กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เยี่ยมบ้านเพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชน
รหัสโครงการ 61-L3046-2-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมะนังยง
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกูรอซีด๊ะ บูละ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลมะนังยง ตำบลมะนังยง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.813,101.402place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 1 ต.ค. 2560 30 ก.ย. 2561 36,800.00
รวมงบประมาณ 36,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการสำรวจพบว่าประชาชนในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง มีปัญหาด้านสุขภาพและมีวิธีดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวยังไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งปัญหาสุขภาพที่สำคัญของครอบครัว ได้แก่ การเจ็บป่วยเล็ๆ น้อยๆ เช่น โรคไข้หวัด ปวดศรีษะ ปวดขา โรคกะเพาะ ปัญหาโรคติดต่อ โรคไม่ติดต่อและปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งล้วนแต่เป็นปัญหาสุขาภาพที่มีผลกระทบต่อครอบครัวในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพ ค่าใช้จ่ายและด้านจิตใจ ซึ่งวิธีการดูแลสุขภาพของครอบครัวเมื่อเกิดการเจ็บป่วยพบว่าครอบครัวส่วนใหญ่จะทราบวิธีการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยเล็กน้อยได้ดี นอกจากนี้ยังมีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง เช่น การดูแลฟื้นฟูผู้พิการเพื่อลดปัญหาแผลกดทับ การดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำตาลในเลือดสูง หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ เป็นต้น ซึ่งถ้ามีวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้องอาจส่งผลให้เกิดอันตรายหรือทำให้เกิดความพิการมากยิ่งขึ้นทั้งที่สามารถป้องกันหรือรักษาได้

ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยขาดความรู้ หมดกำลังใจ ท้อแท้ ผู้ดูแลขาดความรู้ ความเข้าใจ หรือชุมชนขาดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟู และจากข้อมูลพบว่าผู้สูงอายุหรือผู้พิการที่ถูกส่งตัวกลับมารักษาตัวต่อที่บ้านจากโรงพยาบาล จึงมักเกิดปัญหาว่ามีวิธีการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ผู้พิการเกิดความพิการมากขึ้น เกิดแผลกดทับมากขึ้น ต้องเสียชีวิต ต้องเสียเงิน เสียเวลา พากลับไปรักษาตัวต่อที่โรงพยาบาลเหมือนเดิม ดังนั้นถ้าหากมีการส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนและครอบครัวสามารถดูแลตนเองได้และมีระบบการเฝ้าระวัง ดูแลปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุและของผู้พิการ เพื่อลดอันตรายหรือเพื่อลดความพิการที่อาจเกิดขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง จำนวนหมู่บ้านรับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 4,805 คน มีบุคลากรสาธารณสุข 7 คน แกนนำ 1 คน อสม. 54 คน โรงเรียน 3 แห่ง มัสยิส 3 แห่ง มีผู้สูงอายุ 120 คน ผู้พิการ 80 คน

จะเห็นได้ว่าจำนวนบุคลากรสาธารณสุขมีไม่เพียงพอแแก่การให้บริการโดยเฉพาะการให้บริการในชุมชน ซึ่งยังมีปัญหาสุขภาพอีกมากมายที่ยังเข้าไม่ถึง แต่เนื่องจากมีองค์กรต่างๆ ในชุมชน อีกมากมายที่ได้พัฒนาศักยภาพให้สามารถดูแลผู้สูงอายุหรือผู้พิการในชุมชนได้ น่าจะเป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถทำได้และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้ป่วยและผู้พิการ ดังนั้น โครงการนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ของครอบครัว ในการดูแลสุขภาพของตนเองโดยมีบุคลากรสาธารณสุขเป็นพี่เลี้ยง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชนได้รับการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูร่างกายได้อย่างถูกต้องตามเกณฑ์

 

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้พิการในชุใชนให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพตนเองและความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อลดอันตรายและลดความพิการให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้ผู้สูงอายุและผู้พิการในชุมชนได้รับการดูแลเพื่อส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูร่างกายได้อย่างถูกต้องตามเกณฑ์

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุและผู้พิการในชุใชนให้ความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพตนเองและความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อลดอันตรายและลดความพิการให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 ประชุมชี้แจงในกลุ่มเป้าหมาย อสม. เพื่อรับทราบแนวทางการดำเนินงาน 32.00 11,400.00 -
1 มิ.ย. 61 - 30 ก.ย. 61 อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่แกนนำสุขภาพประจำครอบครัวหมอครอบครัวผู้ดูแลผู้พิการ 204.00 25,400.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

  1. สำรวจผู้สูงอายุที่่ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิดสูงและผู้พิการที่มีปัญหา
  2. เตรียมประชุมประชาคมให้ชาวบ้านได้รับทราบถึงแผนงาน โครงการ
  3. คัดเลือกผู้ดูแลสุขภาพในชุมชน แกนนำสุขาภาพประจำครอบครัว (หมอครอบครัว) โดยคัดเลือกหมู่บ้านละ 5 คน
  4. จัดประชุม อบรม อสม. เพื่อรับทราบปัญหา รวบรวมปัญหา จัดกลุ่มและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
  5. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่หมอครอบครัว โดยจัดให้มีการฝึกปฏิบัติจริงในชุมชนโดยบุคลากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะนังยง
  6. จัดหาอุปกรณ์ในการดูแลผู้ป่วย เช่น เครื่องวัดความดัน เครื่องมือตรวจน้ำตาลในเลือด
  7. ติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
  8. สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันและเบาหวาน
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพอย่างเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องในเรื่องอาหาร อารมณ์ ออกกำลังกายและสูบบุหรี่
  3. กลุ่มเป็าหมายได้ตระหนักถึงการพัฒนาตนเอง สามารถลดน้ำหนัก ลดรอบเอว จากฐานเดิมได้ร้อยละ 5 และเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครอบครัวและประชาชนทั่วไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2561 22:17 น.