กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้


“ โครงการสรัางเสริมสุขภาพคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2561 ”

ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

หัวหน้าโครงการ
นายพรเทพ เปรมดิษฐกุล

ชื่อโครงการ โครงการสรัางเสริมสุขภาพคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2561

ที่อยู่ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L8402-1-04 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการสรัางเสริมสุขภาพคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2561 จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการสรัางเสริมสุขภาพคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2561



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการสรัางเสริมสุขภาพคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2561 " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลคูหาใต้ อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 61-L8402-1-04 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 48,430.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคูหาใต้ เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาสุขภาพที่เร่งด่วนของประชาชนที่ต้องได้รับการแก้ไขนอกจากโรคติดต่อแล้วกลุ่มโรคไม่ติดต่อก็เป็นสาเหตุสำคัญของการตายและความพิการทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนลดลงและก่อให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรเป็นจำนวนมากในแต่ละปี ได้แก่โรคความดันโลหิตสูง โรคเส้นเลือดในสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคเบาหวาน และโรคมะเร็ง เป็นต้น การค้นหาและการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเป็นภารกิจในการดำเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดี สามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพมากขึ้นโดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพโดยถือว่าสุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน สำหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มอายุต่างๆ ได้แก่วัยรุ่น อายุ 15 ปีขึ้นไป วัยทำงาน วัยทองและวัยผู้สูงอายุ เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ อาทิ เช่น พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมการสูบบุหรี่ การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมถึงภาวะเครียด การตรวจค้นหาคัดกรองตรวจสุขภาพของประชาชนและการควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่ประชาชนยังไม่ตระหนักถึงการดูแลและตรวจสุขภาพเพราะคิดว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีอาการของโรคและจากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าการตรวจค้นหาการคัดกรองกลุ่มเสี่ยงของโรคเรื้องรังต่างๆของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ ยังไม่บรรลุเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 95 ของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงเชิงรุกเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้ถูกต้อง เหมาะสม และเพื่อให้การดำเนินงานคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงบุรรลุเป้าหมาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในระดับตำบลโดยนำนโยบายด้านสาธารณสุขลงสู่การปฏิบัติแก่ประชาชนในเขตความรับผิดชอบได้เห็นความสำคัญของการดำเนินการคัดกรองและตรวจสุขภาพประชาชนในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป วัยทำงาน วัยทอง และวัยผู้สูงอายุและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามโครงการปิงปอง 7 สี คือ กลุ่มเสี่ยงตามระดับสีต่างๆ จากน้อยไปหามาก ตั้งแต่สีเขียวอ่อน สีเขียว สีเหลือง สีส้ม สีแดง และสีดำ ตามลำดับ อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป จากการคัดกรองกลุ่มประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,579 คน มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง จำนวน 1,500คน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจึงได้จัดทำโครงการสร้างเสริมสุขภาพคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงเชิงรุกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคูหาใต้ เพื่อนำผลการประเมินมาพัฒนาการมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพให้กับประชาชนเป็นการลดภาระโรคที่เกิดขึ้นในระยะยาวต่อไ

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
  2. เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตามโครงการปิงปอง 7 สี มีความรู้ในการจัดการหรือการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อไป
  3. เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงตามโครงการคัดกรองปิงปอง 7 สี ได้รับการส่งตัวให้แพทย์วินิจฉัยรับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสม
  4. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง
  5. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข มีทักษะความรู้เรื่องการตรวจวัดความดันโลหิตและการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมการอบรมฟื้นฟูศักยภาพ อสม.
  2. กิจกรรมการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
  3. กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,500
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงครอบคลุม ร้อยละ 80 2.เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตามโครงการปิงปอง 7 สี มีความรู้ในการจัดการหรือดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว ชุมชน เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อไป 3.ให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง 4.อสม. มีทักษะความรู้เกี่ยวกับการตรวจวัดความดันโลหิตและตรวจน้ำตาลในเลือด


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมการอบรมฟื้นฟูศักยภาพ อสม.

วันที่ 16 พฤษภาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

อบรมฟื้นฟูศักยภาพ อสม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

อสม.มีความรู้เกี่ยวกับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิต

 

70 0

2. กิจกรรมการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

วันที่ 16 พฤษภาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

การคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองทุกคน

 

0 0

3. กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

วันที่ 16 พฤษภาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจภาวะเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงครอบคลุมร้อยละ 96.13 ดังนี้   - ประชาชนเข้ารับการตรวจคัดกรองเบาหวานทั้งหมด 1,442 คน กลุ่มปกติ 1,266 คน คิดเป็นร้อยละ 87.79 กลุ่มเสี่ยง 136 คน คิดเป็นร้อยละ 9.43   - ประชาชนเข้ารับการตรวจคัดกรองความดันโลหิตสูงทั้งหมด 1,266 คน กลุ่มปกติ 850 คน คิดเป็นร้อยละ 67.14 กลุ่มเสี่ยง 242 คิดเป็นร้อยละ 19.12 2.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปที่เสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตามโครงการปิงปอง 7 สี มีความรู้และตระหนักใส่ใจในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน สามารถพึ่งตนเองได้โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพหรือวิถีชีวิตที่ก่อหรือเสริมการเป็นโรคได้ถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ 90 3.ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการส่งต่อให้แพทย์วินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง เหมาะสม 4.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ในปี 61 จำนวน 10 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 3 คน โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 1 คน และผู้ป่วยความดันโลหิตสูง 6 คน ได้รับการติดตามเยี่ยมบ้านในแต่ละคนอย่างต่อเนื่อง จำนวน 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป
ตัวชี้วัด : ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
100.00 100.00

 

2 เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตามโครงการปิงปอง 7 สี มีความรู้ในการจัดการหรือการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อไป
ตัวชี้วัด : ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีความรู้ในการจัดการหรือการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง
80.00 80.00

 

3 เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงตามโครงการคัดกรองปิงปอง 7 สี ได้รับการส่งตัวให้แพทย์วินิจฉัยรับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสม
ตัวชี้วัด : ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงตามโครงการคัดกรองปิงปอง 7 สี ได้รับการส่งตัวให้แพทย์วินิจฉัยรับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสม
80.00 80.00

 

4 เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : ผู้ป่วยได้รับการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง
80.00 80.00

 

5 เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข มีทักษะความรู้เรื่องการตรวจวัดความดันโลหิตและการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
ตัวชี้วัด : อาสาสมัครสาธารณสุข มีทักษะความรู้เรื่องการตรวจวัดความดันโลหิตและการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
80.00 80.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 1500 1557
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,500 1,557
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อคัดกรองภาวะเสี่ยงของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป (2) เพื่อให้ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง ตามโครงการปิงปอง 7 สี มีความรู้ในการจัดการหรือการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อไป (3) เพื่อให้ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงสูงตามโครงการคัดกรองปิงปอง 7 สี ได้รับการส่งตัวให้แพทย์วินิจฉัยรับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสม (4) เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการติดตามเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง (5) เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุข มีทักษะความรู้เรื่องการตรวจวัดความดันโลหิตและการตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมการอบรมฟื้นฟูศักยภาพ อสม. (2) กิจกรรมการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (3) กิจกรรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการสรัางเสริมสุขภาพคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง 2561 จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 61-L8402-1-04

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายพรเทพ เปรมดิษฐกุล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด