กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการปั่นจักรยาน
รหัสโครงการ 17/2561
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลแพรกหา
วันที่อนุมัติ 17 พฤษภาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 26 พฤษภาคม 2561 - 31 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลแพรกหา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลแพรกหา อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.654,100.01place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 26 พ.ค. 2561 31 ก.ค. 2561 35,000.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 35,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มวัยทำงาน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

ระบุ

กลุ่มผู้สูงอายุ 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอของคนมีอัตราเพิ่มขึ้นทั่วโลกโดยส่วนใหญ่พบการมีกิจกรรมทาง กายไม่เพียงพอในกลุ่มวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และจะเพิ่มขึ้นในประเทศที่มีรายได้เฉลี่ยประชากรสูง สำหรับประเทศไทยผลสำรวจกิจกรรมทางกายโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าในปี 2555 ถึง 2558 คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพียงพอ อยู่ที่ร้อยละ 66.3 เมื่อพิจารณากากรเปลี่ยนแปลงในปี 2557 ถึง 2558 จำแนกตามกลุ่มวัยพบว่า กลุ่มที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอเพิ่มขึ้นสูงสุด ได้แก่ กลุ่มวัยทำงานโดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 70.4 เป็นร้อยละ 75.8กลุ่มที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.2 ถึงร้อยละ 0.8 ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่น และกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเพิ่มจากร้อยละ 66.4 และร้อยละ 67.7 เป็นร้อยละ 66.6 และร้อยละ 68.5 ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มวัยเด็กกลับพบกิจกรรมทางกายเพียงพอลดลงจากร้อยละ 67.6เหลือเพียงร้อยละ64.8 องค์การอนามัยโลก เน้นย้ำว่าวิถีชีวิตที่กระฉับกระเฉง(Active Lifestyle)สำคัญยิ่งต่อสุขภาภาพกาย และใจที่ดี การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอและการมีพฤติกรรมเนือยนิ่งให้น้อยที่สุด มีความสำคัญทั้งในมิติ ของการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค โดยเฉพาะการมีพัฒนาการที่ดีตลอดช่วงชีวิตมนุษย์ การมี กิจกรรมทางกายที่เพียงพอและเหมาะสม ตั้งแต่วัยเด็กและต่อเนื่องจนถึงเมื่อเข้าสู่วัยชราจะช่วยสร้างความแข็งแรงของหัวใจและหลอดเลือด กล้ามเนื้อ กระดูกทำงานได้ดี เคลื่อนไหว ประสานงานและทรงตัวได้อย่างสมดุลลดความเสี่ยงต่อการหกล้มการแตกหักของกระดูกสะโพกและสันหลัง รวมทั้งสร้างความสมดุลของ ร่างกายในการใช้พลังงาน ช่วยควบคุมน้ำหนัก ลดโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคทั้งเบาหวาน ความดันโลหิตสูงโรคหัวใจและหลอดเลือด และมะเร็งหลายชนิด โดยเฉพาะโรคมะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ และช่วยลดอัตรา การเสียชีวิตก่อนวัย ในพื้นที่ตำบลแพรกหาก็มีแนวโน้มของกิจกรรมทางกายของประชาชนในพื้นที่ลดลง อันเนื่องมาจากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเสพสื่อต่าง ๆ ที่ต้องใช้เวลาและสมาธิอยู่นิ่งเป็นเวลานาน จากการสำรวจของตำบลแพรกหา จากประชากร 10 คน จะมีกิจกรรมทางกายในแต่ละสัปดาห์น้อยกว่า 150นาที ถึง 8 คน คิดเป็นร้อยละ 80 คนจากเหตุนี้ศูนย์พัฒนาครอบครัวตำบลแพรกหา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาพ จึงจัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายด้วยการปั่นจักรยานเพิ่มกิจกรรมทางกายให้แก่ประชาชนในพื้นที่ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันแนวใหม่ในชุมชน เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากภาวะเนือยนิ่งของประชาชนในพื้นที่

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ 2.เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานให้กับคนในชุมชน 3.เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน 4.เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนในพื้นที่ได้ปั่นจักรยานเป็นกิจวัตรประจำวัน 5.เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้การเลือกบริโภคอาหารควบคู่ไปกับกิจกรรมการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยาน

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 150 นาทีต่อสัปดาห์ร้อยละ 100
2.ประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมทางกายด้วยกิจกรรมการปั่นเป็นการออกกำลังกายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50 คน
3.ผลการประเมินความพึงพอใจของประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีผลการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 70

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมคณะทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในการดำเนินการจัดทำโครงการ 2.2. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการอนุมัติงบประมาณ 3.3. กิจกรรมโดยการอบรมจากวิทยากรเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันและการบริโภคที่เหมาะสม 4. 3.1 กิจกรรมทางกายให้กับคนในชุมชน โดยการปั่นจักรยานในทุกเดือน 5. 3.2. กิจกรรมเรียนรู้ฐานเรียนรู้ในชุมชมชนของแต่ละหมู่บ้าน 6.4. ดำเนินงานตามโครงการที่ได้รับการอนุมัติ 7.5.ติดตามประเมิลผลการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่มเป้าหมาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นผ่านเกณฑ์มาตรฐาน150นาที ต่อสัปดาห์ร้อยเปอร์เซ็นต์ 2.มีจำนวนประชาชนในพื้นที่ตำบลแพรกหาที่มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 3.คนในชุมชนมีกิจกรรมร่วมกันสร้างความสัมพันธ์อันดีของคนในชุมชน 4.คนในชุมชนมีจิตสำนึกในการรักสุขภาพและออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยายเป็นกิจวัตรประจำวัน 5.คนในชุมชนไดรู้จักเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพพร้อมกับการออกกำลังกายด้วยการปั่นจักรยานเพื่อเผาผลาญแคลอรี่ที่ได้ผลดียิ่งขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2561 11:46 น.