กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 2561-L2513-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
วันที่อนุมัติ 4 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเรียง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.398,101.445place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ การควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มอายุ 30 ปีขึ้นไป ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ สำหรับโรคมะเร็งเต้านมในสตรีไทย พบว่าสตรีทุก 16 คนมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้1 คนแม้ว่ามะเร็งเต้านม ทำให้เกิดความสูญเสียและเป็นสาเหตุการตายในอัตราที่สูง แต่ก็เป็นโรคที่สามารถรักษาได้ และการพยากรณ์โรคค่อนข้างดี ถ้าสามารถตรวจพบและให้การรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่ง 80 เปอร์เซ็นต์ของมะเร็งเต้านม สามารถตรวจพบได้โดยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน เพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับการแนะนำให้ปฏิบัติมากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก สามารถปฏิบัติได้ง่ายด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องมือพิเศษใดๆช่วยในการตรวจ ประหยัดเวลา ไม่เสียค่าใช้จ่าย จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษาเมื่อระยะของโรคลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว ทั้งนี้เนื่องมาจากสตรีเหล่านี้ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง รวมทั้งการขาดความรู้ ความเชื่อมั่น ในการตรวจเต้านม ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลเรียง จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม 25๖1 ขึ้นเพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมให้ได้รับการรักษาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. . เพื่อให้หญิงอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งเต้านม ร้อยละ 80 2. . เพื่อให้หญิงอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20 3. เพื่อให้หญิงอายุ 30-70 ปี ที่ตรวจพบความผิดปกติได้รับการส่งต่อและการรักษาที่ถูกต้อง

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,500.00 0 0.00
1 เม.ย. 61 - 31 พ.ค. 62 ประชุมให้ความรู้ 0 20,500.00 -

1.ขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเครือข่าย เพื่อค้นหาและเลือกวิธีการใหม่ๆในการชักชวนกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมรวมถึงสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่อาศัยอยู่จริงในพื้นที่รับผิดชอบ 1.2 จัดประชุมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ แก่อสม. และแกนนำครอบครัวกลุ่มเป้าหมาย 1.3 แบ่งพื้นที่กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่แก่อสม. และแกนนำครอบครัว เพื่อติดตาม แนะนำและนำส่งกลุ่มเป้าหมายเข้าตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 1.4 แจ้งแผนการดำเนินการรณรงค์แก่ อสม. แกนนำครอบครัว
      1.5 รณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในสตรีอายุ อายุ 30-60 ปี ด้วยวิธีการ ดังนี้       1.5.1 รณรงค์ผ่านสื่อ - ประชาสัมพันธ์ตามมัสยิด   - ป้ายประชาสัมพันธ์   - ประชาสัมพันธ์ผ่านทางLine ของตำบลเรียง
2.ขั้นดำเนินการ 2.1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมและให้ความรู้เรื่องมะเร็งปากมดลูกจำนวนทั้งหมด 150 คน โดยแบ่งการอบรมเป็น 3 รุ่นๆละ 50 คนต่อวัน และกำหนดตรวจในสถานบริการ ในวันพุธ และพฤหัสบดี ช่วงบ่าย 2.2 ให้บริการเชิงรุกแก่กลุ่มเป้าหมายที่ไม่สามารถเดินทางเข้ารับการตรวจในสถานบริการตามกำหนด 2.3 ส่งแผน Slide ไปตรวจและอ่านผล จากโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
2.4 รับผลการตรวจจากโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
2.5 ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ 2.6 ติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ 2.7 บันทึกบันทึกผลการทำใน program pap สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 30-60 ปี 2.8.เจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านซ้ำ ภายหลังจากอสม.หรือแกนนำสตรีติดตามครั้งแรกแล้วไม่ได้รับความร่วมมือ 2.9. สรุป โครงการทุกเดือน รวมทั้งอสม. เพื่อสรุปปัญหาของโครงการและหาแนวทางแก้ไข 2.10 สรุปและประเมินโครงการเมื่อสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ลดอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร้งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
  2. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับบริการตรวจโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูก
  3. สตรีที่ตรวจพบโรคมะเร็งเต้านมและมะเร้งปามดลูกได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2561 13:06 น.