กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เด็กไทยไม่กินหวาน ใน ศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง
รหัสโครงการ 2561-L5309-03-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 11 มิถุนายน 2561 - 15 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 20 กันยายน 2561
งบประมาณ 70,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ว่าที่ ร.ต.หญิง อหนัดนงค์รัตนวิภา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.933,99.777place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากผลสำรวจของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขในปี2551 – 2555 พบว่า ประชากรเพศชายเป็นโรคอ้วนเพิ่มมากขึ้นถึงร้อยละ 36 ส่วนประชากรหญิงเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 47 โดยช่วงอายุที่มีอัตราการการเป็นโรคอ้วนที่เพิ่มสูงสุด คือ ช่วงอายุ 20-29 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุที่อยู่ในวัยทำงาน และจากสภาพปัญหาดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา อาจจะนำไปสู่ปัญหาด้านเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเป็นปัญหาของประเทศชาติในอนาคต เมื่อสำรวจการบริโภคน้ำตาลของเด็กนักเรียนชั้นเด็กเล็กและประถม ในปี 2557 พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 10-12 ช้อนชา/คน/วัน เกินกว่าค่ามาตรฐานซึ่งอยู่เป็นที่ประมาณ 6 ช้อนชาต่อวันโดยการบริโภคน้ำตาลแบบที่ว่าเป็นไปใน 2 รูปแบบ คือ ในรูปแบบที่มองเห็น และมองไม่เห็น ซึ่งมีอัตราส่วนอยู่ที่ 1 ต่อ 1 นอกจากน้ำตาลแบบที่เขาเห็นและตักใส่อาหารแล้ว ยังมีน้ำตาลที่อยู่ในรูปขนม ลูกอม เครื่องดื่มบริโภคอีกหนึ่งส่วน และเมื่อลงรายละเอียดของพฤติกรรมเด็กไทยพบว่า กินขนมเฉลี่ยประมาณ 2-3 ครั้ง หรือ 2-3 ถุงต่อวัน ดื่มน้ำอัดลมประมาณ 1 กระป๋อง เมื่อคำนวณจาก 2 แหล่งนี้รวมกัน ใน 1 วัน เด็กจะได้รับน้ำตาลจากน้ำอัดลม 7.4 ช้อนชา บวกกับน้ำตาลที่ได้จากขนมอีกประมาณ 2-3 ช้อนชา พฤติกรรมการกินรสหวานจึงเป็นเรื่องที่คุ้นเคยกันมาแต่เด็ก พฤติกรรมการบริโภคของเด็กดังกล่าวยังส่งผลเสียต่อสุขภาพช่องปาก โดยจากผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพระดับประเทศ ปี 2555 พบอัตราการเกิดฟันผุในเด็กอายุ 3 ขวบ ร้อยละ 56.7 และผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากของวังหวัดสตูลปี 2559 พบเด็ก 3 ปี มีฟันผุร้อยละ 66.82 ส่วนเด็ก 3 ปี ในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง ปี 2559 มีฟันผุร้อยละ 51.51 ปัญหาฟันผุในเด็กดังกล่าว ยังส่งผลเสียต่อโภชนาการและพัฒนาการของเด็กได้ ดังนั้นการปลูกผังให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการรับประทานอาหารที่หวานน้อย หลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลต่อสุขภาพของเด็ก เพื่อลดปัญหาหารเกิดโรคดังกล่าวข้างต้น รวมทั้งการบูรณะฟันที่ผุในเด็ก เพื่อให้เด็กสามารถบดเคี้ยวและกลับมาใช้งานได้ตามปกติจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้เกี่ยวข้องควรดำเนินการ ศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง ร่วมกับ ฝ่ายสาธารณสุขโรงพยาบาลละงูงานคลินิกโรคเรื้อรัง งานสุขภาพจิต และงานโภชนาการจึงได้จัดโครงการนี้ขึ้นมา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปลูกฝังเด็กให้มีนิสัยการรับประทานอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ โดยการเข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เด็กไทยไม่กินหวาน เป้าหมาย เด็กใน ศพด.ทต.กำแพง

ร้อยละ 100 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพงได้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เพื่อเด็กไทยไม่กินหวานใน ศูนย์พัฒนาเด็ก

0.00
2 เพื่อให้ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็กได้รับทราบถึงผลกระทบของการบริโภคหวานเกินความจำเป็นรวมถึงการเลือกอาหารว่างที่เป็นประโยชน์ให้กับเด็ก

1.ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพงได้เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เพื่อเด็กไทยไม่กินหวานในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง 2.ร้อยละ 80 ของผู้ปกครองเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมรณรงค์เพื่อเด็กไทยไม่กินหวานในศูนย์พัฒนาเด็กมีความรู้การเลือกบริโภคอาหาร พัฒนาการในเด็ก และการดูแลสุขภาพของปากผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อลดอัตราการสูญเสียฟันของเด็กและลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปากที่ส่งผลให้เกิดฟันผุในฟันถาวรได้ เป้าหมาย เด็กใน ศพด.ที่มีฟันน้ำนมผุและยังสามารถให้การบูรณะด้วยการอุดฟันด้วย SMART technique ได้

1.ร้อยละ 80 ของเด็กใน ศพด.ที่มีฟันผุและยังสามารถให้การบูรณะด้วยการอุดฟันได้โดยวิธี SMART technique 2.ร้อยละ 100 ของเด็กใน ศพด.ที่ได้รับการอุดฟันแบบ SMART technique ไม่มีปัญหาภาวะแทรกซ้อนหลังทำ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 70,600.00 0 0.00
1 ก.ค. 61 - 5 ก.ย. 61 ประชุมทีมงานและการติดตาม การดำเนินงานในโครงการ “รณรงค์เด็กไทยไม่กินหวาน” 0 2,500.00 -
15 ก.ค. 61 - 30 ส.ค. 61 สอนเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเรื่องโภชนาการและอาหารการดูแลสุขภาพช่องปาก ฝึกแปรงฟัน 0 9,600.00 -
15 - 31 ส.ค. 61 จัดบริการอุดฟันให้แก่เด็กที่มีฟันผุด้วยวิธี SMAR technique 0 18,000.00 -
1 - 10 ก.ย. 61 จัดงานมหกรรมเด็ก/ผู้ปกครองเด็ก”รณรงค์เด็กไทยไม่กินหวาน” 0 39,000.00 -
11 - 15 ก.ย. 61 สรุปผลการดำเนินงานโครงการฯ 0 1,500.00 -

1…ประชุมคณะทำงานผู้เกี่ยวข้องตามโครงการเด็กไทยไม่กินหวานในศูนย์พัฒนาเด็กเทศบาลตำบลกำแพง 2. จัดกิจกรรมให้ความรู้ ความเข้าใจ ในการเลือกรับประทานอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ และผลกระทบการบริโภคหวานเกินความจำเป็น การดูแลสุขภาพช่องปากแก่ เด็ก/ผู้ดูแลเด็กในศูนย์/ผู้ปกครองเด็ก อย่างต่อเนื่อง ตามเวลาในแผนที่กำหนด 3. โภชนากร ออกประเมิน และให้คำแนะนำเรื่องเมนูอาหารกลางวันแก่เจ้าหน้าที่โรงครัวและติดตามอย่างต่อเนื่อง 4. ประเมินภาวะสุขภาพเด็ก ตรวจช่องปาก บริการทันตกรรมเชิงรุกในเด็กที่มีปัญหาฟันผุ เพื่อยับยั้งการลุกลามของรอยโรคด้วยวิธี SMART techniqueและติดตามอย่างต่อเนื่อง 5. ประชาสัมพันธ์ จัดสื่อ รณรงค์ ป้ายไวนิล เอกสาร แผ่นพับ ในสถานที่ศูนย์เรียนรู้เด็ก 6. จัดมหกรรม เวทีเสวนา แก่เด็ก/ผู้ปกครอง เพื่อรณรงค์ เรื่อง “เด็กไทยไม่กินหวาน เพื่อสุขภาพที่ดี” 7. ติดตาม ประเมินผล สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.เด็ก/ผู้ปกครอง/ผู้ดูแลเด็ก มีความรู้ความเข้าใจในการเลือกรับประทานอาหารที่เอื้อต่อสุขภาพ การดูแลสุขภาพช่องปาก 2.เด็กเกิดการสร้างนิสัย ลดการบริโภคหวานเกินความจำเป็น 3.เด็กและผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพช่องปากและสามารถปฏิบัติได้ 4.ลดปัญหาโรคฟันผุในฟันถาวร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2561 13:16 น.