กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าแก่บ่อหิน


“ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน ”

ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

หัวหน้าโครงการ
นายฟอง เพชรพูล

ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน

ที่อยู่ ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L5295-2-03 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2561


กิตติกรรมประกาศ

"ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสตูล" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลป่าแก่บ่อหิน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ป่าแก่บ่อหิน ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ข้อที่ 1. เพื่อประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน (2) ข้อที่ 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่เศร้า กินข้าวอร่อย” (3) ข้อที่ 3.ผู้สูงอายุในชุมชนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมโดยแกนนำผู้สูงอายุ เดือนละ1ครั้ง (สัญจร) (2) คัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแบบคัดกรองผู้สูงอายุ (3) กิจกรรมผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่เศร้า กินข้าวอร่อย” (4) กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ โดย พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุเดือนละ1ครั้ง (5) กิจกรรมการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยแกนนำผู้สูงอายุ/อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน(CG)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...ควรมีการจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมีประชากรผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นทุกปี มีอายุยืนยาวขึ้น แต่กลับพบว่าผู้สูงอายุต้องเผชิญกับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังและตกอยู่ในภาวะทุพพลภาพเพิ่มขึ้น โดยพบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพียงร้อยละ 26 เท่านั้น และร้อยละ 95 ของผู้สูงอายุจะมีปัญหาสุขภาพ โดยมีการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ภาวะสมองเสื่อม ข้อเสื่อมและซึมเศร้า หากปล่อยไว้ให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว รวมถึงภาครัฐที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องมีการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ชมรมผู้สูงอายุตำบลป่าแก่บ่อหิน เป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุ เนื่องจากมีความใกล้ชิด เข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ รวมถึงสามารถเข้าถึงและพัฒนาผู้สูงอายุในตำบลได้ดี สำหรับชมรมผู้สูงอายุตำบลป่าแก่บ่อหิน เป็นชมรมผู้สูงอายุที่ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2555 ปัจจุบันมีผู้สูงอายุจำนวน 425 คน เป็นสมาชิกชมรมทั้งสิ้น 246 คน ซึ่งปัจจุบันมีกิจกรรมที่ดำเนินมาแล้ว ได้แก่ การเข้าฌาปนกิจของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ กิจกรรมการเยี่ยมผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียง กิจกรรมการออกกำลังกาย กิจกรรมในโรงเรียนผู้สูงอายุ และกิจกรรมเกี่ยวกับการช่วยสังคม สิ่งแวดล้อมของตำบลป่าแก่บ่อหิน ซึ่งในการดำเนินงานที่ผ่านมา ยังมีปัญหาอุปสรรค และต้องการการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชมรมผู้สูงอายุ การเข้าร่วมกิจกรรมและเข้าเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุของผู้สูงอายุที่มีมากขึ้น รวมถึงการได้รับการดูแลสุขภาพครอบคลุมผู้สูงอายุทั้งตำบลให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ชมรมผู้สูงอายุตำบลป่าแก่บ่อหิน เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ สร้างความเข้มแข็งแก่ชมรมผู้สูงอายุ พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น สนับสนุนการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. ข้อที่ 1. เพื่อประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
  2. ข้อที่ 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่เศร้า กินข้าวอร่อย”
  3. ข้อที่ 3.ผู้สูงอายุในชุมชนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุ

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมโดยแกนนำผู้สูงอายุ เดือนละ1ครั้ง (สัญจร)
  2. คัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแบบคัดกรองผู้สูงอายุ
  3. กิจกรรมผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่เศร้า กินข้าวอร่อย”
  4. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ โดย พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุเดือนละ1ครั้ง
  5. กิจกรรมการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยแกนนำผู้สูงอายุ/อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน(CG)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 425
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชมรมผู้สูงอายุตำบลป่าแก่บ่อหินมีความเข้มแข็ง สามารถเป็นกลไกในการบริหารจัดการในกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนได้ตามบริบทของพื้นที่ 2.ตำบลป่าแก่บ่อหินมีผู้สูงอายุที่เป็นต้นแบบการทีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสมกับวัยสูงอายุ 3.มีผู้สูงอายุเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุมากขึ้น 4.มีผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีจำนวนมากกว่าร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุทั้งตำบล 5.ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ได้รับการดูแลสุขภาพอย่างเท่าทันและทั่วถึง


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมโดยแกนนำผู้สูงอายุ เดือนละ1ครั้ง (สัญจร)

วันที่ 1 มิถุนายน 2561 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมแะลกำหนดการการลงสัญจรออกกำลังกายในแตะละหมู่บ้าน
  2. ประเมินผลกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีผู้สูงอายุและกลุ่มประชาชนทั่วไปให้ความสนใจ เข้าร่วมกิจกรรมการออกกำลังกายในชุมชน

 

200 0

2. คัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแบบคัดกรองผู้สูงอายุ

วันที่ 1 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชาสัมพันธ์ การตรวจคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน คิดเป็นร้อยละ 80

 

425 0

3. กิจกรรมผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่เศร้า กินข้าวอร่อย”

วันที่ 10 กรกฎาคม 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เตรียมการจัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียยนรู้ ประชาสัมพันธ์ผู้สูงอายุให้เขข้าร่วมกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 150 คน

 

200 0

4. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ โดย พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุเดือนละ1ครั้ง

วันที่ 1 สิงหาคม 2561 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพจิตแก่ผู็สูงอายุและผู้ดูแล

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้สูงอายุได้รับการประเมินสุขภาพจิต

 

200 0

5. กิจกรรมการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยแกนนำผู้สูงอายุ/อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน(CG)

วันที่ 1 กันยายน 2561 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทีมออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่ติดบ้าน ติดเตียงโดยแกนนำ อาสาดูแลผู้สูงอายุ คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ

 

10 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. มีกิจกรรมการให้ความรู้มในเรื่องภาวะสุขภาพและการดูลตัวเองของผู้สูงอายุ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้สูงอายุ
  2. กิจกรรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ได้แก่ โนราบิก ไทเก็ก เป็นต้น
  3. มีการยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในพื้นที่โดยแกนนำและคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขฯ
  4. ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองสุขภาพ มากกว่าร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุทั้งหมด (จำนวน 425 คน)
  5. ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น จำนวน 150 คน จากจำนวน 425 คน คิดเป้นร้อยละ 35.29

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 ข้อที่ 1. เพื่อประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละของผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 ของจำนวนผู้สูงอายุในชุมชน
200.00 80.00

 

2 ข้อที่ 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่เศร้า กินข้าวอร่อย”
ตัวชี้วัด : 1.ผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม มากกว่าร้อยละ 60 ของผู้สูงอายุทั้งหมด
120.00 150.00

มาเข้าร่วม 150 คน คิดเป็นร้อยละ 35.29 จากจำนวนผู้สูงอายุ 425 คน

3 ข้อที่ 3.ผู้สูงอายุในชุมชนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุ
ตัวชี้วัด : 1.ร้อยละของผู้สูงอายุที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุตำบล ป่าแก่บ่อหิน 2.ผู้สูงอายุเป็นต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสมในทุกหมู่บ้าน
50.00 57.88

มีผู้สูงอายุเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ จำนวน 246 คน จากจำนวน 425 คนคิดเป็นร้อยละ 57.88

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 425 150
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ 425 246
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 0
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ข้อที่ 1. เพื่อประเมินคัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน (2) ข้อที่ 2.เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่เศร้า กินข้าวอร่อย” (3) ข้อที่ 3.ผู้สูงอายุในชุมชนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับวัยผู้สูงอายุ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมการส่งเสริมการออกกำลังกายที่เหมาะสมโดยแกนนำผู้สูงอายุ เดือนละ1ครั้ง (สัญจร) (2) คัดกรองภาวะสุขภาพผู้สูงอายุด้วยแบบคัดกรองผู้สูงอายุ (3) กิจกรรมผู้สูงอายุได้รับการส่งเสริมสุขภาพ “ไม่ล้ม ไม่ลืม ไม่เศร้า กินข้าวอร่อย” (4) กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตผู้สูงอายุ โดย พยาบาลผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตผู้สูงอายุเดือนละ1ครั้ง (5) กิจกรรมการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยแกนนำผู้สูงอายุ/อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน(CG)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...ควรมีการจัดกิจกรรมดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการแก่ผู้สูงอายุในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัด สตูล

รหัสโครงการ 61-L5295-2-03

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายฟอง เพชรพูล )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด