โครงการชุมชนปลอดบุหรี่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนปลอดบุหรี่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ |
วันที่อนุมัติ | 5 มิถุนายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤศจิกายน 2560 - 31 สิงหาคม 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 10,360.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายณรงค์รอดชุม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ควันบุหรี่ส่งผลกระทบด้านสุขภาพทั้งต่อตัวผู้สูบและคนไม่สูบ(แต่ได้รับสูดดมควัน) หรือที่เรียกกันว่า "ควันบุหรี่มือสอง"คือควันจากปลายมวนบุหรี่ที่จุดไฟ และควันที่ผู้สูบบุหรี่สูดเข้าไปและหายใจออกมาประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด และมีถึง 70 ชนิด ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ควันบุหรี่มีผลต่อผู้สูบและผู้ไม่สูบได้รับควันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว สถานการณ์ทั่วโลกยังมีผู้เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละ 5 ล้านคน และคาดการณ์ว่าจะเพิ่มเป็นปีละ 10 ล้านคน ในปี พ.ศ.2573 มีรายงานจากกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอเมริกาปี 2547 รายงานโรคต่างๆที่เกิดจากการสูบบุหรี่ถึง 36 ชนิด ด้วยกันได้แก่ โรคมะเร็ง 10 ชนิด โรคหัวใจและหลอดเลือด 4 ชนิด โรคระบบสืบพันธ์ 4 ชนิด และโรคอื่นๆอีก 6 ชนิด คนไทยเสียชีวิตจากโรคที่่เกิดจากการสูบบุหรี่ ปีละ 42000 คน หรือวันละ 115 คน หรือชั่วโมงละ 5 คน ปัจจุบันแม้ว่าประเทศไทยเป็นที่ยอมรับจากสากลในเรื่องความก้าวหน้าในการควบคุมการบริโภคยาสูบ จากทั้งกฎ ระเบียบ และพ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 ออกมาบังคับใช้ แต่ก็ยังมีคนไทยที่สูบบุหรี่มากกว่า 10 ล้านคน มากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ และที่สำคัญที่น่าเป็นห่วงมาก คือ ควันบุหรี่มีผลต่อเด็กโดยพบว่า เด็กจะได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสองมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากมีขนาดของร่างกายที่เล็กกว่า มีอัตราการหายมากกว่า และมีระบบการหายใจร่วมกับระบบภูมิต้านทานที่ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ อีกทั้งควันบุหรี่มืองสองสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในเด็กหลายอย่าง เช่น การตายอย่างเฉียบพลันในวัยทารก และที่สำคัญเด็กที่อยู่ในบ้านที่มีคนสูบบุหรี่ก็มีแนวโน้มที่จะเริ่มสูบบุหรี่ในอนาคตมากกว่า สำหรับพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่ามะเดื่อพบผู้สูบบุหรี่ที่ยังอาศัยอยู่ในพื้นที่ทั้งสิ้น 98 คน คิดเป็นร้อยละ 9.13 ของประชากรทั้งหมดและเกือบทั้งหมดเป็นผู้ชาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาที่เกิดจากพิษภัยของบุหรี่จึงได้จัดทำโครงการชุมชนปลอดบุหรี่ ขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดี และเพื่อถวายเป็นพระราชกูศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 10,360.00 | 1 | 10,360.00 | 0.00 | |
1 พ.ย. 60 - 31 ส.ค. 61 | ชุมชนปลอดบุหรี่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร | 0 | 10,360.00 | ✔ | 10,360.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 10,360.00 | 1 | 10,360.00 | 0.00 |
1.สำรวจข้อมูลเบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูล 2.จัดตั้งคณะกรรมการชุมชนควบคุมยาสูบในชุมชน 3.พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการชุมชนควบคุมยาสูบในชุมชน คืนข้อมูลชุมชน รับฟังความคิดเห็นตลอดจนวางแผนการดำเนินกิจกรรมควบคุมยาสูบ 4.ประชุมกลุ่มผู้สูบบุหรี่ 5.จัดบริการคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ามะเดื่อ 6.สร้างบุคคลต้นแบบในการลด ละ เลิกบุหรี่ 7.จัดทำเวทีประชาคมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน เพื่อร่วมรับรู้ และร่วมกำหนดมาตรการชุมชนในการช่วยเลิกบุหรี่ การจัดสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ รวมถึงการป้องกันการเข้าถึงบุหรี่ของนักสูบหน้าใหม่ 8.จัดกิจกรรมมือปราบบุหรี่วัยใส ในกลุ่มนักเรียนทั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนประถมศึกษา 9.จัดกิจกรรมร้านค้าคุณธรรม ในร้านค้า/ร้านชำทั้งหมดในเขตบริการ 10.จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อช่วยเลิกบุหรี่ 11.ติดป้ายเขตปลอดบุหรี่ในพื้นสาธารณะตามกฎหมายในชุมชน 12.ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับพิษภัยบุหรี่ โดยใช้แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์
ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันพิษภัยของบุหรี่ มีความสามารถในการจัดการตนเองให้ห่างไกลบุหรี่โดยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่าย เกิดมาตรการทางสังคมและมีการสร้างสิ่งแวดล้อมปลอดบุหรี่ในชุมชน มีคลินิกช่วยเลิกบุหรี่ในสถานบริการซึ่งเป็นช่องทางในการแนะนำติดตามการลด ละ เลิกบุหรี่ และมีบุคคลต้นแบบซึ่งแบบอย่างที่ดีที่จะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ได้ตระหนักและห่างไกลจากพิษภัยของบุหรี่ นำไปสู่การเป็นชุมชนปลอดบุหรี่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2561 15:54 น.