กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมอาหารวิถีไทย “มาแล้ มาแลเรินเรา เข้าติ๊ไฟ มากินของหร้อย”
รหัสโครงการ 2561-L5309-03-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมตลาดเย็น เย็น
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มิถุนายน 2561 - 15 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2561
งบประมาณ 66,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุวรรณาล่าเต๊ะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากนโยบายของรัฐบาลไทยโดยคณะกรรมการนโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติมีมติให้ปี 2561 เป็น “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” หรือ “Amazing Thailand Tourism Year 2018” โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 - 1 มกราคม 2562 โดยส่งเสริมให้การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่เกื้อกูลเรื่องความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม จิตวิทยาและการต่างประเทศ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อนำประเทศไทยไปสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพที่เจริญเติบโตอย่างมีดุลยภาพบนพื้นฐานของความเป็นไทยโดยนำรายได้สู่ประชาชนทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวคุณภาพชั้นนำของโลกที่เติบโตอย่างแข็งแรง กระทรวงสาธารณสุข โดย กรมอนามัยได้ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน ให้ภาคีเครือข่ายดำเนินการพัฒนาสถานประกอบการด้านอาหารตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ให้ได้มาตรฐาน โดยได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐาน ออกกฎกระทรวง และคำแนะนำคณะกรรมการสาธารณสุข เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใช้เป็นแนวทางในการควบคุมกำกับสถานประกอบการด้านอาหารในพื้นที่ และส่งเสริมการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการด้านอาหารโดยได้จัดทำมาตรฐานตลาดสดน่าซื้อสำหรับรับรองมาตรฐานตลาดสด และจัดทำมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย เพื่อรับรองมาตรฐานร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายอาหาร อาหารเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อสุขภาพของประชาชน และอาหารปลอดภัยที่ประชาชนบริโภคนั้น ต้องปราศจากเชื้อโรค อาหารเป็นพิษ หรือปนเปื้อนจากเชื้อโรคทางเดินอาหารและสารเคมี ดังนั้นเพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย จึงต้องมีระบบการดูแล ควบคุม และตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัย อาหารที่ผลิตทุกขั้นตอนตลอดห่วงโซ่อาหาร ( Food Chain) ตั้งแต่วัตถุดิบ การผลิต การแปรรูป การจัดจำหน่าย จนถึงผู้บริโภคอาหาร หรือที่กล่าวว่าจากฟาร์มสู่โต๊ะอาหาร ( From Farm to Table) หรือจากฟาร์มสู่ช้อน ( From Farm to Fork)
อาหารไทยเป็นอาหารเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษไทยเป็นที่นิยมทั้งในประเทศไทยเองและในต่างประเทศเป็นที่ยอมรับและรู้จักอย่างแพร่หลาย เห็นได้อย่างความประสบความสำเร็จของร้านอาหารไทยในต่างประเทศ เสน่ห์ของอาหารไทยแต่ละจานมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป มีส่วนผสมที่หลากหลายนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เป็นเกิดความอร่อยและประทับใจ อีกทั้งอาหารไทยเป็นอาหารสุขภาพใช้ไขมันในการปรุงอาหารน้อยใช้เนื้อสัตว์น้อยเน้นผักเป็นสำคัญทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและมีสรรพคุณทางยาในคราวเดียวกัน การปรุงแต่งกลิ่นสี รส มาจากธรรมชาติจากพืชผักดอกไม้เครื่องเทศและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติทั้งสิ้น การจำแนกคุณค่าอาหารไทยออกได้ 3 ด้าน 1. คุณค่าทางโภชนาการอาหารไทยแต่ละจานมีสารอาหารหลายตัวสารอาหารแต่ละตัวร่างกายจะใช้ประโยชน์ได้ต้องทำงานร่วมกัน เช่น วิตามินเอที่มีอยู่ในมะเขือพวงเมื่อใส่ในแกงเขียวหวานร่างกายจะใช้วิตามินเอที่มีอยู่ในมะเขือพวงได้ก็ต้องได้ไขมันจากกะทิและโปรตีนจากไก่ เป็นต้น 2. คุณค่าสรรพคุณทางยาของผักและสมุนไพรที่เป็นเครื่องปรุงของอาหารแต่ละจาน เช่น หอมแดงและกระเทียมที่ใส่ในน้ำพริกแกงช่วยลดไขมันในเลือดเส้นใยอาหารในมะเขือพวงช่วยกวาดน้ำตาลในเลือดพริกทำให้การไหลเวียนของเลือดดีสลายลิ่มเลือดลดความดัน 3.คุณค่าทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมโดยปกติ ผักสมุนไพรเครื่องเทศแต่ละอย่างจะมีรสชาติและลักษณะเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง เช่น ขี้เหล็กจะมีรสขมมยิ่งกว่ายาขมใด ๆ เพราะภูมิปัญญาของบรรพบุรุษเมื่อนำมาทำเป็นแกงขี้เหล็กโดยมีส่วนผสมของน้ำพริกแกง (น้ำพริกแกง คือ การนำเอาสมุนไพรและเครื่องเทศหลายอย่างมาผสมเข้าด้วยกัน) กะทิและเนื้อสัตว์ทำให้อาหารจากผักที่ขมเกิดความอร่อยขึ้นมาได้ อาหารไทยมีหลายรสชาติหลากหลายอยู่ในจานเดียวกัน อาหารแต่ละรสส่งเสริมซึ่งกันและกันให้เกิดความอร่อย ดังนั้นชมรมตลาดเย็น เย็นร่วมกับ ฝ่ายเวชกรรมชุมชน โรงพยาบาลละงู ได้เล็งเห็นว่า การขับเคลื่อนการส่งเสริมอาหารวิถีไทย และการดำเนินงานสนับสนุน“ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” เป็นสิ่งที่จะนำมาพัฒนาส่งเสริมสุขภาพประชาชนในพื้นที่ได้จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมอาหารวิถีไทย “มาแล้มาแลเรินเรา เข้าติ๊ไฟ มากินของหร้อย”ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาและฟื้นฟูอาหารพื้นบ้านในเขตเทศบาลตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล

1.จำนวนพ่อค้า แม่ค้าในตลาดเย็น เย็นและประชาชนทั่วไป มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการ มากกว่า ร้อยละ 70 2.เกิดชุดความรู้ และเมนูอาหารพื้นบ้านในเขตเทศบาลตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูลซึ่งเป็นอาหารเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษจำนวน 1 ชุด 3.มีอาหารพื้นบ้านในเขตเทศบาลตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูลซึ่งเป็นอาหารเอกลักษณ์และภูมิปัญญาของบรรพบุรุษมาวางจำหน่ายในตลาดเย็น เย็น อย่างน้อย 10ชนิด

0.00
2 เพื่อพัฒนามาตรฐานความสะอาด เรื่องการจัดการขยะสำหรับ ผู้ประกอบการร้านค้า ร้านอาหารแผงลอย ในเขตเทศบาลตำบลกำแพงอำเภอละงู จังหวัดสตูล

1..จำนวนพ่อค้า แม่ค้าในตลาดเย็น เย็น มีส่วนร่วมในกิจกรรมของโครงการ มากกว่า ร้อยละ 70 2.ร้อยละ 80 ของร้านค้าแผงลอยในเขตเทศบาลตำบลกำแพงอำเภอละงู  จังหวัดสตูลได้พัฒนาการจัดการขยะในร้านค้า ร้านอาหารแผงลอยของตนเอง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 67,900.00 0 0.00
11 - 30 มิ.ย. 61 กิจกรรมจัดประชาสัมพันธ์โครงการและเชิญชวนผู้ประกอบอาหารพื้นบ้านดั้งเดิมเข้ามาร่วมกิจกรรม 0 1,000.00 -
11 มิ.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อระดมสมองในการค้นหาอาหารพื้นบ้าน เมนูอาหารพื้นบ้าน ขนมพื้นบ้าน ค้นหาตัวบุคคลที่ปรุงอาหาร ในเขตเทศบาลตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล 0 11,340.00 -
11 มิ.ย. 61 - 31 ส.ค. 61 สาธิตการทำอาหารพื้นบ้านในตลาดนัดเย็น เย็น เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปรับชิม รับชม 0 11,000.00 -
1 - 15 ก.ย. 61 มหกรรม “มาแล้ มาแลเรินเรา เข้าติ๊ไฟ มากินของหร้อย” 0 43,060.00 -
1 - 15 ก.ย. 61 สรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ 0 1,500.00 -
  1. ประชุมทีมเพื่อวางแผนการจัดทำโครงการ
  2. เขียนโครงการเสนอเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  3. ดำเนินการตามโครงการ
    • ประชาสัมพันธ์โครงการและเชิญชวนผู้ประกอบอาหารพื้นบ้านดั้งเดิมเข้ามาร่วมกิจกรรม • แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อระดมสมองในการค้นหาอาหารพื้นบ้าน เมนูอาหารพื้นบ้าน ขนมพื้นบ้าน ค้นหาตัวบุคคลที่ปรุงอาหาร ในเขตเทศบาลตำบลกำแพง อำเภอละงูจังหวัดสตูล ประชุมกลุ่ม 3 ครั้ง • สาธิตการทำอาหารพื้นบ้านในตลาดนัดเย็น เย็น เพื่อให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปรับชิม รับชมทุกเดือนจำนวน 3 ครั้ง • จัดมหกรรม“มาแล้มาแลเรินเรา เข้าติ๊ไฟ มากินของหร้อย” 1ครั้ง
  4. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดแนวทางการส่งเสริมนำเอาอาหารพื้นบ้านมาเพื่อให้ประชาชนได้บริโภคอันช่วยลดโรคและส่งเสริมสุขภาพของผู้บริโภค
  2. เกิดการพัฒนามาตรฐานความสะอาดตามหลักสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านค้า
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2561 08:58 น.