กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ หนูน้อยฟันสวย
รหัสโครงการ 2561-L2513-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเรียง
วันที่อนุมัติ 4 มิถุนายน 2018
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางยูวาเฮ มะเเซ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.398,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ฟันเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกายที่ช่วยให้เด็กมีรอยยิ้มและรู้สึกเชื่อมั่นในตนเอง สามารถบดเคี้ยวอาหารและออกสียงได้ดี ช่องปากถือว่าเป็นประตูของสุขภาพ เป็นด่านแรกของระบบย่อยอาหาร ความสามารถในการบดเคี้ยวและกลืนอาหารเป็นหน้าที่สำคัญของอวัยวะส่วนนี้ ส่งผลให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์และสร้างสุขภาพดี โรคฟันผุในเด็กปฐมวัยยังเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศ ในช่วง ๓๐ปีที่ผ่านมา อัตราความชุกของโรคฟันผุของเด็กในประเทศอุตสาหกรรมลดลงอย่างมากจากการใช้ฟลูออไรด์และการแปรงฟันสม่ำเสมอ แต่สำหรับประเทศไทยอัตราความชุกของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะในเขตชนบท จากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 7 โดยกองทันตสาธารณสุขพ.ศ. ๒๕๕5พบว่า เด็กไทยอายุ ๓ ปี มีความชุกในการเกิดโรคฟันผุ ร้อยละ 51.8 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด (dmft) 2.7 ซี่/คนแม้จะเพิ่งมีฟันน้ำนมขึ้นครบแต่ร้อยละ 3.2 ของเด็กเริ่มมีประสบการณ์การสูญเสียฟันในช่องปากแล้วทั้งที่ฟันน้ำนมควรหลุดตามปกติในช่วงอายุ ๖-๑๓ ปี ส่วนภาคที่มีอัตราความชุกของโรคฟันผุในวัยนี้สูงสุดคือภาคใต้ โดยเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง พบว่าเด็กอายุ ๓ปีมีอัตราความชุกของโรคฟันผุร้อยละ ๖1.๐ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด(dmft) 3.1 ซี่/คนรวมถึงจังหวัดนราธิวาสมีซึ่งอัตราความชุกของโรคฟันผุในปี 2559 ร้อยละ 57.46 (ฝ่ายทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส)และจากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของอำเภอรือเสาะในปี๒๕60พบว่าเด็กอายุ ๓ปีมีอัตราความชุกของโรคฟันผุถึงร้อยละ 67.3ส่วนในเขตของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลเรียง มีอัตราความชุกของโรคฟันผุถึงร้อยละ 82.14ซึ่งสูงกว่าในระดับประเทศมากจึงเป็นปัญหาสุขภาพที่ควรให้ความสนใจและควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตำบลเรียงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสุขภาพช่องปากในเด็กกลุ่มนี้ จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยฟันสวยเพื่อเสริมสร้างให้ผู้ปกครองมีพฤติกรรมที่ดีในการดูแลสุขภาพช่องปากของลูกน้อยตั้งแต่หลังคลอดจนถึงก่อนเข้าโรงเรียน โดยเน้นในเรื่องการให้ความรู้และฝึกทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กเล็กแก่ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กร่วมกับการใช้ฟลูออไรด์เฉพาะที่ในการป้องกันฟันผุ ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้และพัฒนาทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองตั้งแต่เล็ก ที่สำคัญช่วยให้เด็กไม่ต้องสูญเสียฟันก่อนกำหนด มีฟันน้ำนมที่สวย สะอาดต่อเนื่องไปถึงฟันแท้ในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นวางแผน(Plan) ๑. กำหนดกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบ ๒. สำรวจข้อมูลทางทันตสุขภาพและจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานในเขตรับผิดชอบ ๓. เขียนแผน/โครงการ เพื่อเสนออนุมัติ ๔. ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๕. ดำเนินงานตามโครงการ ๖.เตรียมสื่ออุปกรณ์ในการให้ทันตสุขศึกษา ขั้นดำเนินการ(Do) ๑.กิจกรรม ตรวจสภาวะสุขภาพช่องปาก
๑.๑ ตรวจสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษา ๑.๒ สาธิตและฝึกทักษะในการตรวจและทำความสะอาดช่องปาก ๑.๓ เคลือบฟลูออไรด์วานิชทุกๆ ๓ เดือน ๑.4 ส่งรักษาต่อในรายที่พบปัญหาเร่งด่วน ๒.อบรมเชิงปฏิบัติการ “หนูน้อยฟันสวย”     ๒.๑อบรมให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคในช่องปาก การป้องกัน การรักษาและการบริโภคอาหารที่ เหมาะสมแก่ผู้ปกครองเด็กและผู้ดูแลเด็ก พร้อมกับสาธิตวิธีการดูแลความสะอาดช่องปากที่
ถูกต้อง
ขั้นตรวจสอบและประเมินผล(Check) ๑. ติดตามและประเมินผลจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม ๒. ประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมประชุม ๓. สรุปผลการดำเนินงาน


ขั้นปรับปรุงและพัฒนา(Action) ๑.รายงานผลการดำเนินงาน ๒.ประชุมร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ๓.ปรับปรุง/พัฒนาวางแผนการดำเนินงานในปีต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ผู้ปกครองเด็กอายุ 0-2 ปี มีความรู้ในการดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถนำความรู้ไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม นำสู่การการลดภาวะการเกิดโรคในช่องปากของเด็ก

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2018 13:00 น.