กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์
รหัสโครงการ 61-L4127-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 มิถุนายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 32,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันต์เดะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวนูรีซันหะยีหะเด็ง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนหญิงคลอดได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด(คน)
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สุขภาพช่องปากเป็นส่วนหนึ่งของการมีสุขภาพดี ช่วยเสริมคุณภาพชีวิต เพราะปัญหาสุขภาพช่องปากจะส่งผลต่อระบบอื่นๆของร่างกาย ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้สมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันแนวคิดการดูแลสุขภาพช่องปาก มิใช่การกำจัดโรคอย่างเดียวเท่านั้น แต่จะต้องดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีตั้งแต่แรกเริ่มและคงสภาพที่ดีไว้ นั่นคือ ให้ความสำคัญในการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในช่องปาก มุ่งเน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอนามัย โดยเฉพาะพฤติกรรมการทำความสะอาดช่องปากและพฤติกรรมการบริโภคอันเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดโรคฟันผุ
การตั้งครรภ์เป็นการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย หญิงมีครรภ์ จะประสบกับปัญหาโรคในช่องปาก มากกว่าหญิงปกติ สาเหตุก็สืบเนื่องมาจาก ผลของการตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย และอารมณ์ เช่น อาการอาเจียน อันเนื่องจากการแพ้ท้อง การรับประทานอาหารจุกจิก ไม่เป็นเวลา ตลอดจนไม่สามารถรักษาสุขภาพช่องปาก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัญหาโรคเหงือกอักเสบพบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนส่งผลให้เหงือกและเนื้อเยื่ออ่อนต่างๆ ที่รองรับฟันอ่อนแอ อาการแพ้ท้อง อาเจียนบ่อย และการดูแลอนามัยช่องปากที่ไม่ดี ทำให้หญิงตั้งครรภ์เกิดโรคฟันผุได้ เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพช่องปากและสุขภาพทั่วไปต่อตัวมารดาและลูกที่จะเกิดมาจากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา พบว่าร้อยละ ร้อยละ 89.5 มีฟันผุโดยค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด 7.56 ซี่ต่อคนร้อยละ 82.3 มีภาวะโรคเหงือกอักเสบ และร้อยละ 86.3 มีสภาวะอนามัยในช่องปาก อยู่ในเกณฑ์ไม่ดี
การให้ทันตสุขศึกษาที่ถูกต้องและเหมาะสมจากทันตบุคลากรที่ให้บริการดังกล่าว จะเป็นผลดีให้หญิงตั้งครรภ์ได้ตระหนักถึง ความสำคัญของการดูแลทันตสุขภาพ ของตนเอง และบุตรแล้ว ก็จะเป็นการช่วยอีกแนวทางหนึ่ง ที่จะทำให้อนาคต อัตราการเกิดโรคในช่องปากของเด็กจะลดลง รวมทั้งสุขภาพในช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ ก็ดีขึ้นด้วยนับว่าเป็นวิธีการป้องกันโรคในระดับปฐมภูมิ (Primary Prevention)ที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด เนื่องจากเป็นการป้องกันก่อนระยะทีโรคและความผิดปกติจะเกิดขึ้น นับว่าเป็นวิธีการป้องกันที่ได้ผลที่คุ้มค่ามากที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปาก

มีแบบบันทึกการตรวจฟัน พร้อมนัดทำการรักษาเท่าที่จำเป็น ในไตรมาศที่ 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน)

1.00
2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของตัวเองและลูก

ทดสอบความรู้ก่อนและหลังการอบรม

1.00
3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการฝึกแปรงฟันอย่างมีอย่างถูกวิธี

สังเกตการแปรงฟันตามขั้นตอน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

ขั้นเตรียมการ
๑. ประชุมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน ๒. สำรวจปัญหาทันตสุขภาพ
๓. เขียนโครงการ กำหนดรายละเอียดแผนงาน และการดำเนินงาน ๔. ประสานงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุข และภาคีที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามโครงการและแผนงาน ๕. จัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ จัดเตรียมอุปกรณ์ในการดำเนินงาน
๖. ประชุมเตรียมการดำเนินงาน และกำหนดแผนการดำเนินงาน
ขั้นดำเนินงาน
๑. ทบทวนและจัดทำแนวทางการส่งเสริมทันตสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ ๒. ตรวจประเมินสุขภาพช่องปากและให้ทันตสุขศึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์
๓.จัดอบรมให้แก่หญิงตั้งครรภ์ เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิด
๔. ให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับการย้อมสีฟันและฝึกแปรงฟันจริง
๕. สร้างกระแสในชุมชน ด้วยการค้นหาต้นแบบหญิงตั้งครรภ์สุขภาพช่องปากดี หลังดำเนินงาน -ประเมินผลโครงการ -สรุปผลโครงการ -นำเสนอผลการดำเนิน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและลูก ๒. กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจประเมินสุขภาพช่องปากทุกคน
๓. กลุมเป้าหมายสามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองกับลูกได้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ