โครงการป้องกันทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียนและส่งเสริมโภชนาการสมวัยโรงเรียนวัดบางศาลา
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียนและส่งเสริมโภชนาการสมวัยโรงเรียนวัดบางศาลา |
รหัสโครงการ | 61-L5159-2-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | |
วันที่อนุมัติ | 8 มิถุนายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 11 มิถุนายน 2561 - 28 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2561 |
งบประมาณ | 87,343.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวจุรีรัตน์รัตนเหม ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดบางศาลา |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวอารีย์สุวรรณชาตรี |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งลาน อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.886,100.442place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 11 มิ.ย. 2561 | 28 ก.ย. 2561 | 87,343.00 | |||
รวมงบประมาณ | 87,343.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 80 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การพัฒนาชาติที่สำคัญคือ การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ตลอดจนมีความสามารถในการเรียนรู้ เพื่อให้มีศักยภาพสูงสุดอันเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน อันดับแรกของการพัฒนาคน คือการพัฒนาด้านสุขภาพอนามัย เพราะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม สติปัญญา ตลอดจนคุณธรรมและจริยธรรมของเด็ก อาหารนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์โดยเฉพาะช่วงเด็กวัยเรียน อาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยเรียน ได้แก่ อาหาร 3 มื้อ ที่มีสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 ได้แก่ 1.คาร์โบไฮเดรต 2.โปรตีน 3.ไขมัน 4.วิตามิน และ 5.เกลือแร่ ร่วมกับมีนมเป็นอาหารเสริมขนาดแก้วละ 240-250 ซีซี วันละ 2-3 แก้วมีความสำคัญมาก เพราะจะเป็นแหล่งของสารอาหารและพลังงานหลักสำหรับการทำกิจกรรมระหว่างวันของเด็ก เด็กอายุระหว่าง 6-10 ปี จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 3-3.5 กิโลกรัมมวนสูงเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 6-7 ซม.ต่อปี ส่วนเด็กหลังอายุ 10 ปีไปแล้ว ควรมีน้ำหนักตัวเหมาะสมกับส่วนสูง โดยคำนวณจาก ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกก.)/ส่วนสูง (ยกกำลังสอง)(หน่วยเป็นเมตร) อยู่ระหว่าง 18.5-23.0 กก./ม. (ยกกำลังสอง)
การจัดและควบคุมให้เด็กรับประทานอาหารอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกายทั้งปริมาณ และคุณค่าทางโภชนาการ เพื่อควบคุมให้เด็กมีน้ำหนักตัวอย่างเหมาะสม จะส่งผลดีต่อพัฒนาการทางร่างกาย ตลอดจนถึงสมองและการเรียนรู้ของเด็ก เป็นการป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังในวัยเด็กและเมื่อเติบโตขึ้นได้ ที่สำคัญ เด็กในวัยเรียนควรเน้นให้เด็กได้รับประทานอาหารอย่างเพียงพอ ทั้งปริมาณและสารอาหารเพื่อเป็นแหล่งของสารอาหารและพลังงานอย่างเพียงพอ ต่อการปฏิบัติภารกิจประจำวันของเด็กในวัยนี้ ครูและโรงเรียนต้องเป็นแบบอย่างที่ดี
ในปีการศึกษา ๒๕๖๑จากการวิเคราะห์ข้อมูลโรงเรียนวัดบางศาลามีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น ๑๓๐ คน พบว่ามีปัญหา ทุพโภชนาการ โดยเป็น เด็กผอม ๓๑ คน เด็กเตี้ย จำนวน ๗ คน รวมนักเรียนทีมีภาวะโภชนาการต่ำ จำนวน ๓๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๒๙.๒๓และยังมีนักเรียนอีกส่วนเป็น เด็กอ้วน จำนวน ๒๙ คน คน คิดเป็น ร้อยละ ๒๒.๓๑ ที่เหลือนักเรียนสมส่วนจำนวน ๔๘.๔๖ คนเมื่อสอบถามสภาพการรับประทานอาหารของนักเรียน พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ผู้ปกครองประกอบอาชีพรับจ้าง การใช้ชีวิตที่เร่งรีบของผู้ปกครองและเด็กนักเรียน ทำให้อาหารเช้ากลับกลายเป็นอาหารมื้อที่ถูกละเลยมากที่สุด เนื่องจากผู้ปกครองส่วนใหญ่รีบไปทำงาน มื้อเช้าของเด็กๆคือขนม จากร้านในหมู่บ้าน จำพวกขนมกรุบกรอบ ข้าวเหนียวไก่ทอด ข้าวเหนียวหมูลูกชิ้น ไส้กรอกซึ่งไม่มีประโยชน์ และไม่เหมาะสำหรับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโต ทำให้มีเด็กมีปัญหาเรื่องภาวะโภชนาการที่ไม่สมวัย เด็กขาดธาตุเหล็ก เนื่องจากไมได้ทานข้าวซึ่งทำให้เด็กขาดอาหารสำคัญมื้อแรก ส่งผลต่อการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ของเด็กนักเรียน จากปัญหาดังกล่าวโรงเรียนวัดบางศาลาเห็นความสำคัญในเรื่องของสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของเด็กทุกคน ให้สามารถมีคุณภาพที่ดี การสร้างความตระหนักให้ผู้ปกครองดูแลนักเรียนให้ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์สร้างตัวอย่างที่ดีในการรับประทานอาหารที่ปลอดภัย ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะเสริมสร้างความยั่งยืนในการเสริมสร้างสุขนิสัยการกินอย่างเหมาะสม
โรงเรียนวัดบางศาลา จึงจัดทำโครงการป้องกันทุพโภชนาการในเด็กวัยเรียนและส่งเสริมโภชนาการสมวัยโรงเรียนวัดบางศาลาเพื่อแก้ปัญหาทุพโภชนาการในเด็ก ให้เด็กนักเรียนได้รับประทานอาหารปลอดภัย สร้างสุขนิสัยการรับประทานอาหารทีถูกต้อง มีสารอาหารครบทุกหมู่เพื่อสุขภาพและร่างกายเจริญเติบโตสมวัย มีสมาธิเกิดความพร้อมในการเรียนรู้ สู่การเป็นเด็กที่มีสติปัญญาฉลาดสมวัย ต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง2.นักเรียนโรงเรียนวัดบางศาลามีภาวะโภชนาการสมวัย 3.ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดบางศาลามีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก สามารถจัดเมนูอาหารให้บุตรหลานของตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม นักเรียนโรงเรียนวัดบางศาลาได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องร้อยละ 90 / นักเรียนโรงเรียนวัดบางศาลา ภาวะโภชนาการสมวัย ร้อยละ ๙๐เด็กอ้วนลดลง ร้อยละ ๖๐ / ผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนวัดบางศาลามีความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนาการเด็ก สามารถจัดเมนูอาหารให้บุตรหลานของตนเองได้ถูกต้องเหมาะสม ร้อยละ ๑๐๐ |
15.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 87,343.00 | 9 | 87,343.00 | 0.00 | |
14 มิ.ย. 61 | ประชุมคณะทำงาน | 0 | 1,400.00 | ✔ | 1,400.00 | 0.00 | |
14 มิ.ย. 61 - 28 ก.ย. 61 | ติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ | 0 | 2,000.00 | ✔ | 2,000.00 | 0.00 | |
14 มิ.ย. 61 - 28 ก.ย. 61 | ประเมินน้ำหนัก ส่วนสูง พัฒนาการของเด็ก | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
15 - 20 มิ.ย. 61 | จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการสมวัยและสาธิตเมนูอาหาร | 0 | 9,600.00 | ✔ | 9,600.00 | 0.00 | |
18 มิ.ย. 61 - 21 ก.ย. 61 | จัดบริการส่งเสริมสุขภาพ โดยจัดอาหารเช้าเมนูสุขภาพ | 0 | 54,568.00 | ✔ | 54,568.00 | 0.00 | |
18 - 30 มิ.ย. 61 | ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย | 0 | 1,400.00 | ✔ | 1,400.00 | 0.00 | |
1 - 31 ก.ค. 61 | ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
7 ก.ค. 61 - 7 มิ.ย. 61 | จัดทำแปลงสาธิตแหล่งเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนในรูปแบบสวนผักคนเมือง | 0 | 15,750.00 | ✔ | 15,750.00 | 0.00 | |
25 ก.ย. 61 | จัดเวทีประชุมคืนข้อมูลด้านสุขภาพ ภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดบางศาลา ให้กับผู้ปกครอง | 0 | 2,625.00 | ✔ | 2,625.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 87,343.00 | 9 | 87,343.00 | 0.00 |
ก่อนดำเนินโครงการ
๑. ประชุมคณะทำงาน จำนวน .....๑.....ครั้งโดยมีตัวแทนผู้ปกครอง ๑๐คนครู ๑๑ คนตัวแทนเจ้าหน้าที่รพ.สต.ตัวแทนเจ้าหน้าที่กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งลาน จำนวน ๒ คนเพื่อเป็นกลไกทีมทำงานในการติดตามผลการดำเนินงานโครงการ รวมทั้งหมด จำนวน.....๒๓.......คน
๒. ติดตามเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ โดยการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงเดือนละ 1ครั้ง เพื่อติดตามและประเมินผลสุขภาพนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ และน้ำหนักเกิน
๓. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโภชนาการสมวัยและสาธิตเมนูอาหาร จำนวน....1.......ครั้ง ให้กับผู้ปกครองของกลุ่มเด็กที่มีภาวะโภชนาการต่ำ จำนวน ๓๘ คน และกลุ่มผู้ปกครองที่นักเรียนรับประทานอาหารไม่ถูกต้องสุ่มเสี่ยงเป็นโรคอ้วนจำนวน ๒๙ คน ครู จำนวน ๑๓คน รวม ๘๐ คน
๔. จัดทำแปลงสาธิตแหล่งเรียนรู้การปลูกผักปลอดสารพิษในโรงเรียนในรูปแบบสวนผักคนเมืองโดยใช้วัสดุ อุปกรณ์ เช่น ล้อยางรถยนต์ วัสดุเหลือใช้ และส่งเสริมในชุมชนจำนวน...๗๕.ครัวเรือนที่เป็นผู้ปกครองเด็กนักเรียน กลุ่มเป้าหมายแต่ละครัวเรือนเป็นผู้ปกครอง ๑ คน นักเรียน ๑ คน หมายเหตุ ผลผลิตผักที่ปลูกสามารถส่งต่อทำเป็นมื้ออาหารให้กับนักเรียนและมอบให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่
๕ จัดบริการส่งเสริมสุขภาพ โดยจัดอาหารเช้าเมนูสุขภาพและเสริมยาน้ำธาตุเหล็ก ไอโดดีน ให้นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการต่ำ ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เป็นจำนวน ๗o วัน
๖. ลงพื้นที่เยี่ยมบ้าน เก็บข้อมูลด้านสุขภาวะ สุขาภิบาล และแปลงผัก ในระดับครอบครัวของนักเรียน โดยตัวแทนครูที่ลงเยี่ยม
๗ ส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
-ออกกำลังกายโดยการเต้นแอโรบิค โดยให้วิทยากรนำเต้น จำนวน 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นให้มีการนำเต้นกันเอง ซึ่งนักเรียนต้องออกกำลังกายในตอนเช้าก่อนเคารพธงชาติ และหลังเลิกเรียนตลอดระยะเวลาโครงการ
-กิจกรรมปลูกผัก สวนผักในโรงเรียน ตลอดระยะโครงการ โดยนักเรียนร่วมกันปลูกผักในรูปแบบอินทรีย์ (ใช้ปุ๋ยคอก ขี้ไก่ เป็นต้น )
หลังดำเนินโครงการ
๑.ประเมินน้ำหนักส่วนสูง พัฒนาการของเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดบางศาลา และจัดทำข้อมูลสมุดบันทึกสุขภาพนักเรียน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการดำเนินโครงการ
๒.จัดเวทีประชุมคืนข้อมูลด้านสุขภาพ ภาวะโภชนาการของเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดบางศาลา ให้กับผู้ปกครอง ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
๓..สรุปและรายงานผลการจัดกิจกรรม / โครงการ
- ผู้ปกครองนักเรียนมีความรู้เรื่องโภชนาการ สามารถจัดการอาหารให้นักเรียนรับประทานได้อย่างเหมาะสม ร้อยละ 100
- นักเรียนโรงเรียนวัดบางศาลามี น้ำหนัก ส่วนสูงตามเกณฑ์ มาตรฐานร้อยละ 90
- นักเรียนโรงเรียนวัดบางศาลา มีพัฒนาการสมวัยร้อยละ 90
4.นักเรียนโรงเรียนวัดบางศาลาได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้องร้อยละ 90 ๕. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง สามารถปลูกผักปลอดสารพิษรับประทานเองได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2561 08:29 น.