐-๖๐ ปีได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมอย่างน้อยร้อยละ ๘๐ ๒.สตรีกลุ่มเป้าหมายอายุตั้งแต่ ๓๐-๖๐ ปีได้รับการตรวจมะเร็งปากมดลูกอย่างน้อยร้อยละ ๒๐
๓.สตรีกลุ่มเป้าหมายที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและรักษาอย่างถูกวิธี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2561 14:12 น.