กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ


“ โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประจำปี 2561 ”

ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

หัวหน้าโครงการ
นางนูรือมา มะแซ

ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประจำปี 2561

ที่อยู่ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 61-L2536-1-17 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 เมษายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประจำปี 2561 จังหวัดนราธิวาส" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประจำปี 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประจำปี 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลปูโยะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส รหัสโครงการ 61-L2536-1-17 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 เมษายน 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 16,500.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปูโยะ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะโรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมาการระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม– กันยายน ของทุกปีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายของโรคสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในชุมชนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนโรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ให้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออกและเกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชน พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ตำบลปูโยะ เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในตำบลปูโยะตั้งแต่ปี2556 - 2560 จำนวน 25, 11,3,7และ 2ราย ตามลำดับ คิดเป็นอัตราป่วย397.08, 174.71,56.10, 111.04และ 37.39ต่อแสนประชากร (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปูโยะ.งานระบาดวิทยา,2559) ตามลำดับไม่มีผู้ป่วยตายพบผู้ป่วยกระจายทุกหมู่บ้านจะเห็นได้ว่าอัตราป่วยเกิน50ต่อแสนประชากรโรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่สามารถแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็วโดยมียุงลายเป็นพาหะ และมีอันตรายถึงแก่ชีวิต จากการพยากรณ์โรคไข้เลือดออกปี 2560คาดทั้งประเทศจะมีผู้ป่วยไข้เลือดออกประมาณ 37,500ราย(กรมควบคุมโรค. สำนักระบาดวิทยา,2560 )ดังนั้น มาตรการการป้องกันจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในปี 2560ได้วางมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1. ระยะก่อนการระบาด ตั้งแต่เดือน มกราคม- เดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงโอกาสการแพร่โรคเกิดน้อย สามารถป้องกันโรคล่วงหน้า ด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้ได้มากที่สุด โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของเครือข่าย และประชาชน ระยะที่ 2. ระยะระบาด เริ่มตั้งแต่ เดือนพฤษภาคม -เดือนสิงหาคม เน้นมาตรการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน เตรียมความพร้อมทั้งด้านการรักษา อุปกรณ์ และทีมสอบสวนโรคเคลื่อนที่เร็ว เปิดศูนย์ปฏิบัติการ(War Room) เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสั่งการและแก้ไขปัญหา ตลอดจนควบคุมโรคได้อย่างทันเวลาในพื้นที่ ที่มีการระบาดและไม่ให้เกิดการระบาดในวงกว้าง และออกให้ความรู้ในการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ประชาชนในตำบลปูโยะปลอดภัยจากโรคไข้เลือดออกต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
  2. เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของมาตรการ3เก็บ + 5ส เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกัน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออกแก่แกนนำนักเรียน

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 660
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกลดลงร้อยละ 20จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5ปี
  2. ดัชนีลูกน้ำยุงลายHI, CI, น้อยกว่า ร้อยละ 10ค่า BIน้อยกว่าร้อยละ50
  3. ทุกหมู่บ้านมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  4. ทุกโรงเรียนมีการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก
  5. ประชาชนมีความเข้าใจ และมีความตระหนักในเรื่องการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกและ พร้อมที่จะให้ความร่วมมือในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
  6. หน่วยงาน/องค์กรในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออกในพื้นที่

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออกแก่แกนนำนักเรียน

วันที่ 10 กันยายน 2561

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่นำโดยแมลง เช่น โรคไข้เลือดออก  โรคไข้ปวดข้อยุงลาย  (ชิคุนกุนยา)  โรคไข้ไวรัสซิกา  และโรคเท้าช้าง  พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถป้องกันยุงกัดที่สามารถหาได้ง่ายภายในชุมชน  เช่น ต้นตะไคร้หอม  การสร้างสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเองเพื่อนำมาเป็นกับดักยุง เป็นต้นแก่นักเรียนที่เข้าอบรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

จากการทำแบบทดสอบความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกก่อนและหลังการอบรมพบว่า  นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นรายละเอียดดังนี้

แบบทดสอบ จำนวน  15  ข้อ จำนวนแกนนำนักเรียน
(คน)
‹  8  คะแนน(ไม่ผ่าน)

8  คะแนนขึ้นไป(ผ่าน)

    คน  ร้อยละ  คน  ร้อยละ

ก่อนการอบรม 60 10 16.66 50 83.34 หลังการอบรม 60 5 8.33 55 91.66

 

60 0

2. กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day

วันที่ 18 ตุลาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1 กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day  ในชุมชน
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม -ค่าขนม 300 ชิ้น x 10 บาท=  3,000  บาท -ค่าเครื่องดื่ม300 กล่อง x 10 บาท = 3,000บาท 2 กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day  ในโรงเรียน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม -ค่าขนม 300 ชิ้น x 10 บาท=3,000  บาท -ค่าเครื่องดื่ม300 กล่อง x 10 บาท = 3,000 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day
    1.1กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day  ในชุมชน ดำเนินงานการจัดกิจกรรม Big cleaning dayในชุมชนจำนวน  6  หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย  300  คน โดยเน้นการให้หลัก  5ป.  1ข.เป็นประจำทุกวันศุกร์ 1.2กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day  ในโรงเรียน ดำเนินงานการจัดกิจกรรม Big cleaning dayในโรงเรียนจำนวน  3โรงเรียน  กลุ่มเป้าหมายโรงเรียนละ  100  คน  รวมทั้งหมด  300 คน โดยเน้นการให้หลัก  5ป.  1ข.เป็นประจำทุกวันศุกร์  สำรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จากการรณรงค์  Big cleaning day ทั้งในชุมชนและในโรงเรียน พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก  ตั้งแต่เดือนวันที่ 1  มกราคม  25561 - 25  กันยายน  2561จำนวน6  ราย คิดเป็นอัตราป่วย  95.3 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

 

600 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day
    1.1กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day ในชุมชน ดำเนินงานการจัดกิจกรรม Big cleaning dayในชุมชนจำนวน 6 หมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย 300 คน โดยเน้นการให้หลัก 5ป. 1ข.เป็นประจำทุกวันศุกร์ 1.2กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day ในโรงเรียน ดำเนินงานการจัดกิจกรรม Big cleaning dayในโรงเรียนจำนวน 3โรงเรียน กลุ่มเป้าหมายโรงเรียนละ 100 คน รวมทั้งหมด 300 คน โดยเน้นการให้หลัก 5ป. 1ข.เป็นประจำทุกวันศุกร์ สำรวจลูกน้ำยุงลายและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย จากการรณรงค์ Big cleaning day ทั้งในชุมชนและในโรงเรียน พบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ตั้งแต่เดือนวันที่ 1 มกราคม 25561 - 25 กันยายน 2561จำนวน6 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 95.3 ต่อแสนประชากร ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนด
  2. กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออกแก่นักเรียน อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อที่นำโดยแมลง เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย (ชิคุนกุนยา) โรคไข้ไวรัสซิกา และโรคเท้าช้าง พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่สามารถป้องกันยุงกัดที่สามารถหาได้ง่ายภายในชุมชน เช่น ต้นตะไคร้หอม การสร้างสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเองเพื่อนำมาเป็นกับดักยุง เป็นต้นแก่นักเรียนที่เข้าอบรม จากการทำแบบทดสอบความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออกก่อนและหลังการอบรมพบว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นรายละเอียดดังนี้

แบบทดสอบ จำนวน 15 ข้อ จำนวนแกนนำนักเรียน
(คน)
‹ 8 คะแนน(ไม่ผ่าน)
8 คะแนนขึ้นไป(ผ่าน)

คน ร้อยละ คน ร้อยละ ก่อนการอบรม 60 10 16.66 50 83.34 หลังการอบรม 60 5 8.33 55 91.66

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : ร้อยละของอัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกลดลง จากค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
0.00

 

2 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของมาตรการ3เก็บ + 5ส เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก
ตัวชี้วัด : ร้อยละของดัชนีลูกน้ำยุงลายHI, CI, และ BI
0.00

 

3 เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกัน
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 660
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 660
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก (2) เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเห็นความสำคัญของมาตรการ3เก็บ + 5ส  เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก (3) เพื่อให้ประชาชนมีความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและวิธีการป้องกัน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมรณรงค์ Big cleaning day  (2) กิจกรรมอบรมให้ความรู้โรคไข้เลือดออกแก่แกนนำนักเรียน

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชน ประจำปี 2561 จังหวัด นราธิวาส

รหัสโครงการ 61-L2536-1-17

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางนูรือมา มะแซ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด