กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการการจัดการสิ่งแวดล้อม ตำบลลำไพล
รหัสโครงการ 61-L5192-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลลำไพล
วันที่อนุมัติ 15 กุมภาพันธ์ 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 94,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเส็น หมินหมาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.721,100.93place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีสุขภาพดี เป็นเป้าหมายสูงสุดของมวลมนุษยชาติ ซึ่งหากประเทศชาติใดประชาชนมีสุขภาพดีย่อมส่งผลให้ประเทศนั้นมีความเจริญมั่นคง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การปกครอง เทคโนโลยีและความเป็นผู้นำของโลก การที่ประชาชนมีสุขภาพที่ดีจึงมีความสำคัญและเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในด้านต่างๆ ความเจ็บป่วยของประชาชนในปัจจุบันแบ่งออกเป็นป่วยด้วยโรคติดต่อ และป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งโรคติดต่อที่สำคัญและเป็นปัญหาสำคัญในพื้นที่ตำบลเทพา คือโรคไข้เลือดออก
โรคติดต่อ มีหลายองค์ประกอบของการเกิดโรค ได้แก่ บุคคล เชื้อโรค พาหนะนำโรค และสิ่งแวดล้อมซึ่งในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ จะต้องควบคุมปัจจัยดังกล่าว ไม่ให้เอื้อต่อการเกิดโรค คือ บุคคลต้องมีสุขภาพที่แข็งแรงสมบูรณ์ เชื้อโรคต้องไม่มีหรือมีจำนวนน้อย พาหนะนำโรคไม่มีหรือมีน้อยและที่สำคัญคือสิ่งแวดล้อมต้องถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของบุคคลต้องสะอาดถูกสุขลักษณะจึงจะทำให้ไม่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของเชื้อโรค และการปรับปรุงควบคุมหรือรักษาสภาพแวดล้อม ให้สะอาดถูกสุขลักษณะเป็นสิ่งที่ประชาชนในทุกหมู่บ้าน/ทุกชุมชน สามารถปฏิบัติได้ในวิถีชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลและแต่ละหลังคาเรือน ซึ่งหมู่บ้านในชุมชนใดมีการปรับปรุงรักษาความสะอาดของที่พักอาศัยให้ได้มาตรฐานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเป็นการป้องกันโรคติดต่อต่างๆในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนในชุมชนนั้นๆมีสุขภาพที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อดังกล่าว ซึ่งการดำเนินการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจะได้ผลจะต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคน ทุกหลังคาเรือน ทุกภาคส่วนจึงจะได้ผลอย่างยั่งยืน จากสถานการณ์ ในปัจจุบันโรคติดต่อที่นำโดยแมลงและโรคติดต่อจากสาเหตุอื่นๆนั้นนับว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในระดับประเทศและจากภาวะโรคร้อนอากาศแปรปรวนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โรคไข้เลือดออกโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคติดต่ออื่น ๆ ที่ส่งผลให้จำนวนผู้ป่วยด้วยโรคติดต่อมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลลำไพล เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดทำโครงการการจัดการสิ่งแวดล้อม ตำบลลำไพล เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีจิตสำนึกและพฤติกรรมการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยการปฏิบัติตามหลัก 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค รวมทั้งการรักษาความสะอาดและร่วมมือกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมในหมู่บ้านในที่พักอาศัยของตนเอง รวมถึงในโรงเรียนต่างๆให้สะอาด ถูกสุขลักษณะและรักษาให้เกิดความต่อเนื่องยั่งยืน ซึ่งถ้าหมู่บ้าน/โรงเรียนมีความสะอาดส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ส่งผลให้มีภาวะเศรษฐกิจที่ดีต่อไปได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ๑. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน/ชุมชนของตนเอง ร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ
  1. ประชาชน ผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อม
70.00
2 2. เพื่อให้ประชาชน และชุมชน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ความพึงพอใจของการเข้าร่วมโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00
3 3. ประชาชน และชุมชน สามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเองและเกิดธนาคารขยะรีไซเคิลในหมู่บ้าน

เกิดกลุ่มแกนนำในการขับเคลื่อนธนาคารขยะรีไซเคิล

80.00
4 เพื่อประกาศเกียรติคุณให้แก่สถานศึกษาในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมและกระตุ้นให้หมู่บ้านรักษาความสะอาด เพื่อเป็นหมู่บ้านต้นแบบ และเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินงานป้องกันโรคไข้เลือดออกต่อไป

เกิดบ้านต้นแบบในทุกหมู่บ้านของตำบลลำไพล

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 96,700.00 0 0.00
1 ก.พ. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรม Big Cleaning day ในชุมชน 0 39,000.00 -
1 ก.พ. 61 - 30 ก.ย. 61 จัดการขยะอันตรายในชุมชน 0 5,200.00 -
1 ก.พ. 61 - 30 ก.ย. 61 ธนาคารขยะรีไซเคิล 0 41,000.00 -
1 มี.ค. 61 - 30 ก.ย. 61 กิจกรรมประกวดบ้านสวย 0 11,500.00 -

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมประกวดบ้านสวย โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วม, Green & Clean ในการจัดการปัญหาไข้เลือดออกในชุมชน 1. ชวนคิด-ชวนคุยกับผู้นำชุมชน ทุกภาคีเครือข่าย ประชาชนในทุกหมู่บ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และเจ้าหน้าที่ เทศบาลเพื่อทำความเข้าใจและร่วมในการดำเนินงาน 2. สำรวจข้อมูลการเฝ้าระวังพฤติกรรมการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลด้านพฤติกรรม 3. ประสานงานกับหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง 4. ในแต่ละหมู่บ้านให้ทำกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม (VHS) และติดตามหมู่บ้านที่รับการประเมินบ้านแล้ว 4.1. หมู่ที่ 4 บ้านแม่ที หมู่ที่ 9 บ้านลำเปาใต้ หมู่ที่ 10 บ้านทุ่งพระยอด หมู่ที่ 13 บ้านลานช้าง ติดตามผล ถอดบทเรียนจากการที่รับการประเมินบ้านในปีที่ผ่านมา และเสริมพลังให้มีบ้านต้นแบบเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งจัดรับการประเมินบ้านประจำปี 4.2. หมู่ที่ 5 สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม (VHS) และจัดการประเมินบ้านในระดับหมู่บ้าน 5. แต่งตั้งคณะกรรมการออกประเมินบ้าน และร่วมกันคิดเกณฑ์การประเมินในการประเมินบ้าน 6. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมประเมินบ้าน 7. จัดกิจกรรม Big Cleaning day ในชุมชน 2เดือน ครั้ง ทำความสะอาดบ้าน ที่พักอาศัยและปรับปรุงภูมิทัศน์ในหมู่บ้านให้สวยงามอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ โดยประชาชน อสม. ผู้นำชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษาและองค์กรต่างๆในชุมชนทุกภาคส่วน 8. รับสมัครครัวเรือนเข้าร่วมกิจกรรมประเมินบ้านสะอาด พร้อมแจ้งเกณฑ์การประเมินบ้าน 9. ทีมคณะกรรมการออกประเมินบ้านที่เข้าร่วมโครงการ พร้อมสรุปผลการประเมินบ้าน 10. ประกาศผลการประเมินบ้านสะอาดระดับหมู่บ้าน
11. บ้านที่ผ่านเกณฑ์การประเมินแต่ละหมู่บ้าน เข้ารับการประเมินในระดับตำบล 12. สรุปผลการประเมินบ้านที่ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับหมู่บ้านและระดับตำบล 13. ประเมินผลกิจกรรม (Body paint) และรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบ ตามลำดับ พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรบ้านสะอาดประจำปี

กิจกรรมที่ ๒ ธนาคารขยะรีไซเคิล 1. ชวนคิด-ชวนคุย กับผู้นำชุมชน อสม. ประชาชนในหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจและขอความร่วมมือในการดำเนินงาน โดยใช้กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม เรื่องธนาคารขยะรีไซเคิล 2. แต่งตั้งคณะกรรมการการจัดการธนาคารขยะรีไซเคิลเกิดธนาคารขยะรีไซเคิลในแต่ละหมู่บ้าน 3. ประชาสัมพันธ์โครงการธนาคารขยะรีไซเคิล 4. อบรมให้ความรู้เรื่อง การคัดแยกขยะในชุมชน การจัดการด้านการสุขาภิบาลที่พักอาศัยการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดแวดล้อมและการปรับปรุงพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคล และการปลูกผักปลอดสารพิษ 5. ตั้งศูนย์ธนาคารขยะแต่ละหมู่บ้าน 6. ติดตามการบริหารจัดการโครงการธนาคารขยะรีไซเคิล ของแต่ละหมู่บ้าน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีพฤติกรรมที่ถูกต้องในการจัดการขยะในครัวเรือนเพื่อการป้องกันโรคติดต่อ
  2. ชาวบ้านมีจิตสำนึกเรื่องการรักษาความสะอาดมากขึ้น
  3. สิ่งแวดล้อมในชุมชนถูกสุขลักษณะ
  4. ปลอดจากโรคติดต่อ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคอุจจาระร่วง โรคตาแดง โรคฉี่หนู
  5. เกิดชุมชนต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมระดับตำบล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2561 10:50 น.