โครงการนำร่องดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการแพทย์ผสมผสาน ปี 2560
ชื่อโครงการ | โครงการนำร่องดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยการแพทย์ผสมผสาน ปี 2560 |
รหัสโครงการ | 60-50105-02-21 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุตำบลชะมวง |
วันที่อนุมัติ | 20 มกราคม 2560 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มีนาคม 2560 - 30 กันยายน 2560 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 12,390.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ประธานชมรมผู้สูงอายุตำบลชะมวง |
พี่เลี้ยงโครงการ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.765,99.956place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 33 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลประชากรของประเทศไทยปี 2556 ประชากรไทยมีจำนวน 64.6 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุมากถึง 9.6 ล้านคน คาดว่าในปี 2573 จะมีจำนวนผู้สูงอายุ 17.6 ล้านคน (ร้อยละ 26.3) และ ปี 2583 จะมีจำนวนถึง 20.5 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ได้ร่วมกันดำเนินงานเพื่อคุ้มครอง ส่งเสริม และสนับสนุนสถานภาพ บทบาท และกิจกรรมของผู้สูงอายุจากการประเมินสภาวะสุขภาพ พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีอายุยืนยาวขึ้น แต่ก็ต้องเผชิญกับปัญหาสุขภาพเพิ่มขึ้นด้วย จากการศึกษาภาวะสุขภาพผู้สูงอายุไทย พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาปวดข้อเข่า ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง คือ ร้อยละ 43.95 ส่วนใหญ่อาการปวดข้อเข่ามีสาเหตุมาจาก ข้อเข่าเสื่อม ปัญหาปวดข้อเข่าทำให้ผู้สูงอายุ เกิดความ ยากลำบากในการเคลื่อนไหว ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของ ผู้สูงอายุลดลงเป็นอุปสรรคในการ เข้าสังคม ทำ ให้สูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาจำนวนมาก และส่งผล ต่อร่างกายจากการใช้ยาแก้ปวดหรือวิธีการจัดการอาการ ปวดที่ไม่เหมาะสม ความเจ็บปวดส่งผลให้ผู้สูงอายุ ต้องหาวิธีการที่จะจัดการกับอาการโดยการซื้อยากินเอง ถึงร้อยละ 3.9 ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ เช่น ระคายเคืองเยื่อบุกระเพาะอาหาร อาจมีอาการปวด ท้องและเลือดออกได้ อาการปวดข้อเข่าสามารถที่จะ บรรเทาได้โดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด เช่น การบริหารแบบ ไทยท่าฤๅษีดัดตนที่จะช่วยชะลอความเสื่อมของผู้สูงอายุ การออกกำลังกายหรือการบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่า มีผล ในการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ เพิ่มความสามารถในการเดิน และลดความเจ็บปวด ลงได้ผู้สูงอายุเมื่อมีอาการปวด จะไม่ขยับข้อข้างที่ปวด ส่งผลให้ไม่ออกกำลังกายหรือ บริหารกล้ามเนื้อรอบข้ออาการปวดหรือความ รุนแรงของโรคก็จะมีผลต่อความสามารถของผู้สูงอายุ ด้วย ดังนั้นชมรมผู้สูงอายุตำบลชะมวงจึงเห็นความสำคัญของการใช้ศาสตร์แพทย์ทางเลือกผสมผสานกับการบริหารข้อเข่าบรรเทาอาการปวดโดยไม่ต้องใช้ยาแก้ปวด การบริหารที่ถูกต้องมีผลในการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อ เพิ่มความสามารถในการเดินลดจำนวนผู้สูงอายุติดบ้านลงได้ด้วยทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวผู้สูงอายุเอง และจิตอาสาที่จะมาให้บริการแก่ผู้มีปัญหาข้อเข่าเสื่อมเป็นการนำร่องหากได้รับความร่วมมือด้วยดีผู้สูงอายุพึงพอใจจะได้นำไปเสนอโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเพื่อขยายผลไปในกลุ่มอื่นๆในโอกาสต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อมรวมไปถึงการรักษาหรือการดูแลตนเองเบื้องต้นที่ถูกต้อง ผู้สูงอายุจำนวน 30 คน ได้รับบำบัดด้วยการแพทย์ผสมผสาน |
||
2 | เพื่อป้องกันหรือชะลอความรุนแรงของโรคข้อเสื่อม
|
||
3 | เพื่อส่งเสริมการใช้สมุนไพรไทยในการบำบัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
|
||
4 | ให้ผู้สูงอายุที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้รับการดูแลด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ประสานเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนน พร้อมชี้แจง อสม. เพื่อค้นหาภาวะข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุตามแบบคัดกรอง
- จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติโครงการ
- ประชาสัมพันธ์โครงการเชิญชวนผู้สูงอายุเข้าร่วมกิจกรรม ตามวัน เวลา ที่กำหนด
- รับสมัครจิตอาสาเข้าร่วมดูแลผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมบำบัดรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม จำนวน ๓ คน
- ให้ความรู้เรื่องโรคและคำแนะนำที่สอดคล้องกับสภาวะผู้ป่วย เรื่องการควบคุมน้ำหนัก
การรับประทานยา การฝึกทักษะปฏิบัติการบริหารกล้ามเนื้อข้อเข่า - ให้บริการพอกข้อเข่าด้วยสมุนไพร ให้การดูแลต่อเนื่อง สัปดาห์ละครั้ง ติดต่อกัน ๓ สัปดาห์
- ส่งต่อ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหัวถนนในรายที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมรุนแรง ให้การบำบัดแล้วไม่ดีขึ้น
- สรุปผลการดำเนินงาน
- รายงานผลการดำเนินงาน
- ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองเพื่อชะลอข้อเข่าเสื่อม
- ผู้สูงอายุได้รับบริการบำบัดรักษาด้วยแพทย์ทางเลือก
- ผู้รับบริการมีความพึงพอใจบรรเทาความเจ็บปวดจากภาวะปวดเข่าสามารถใช้ชีวิตอย่างปกติสุข
- เกิดความมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.พ. 2560 10:08 น.