กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ลดการเกิดโรคแทรกซ้อน
รหัสโครงการ 61-L4127-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ
วันที่อนุมัติ 3 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 19,500.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสันต์เดะแอ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวซารีฟาห์กะแวมือแน
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
1.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
1.00
3 ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโรคเบาหวาน(DM)และโรคความดันโลหิตสูง (HT) เป็นภัย เงียบที่ส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน ทำให้เกิดความพิการและตายก่อนวัยอันควร การเกิดโรคมีสาเหตุจากหลายปัจจัยเสี่ยงที่มาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม ขาดการออกกำลังกาย และนำไปสู่การเจ็บป่วยแทรกซ้อนที่สำคัญ อาทิ โรคจอประสาทตาเสื่อม โรคไตวายเรื้อรัง (CKD)โรคหัวใจและหลอดเลือด(CVD) แผลเรื้อรัง การถูกตัดขา ตัดนิ้ว เป็นต้น ความเจ็บป่วยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยตลอดจนค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขโดยรวม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนและระดมพลังทั้งสังคมเพื่อแก้ไขและขจัดปัญหาดังกล่าวผ่านกระบวนการทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทยพ.ศ2554-2563 ซึ่งเป็นแผนระดับชาติเพื่อใช้เป็นกรอบชี้ทิศทางการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติการอย่างบูรณาการเป็นเอกภาพด้วยการรวมพลังขับเคลื่อนจากทุกภาคส่วนประชาชนมีศักยภาพในการจัดการปัจจัยเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อโรควิถีชีวิตเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ที่ลดเสี่ยงลดโรคลดภาวะแทรกซ้อน ลดการพิการ ลดความตาย และลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งระดับบุคคล ครอบครัวชุมชนสังคมสังคมสุขภาวะบนพื้นฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ ได้ดำเนินตามนโยบายสาธารณสุข จัดให้มีการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ ตำบลบาเจาะ หมู่บ้านในปี 2559 มีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด 432 รายมีภาวะโรคแทรกซ้อน 18 รายควบคุมโรคได้ 108 คนคิดเป็นร้อยละ25.00 โรคเบาหวาน131 รายมีภาวะแทรกซ้อน 5 ราย ควบคุมโรคได้ 24 คนคิดเป็นร้อยละ18.32จะเห็นได้ว่ามีการควบคุมโรคได้น้อย เพื่อให้มีการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในคลินิกโรคเรื้อรังและพื้นที่รับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ เป็นแบบองค์รวม และเกิดการบูรณาการให้ผู้ป่วยและญาติดูแลตนเองได้ สามารถควบคุมภาวะอาการของโรคได้ และลดการตายจากภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบาเจาะ จึงขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันในคลินิกโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อนวัตกรรมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

มีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อนวัตกรรมเพื่อให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับความรู้

1.00
2 เพื่อดูแลสุขภาพผู้ป่วยแบบองค์รวมโดยการอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง

มีการจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้และตรวจภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

1.00
3 เพื่อออกดูแลและเยี่ยมผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านพร้อมทั้งให้ความรู้

มีการออกเยี่ยมดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับบริการที่บ้านและให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจง รายละเอียดโครงการ แก่เจ้าหน้าที่สาธารณสุขผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุข 2.ร่วมกับผู้นำท้องถิ่น และอาสาสมัครสาธารณสุขสำรวจประชากรกลุ่มเป้าหมายที่ไม่ได้มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ หมู่ที่ 1,2,3,4,5 3.จัดกิจกรรมในคลินิกโรคเรื้อรัง ได้แก่ การให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตรวจเฝ้าระวังการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเรื้อรังเบาหวาน และความดันโลหิตสูง 4.ผู้ป่วยโรคเรื้อรังต้องได้รับการตรวจคัดกรองโรคแทรกซ้อน 5.การดูแลเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับบริการในคลินิกโรคเรื้อรัง และผู้ป่วยที่ควบคุมอาการของโรคไม่ได้ 6.จัดทำสื่อสำหรับให้ความรู้เกี่ยวกับโรคเรื้อรัง 7.สรุปและประเมินผลโครงการ รายงานผลต่อกองทุนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลบาเจาะ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มป่วยได้รับการอบรมความรู้การดูแลตนเองและได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนประจำปี
  2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ได้มารับบริการได้รับการเยี่ยมบ้านและให้ความรู้ในการดูแลสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ