กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนเยาวชนรุ่นใหม่ห่างไกลบุหรี่
รหัสโครงการ 61- L2525- 2-15
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านลาเวง
วันที่อนุมัติ 27 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 เมษายน 2561 - 28 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 28 กันยายน 2561
งบประมาณ 8,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านลาเวง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเชิงคีรี อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.27,101.57place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล ควันบุหรี่ก่อให้เกิดผลเสียแก่สุขภาพของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่ที่อยู่ใกล้เคียงหลายประการ เช่น อาจทำให้เกิดมะเร็งปอดและอวัยวะอื่นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบอีกทั้งควันบุหรี่ยังทำให้เกิดโรคบางโรคเช่นโรคหอบหืด หรือโรคภูมิแพ้มีอาการกำเริบขึ้นทุกปีจะมีผู้เสียชีวิตจากบุหรี่ปีละ 400,000 คน หรืออาจจะมากกว่านั้นแต่ละปีรัฐบาลต้องเสียงบประมาณเป็นค่ารักษาโรคที่เกิดจากบุหรี่มากมาย ผู้ที่อยู่กับผู้ที่สูบบุหรี่ก็ได้รับผลเช่นเดียวกัน เราเรียกกลุ่มนี้ว่าสูบบุหรี่มือสอง ควันที่ออกจากผู้สูบบุหรี่จะมีสารที่มีขนาดเล็กสามารถเข้าปอดของผู้สูบบุหรี่มือสองได้ สอดคล้องกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ 4ธันวาคม2547 ณศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชดำรัสตอนหนึ่งกล่าวถึงภัยร้ายของบุหรี่ ดังนี้ “การสูบบุหรี่มากๆ หูเสีย ตาเสีย สมองเสีย เส้นเลือดเสียหัวใจด้วย เพราะว่าบุหรี่ทำให้เส้นเลือดตีบ เมื่อเส้นเลือดตีบ หูก็เสีย ตาก็เสียได้ง่าย เพราะเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหู เลี้ยงตา เลี้ยงอวัยวะที่อ่อนไหว เส้นเลือดมันเล็ก บุหรี่ทำให้เส้นเลือดตีบเลือดก็ไปไม่ได้ดี ถ้าไปไม่ได้ดีก็ทำให้อวัยวะเหล่านั้นด้อยสมรรถภาพ คนที่สูบบุหรี่สมองก็ทึบ เพราะว่าเส้นเลือดในสมองมันตีบ มันเล็ก คิดอะไรก็ไม่ออก ทำไป ทำมาก็ทึบขึ้นทุกที ทีแรกนึกว่าคนเราสูบบุหรี่ทำให้กระฉับกระเฉง ตรงข้ามกลับไม่กระฉับกระเฉง ทำให้รู้สึกว่าทึบ สมองมันทึบสมองมันตัน ส่วนเด็กๆ ที่ไม่เชื่อยังสูบบุหรี่ เล่นคาราโอเกะ เรียนอะไรก็ไม่ค่อยได้ จึงต้องไปเจรจาให้ เด็กๆ อายุ10-20 ขวบให้เขาตั้งอกตั้งใจเรียนเขาจะได้ทำงานดี แล้วก็ต่อไปอีก 70-80 ปีข้างหน้า เมืองไทยจะไปขนาดไหน ไปถึงดวงดาวได้ ทำให้เมืองไทยมีชื่อเสียงได้"
บุหรี่จึงเป็นสิ่งเสพติดที่มีอันตรายต่อสุขภาพมาก จากการสำรวจของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขพบว่าจำนวนผู้สูบบุหรี่ของนักเรียนนักศึกษาทั้งประเทศมีอัตราการสูบเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทางสถานศึกษาควรตระหนักถึงพิษภัยของบุหรี่ที่มีต่อสุขภาพของตัวผู้สูบและผู้ที่อยู่ใกล้เคียง ทั้งยังเป็นสื่อชักนำไปสู่การเสพติดอื่น ๆ อีกด้วย ประกอบกับชมรม อสม. รพ.สต.บ้านลาเวงได้จัดโครงการเยาวชนรุ่นใหม่ห่างไกลบุหรี่ เพื่อส่งเสริมด้านสุขภาพให้แก่เยาวชนในเขตรับผิดชอบของรพ.สต.บ้านลาเวง จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ในการนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมสุขภาพให้เยาวชนในเขตรับผิดชอบดำเนินการตามกลวิธีสร้างสุขภาพ คือ Good Social สังคมดี สภาพแวดล้อมดีGood Mind จิตใจดีGood Action มีการกระทำที่ดี เช่น การออกกำลังกาย เล่นกีฬาGood Relationship มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และGood Team work มีการทำงานเป็นทีมที่ดี
ดังนั้น เพื่อให้บรรลุหลักการของ G-SMART Model ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านลาเวงจึงจัดโครงการเยาวชนรุ่นใหม่ห่างไกลบุหรี่ขึ้น เพื่ออบรมให้ความรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่และวิธีการเลิกบุหรี่รวมทั้งรณรงค์ในการสร้างความเข้มแข็งและมีภูมิคุ้มกันในตนเองต่อปัญหาการสูบบุหรี่ในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
2 เม.ย. 61 - 29 มิ.ย. 61 อบรมให้ความรู้แก่เยาวชน ในเขตรับผิดชอบ 40 8,600.00 8,600.00
รวม 40 8,600.00 1 8,600.00
  1. ขั้นเตรียมการ
    1.2 สำรวจกลุ่มเป้าหมายเยาวชน ในเขตรับผิดชอบ 1.3 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลเชิงคีรี
    1.4 ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1.5 เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร สื่อแผ่นพับที่ใช้ในการอบรม ขั้นที่ 2 ขั้นดำเนินงานตามโครงการ
    2.1 ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการก่อนให้ความรู้
    2.2อบรมให้ความรู้แก่เยาวชน ในเขตรับผิดชอบ

- เรื่องโทษของบุหรี่ จำนวน ๑ ชั่วโมง - วิธีการรู้จักปฏิเสธ จำนวน ๑ ชั่วโมง - โรคที่เกิดจากการสบบุหรี่ จำนวน ๑ ชั่วโมง - วิธีการลด ละ เลิก บุหรี่จำนวน ๒ ชั่วโมง 2.3ประเมินความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการหลังให้ความรู้
2.4 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หลังการอบรม 2.5จัดตั้งเครือข่ายเยาวชนห่างไกลบุหรี่ในชุมชน ขั้นที่ 3 สรุปวิเคราะห์และประเมินผล
3.1 ประเมินผลความรู้ผู้เข้าร่วมโครงการ ก่อน – หลังได้รับความรู้
3.2 มีเครือข่ายเยาวชนห่างไกลบุหรี่ในหมู่บ้านที่รับผิดชอบทุกหมู่บ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

อบรมมีความรู้และทักษะสามารถดูแลสุขภาพหลีกเลี่ยงป้องกันภัยจากบุหรี่ได้ 2. ผู้เข้าอบรม มีความตระหนักสนใจและมีส่วนร่วม ในการควบคุมการบริโภคยาสูบและร่วมรณรงค์ เพื่อการลด/ละ/เลิกการสูบบุหรี่ 3. มีแกนนำเครือข่ายเยาวชนในการขับเคลื่อนในชุมชนปลอดบุหรี่

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2561 15:49 น.