กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวบ้านควนร่วมใจ ขจัดภัยไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 61-L1500-02-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 9 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 12,100.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุปาณี ดำจุติ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านควน อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.529,99.636place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 140 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาที่สำคัญทางด้านสาธารณสุขไทยมาตลอด เป็นโรคติดต่อซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรคการระบาดของโรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่าง ๆจึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เพิ่มจำนวนประชากรของยุงลายพาหะนำโรคเป็นอย่างดี การระบาดของโรคไข้เลือดออกสามารถพบได้ในทุกกลุ่มอายุ และมีโอการเกิดอัตราการเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูง ตำบลบ้านควนมีพื้นที่หมู่บ้านรับผิดชอบจำนวน ๖ หมู่บ้าน ๒,๔๘๔ หลังคาเรือน ประชากรจำนวน ๔,๕๘๙ คน สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบ้านควน ยังคงมีการระบาดเกิดขึ้นในทุกปี ประกอบกับมีฝนตกชุกตลอดทั้งปี จึงทำให้มีน้ำท่วมขัง เป็นแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ข้อมูลจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านควน ช่วงเดือนมกราคม – เดือนกันยายน๒๕๖๐ พบว่า มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลบ้านควน จำนวน ๒๑ ราย ซึ่งนับว่าเป็นจำนวนอัตราการป่วยที่ค่อนข้างสูง การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก ตลอดจนร่วมมือกันในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน เพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกในปี ๒๕๖๑ และให้มีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนกระตุ้นให้ประชาชนในชุมชนเกิดความตระหนัก และมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก โดยยึดหลักมาตรการ ๕ป ๑ข ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบ้านควน จึงได้จัดทำ โครงการชาวบ้านควนร่วมใจ ขจัดภัยไข้เลือดออก ขึ้น เพื่อเป็นการเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออกด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อลดอัตราการป่วย หรือการเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบ้านควน และเป็นหมู่บ้านปลอดโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อดำเนินการควบคุมและป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดน้อยลง

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก

ค่า CI น้อยกว่าหรือเท่ากับ ๑๐

0.00
3 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออก

ประชาชนสามารถทำแบบทดสอบความรู้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ ๖๐

0.00
4 เพื่อให้ประชาชนได้ดูแลรักษาความสะอาดของบ้านเรือนและชุมชน

บ้านเรือนและชุมชนสะอาด

0.00
5 เพื่อรณรงค์สร้างแกนนำในชุมชน

แกนนำในชุมชนหมู่บ้านละ ๑๐ คน

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

๑. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการ ๒. ชี้แจงรายลละเอียดโครงการชาวบ้านควนร่วมใจ ขจัดภัยไข้เลือดออกต่อคณะอนุกรรมการกองทุนฯ เพื่อพิจารณากลั่นกรอง ๓. คณะกรรมการกองทุนฯ ประชุมพิจารณาโครงการ
๔. จัดตั้งคณะกรรมการควบคุมโรคทุกหมู่บ้าน
๕. ดำเนินการตามกิจกรรม โดยแบ่งกลุ่ม ๒ กลุ่ม ได้แก่ ประชาชนหมู่ที่ ๑,๔,๖ จำนวน ๙๐ คน และ ประชาชนหมู่ที่ ๒,๓,๕ จำนวน ๕๐ คน ดังนี้ กิจกรรมที่ ๑ สำรวจลูกน้ำยุงลาย กิจกรรมที่ ๒ อบรมให้ความรู้การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
กิจกรรมที่ ๓ กิจกรรมรณรงค์
- เผยแพร่ความรู้แจกใบความรู้ แผ่นผับประชาสัมพันธ์ในชุมชนและเสียงตามสายผ่านหอกระจายข่าว เรื่องการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายตามหลัก ๕ป ๑ข - เคาะประตูบ้านเพื่อตรวจหา, กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ๖. ประเมินแบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังเข้ารับการอบรม ๗. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกของประชากรในชุมชนลดลง ๒. มีการร่วมมือของชุมชนในการแก้ไขปัญหาและควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืน ๓. ยุงตัวเต็มวัยถูกกำจัดและลดปริมาณลง ๔. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก ๕. มีแกนนำควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ๖. บ้านเรือนและบริเวณโดยรอบสะอาด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2561 09:32 น.