โครงการเหาตายสบายศีรษะ ตำบลมูโนะ ปีงบประมาณ 2561
ชื่อโครงการ | โครงการเหาตายสบายศีรษะ ตำบลมูโนะ ปีงบประมาณ 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L2537-01-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมูโนะ |
วันที่อนุมัติ | 1 มิถุนายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มิถุนายน 2561 - 1 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 46,200.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายพลสันต์ อักษรนิตย์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหง-โกลก จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.108,102.052place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
เหา หรือ Louse เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่เป็นปรสิต (Parasite) ต้องอาศัยบนร่างกายคนหรือสัตว์ และดำรงชีวิตโดยการดูดเลือดเป็นอาหารสามารถแพร่กระจายจากคนหนึ่งไปสู่คนหนึ่งได้โดยการอยู่ใกล้ชิดกัน อาการหลัก คือ อาการคัน ส่วนปัยกาสำคัญของผู้เป็นเหาคือ อาจกลายเป็นที่รังเกียจของคนสังคม การติดเหา สามารถเกิดขึ้นได้ในคนทุกเชื้อชาติ โดยทั่วโลกพบผู้ที่เป็นเหามากกว่่าร้อยล้านคนต่อปี และพบอัตราการเป็นเหาทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและในประเทศด้อยพัฒนาไม่แตกต่างกันนัก โดย เหาที่ศีรษะ (Pediculushumonuscapitsi หรือPediculosiscapitis) พบได้ในคนทุกระดับตั้งแต่ฐานะยากจน กระทั่งฐานะร่ำรวย และมักพบในวัยเด็ก การเป็นเหาในเด็กนักเรียนนับว่าเป็นปัญหาสำคัญสำหรับประเทศไทย เนื่องจากอาการหลักคืออาการคันที่ศีราะ ซึ่งเกิดจากร่างกายมีปฏิกิริยาต่อการกัดของเหาที่หนังศีรษะเวลาดูดเลือด และจะคันมากในช่วงกลางคืน เพราะเหามักดูดเลือดในช่วงนี้ ทำให้เด็กมีปัญหานอนหลับไม่สนิท และอาจส่งผลต่อการเจริญเติบดตและการเรียนรู้ได้นอกจากนี้การเกาหนังศีรษะอย่างมากอาจทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อเรื้อรังได้ และตัวเหายังเป็นพาหะนำโรคได้หลายโรค เช่น ไข้รากสาดใใหญ่ชนิด Epidemic typhus โรคไข้เทรนซ์ (Trench Fever) และโรคไข้กลับ (Relapsing fever) เป็นตัวการรักษาเหาสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาเบนซิลเบนโซเอต 25 % การใช้ยาน้ำแขวนตะกอนสีขาวขุ่นและการใช้สมุนไพรรักษา เช่น เมล็ดหรือใบน้อยหน่า ซึ่งการใช้ยาสมุนไพรเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และเป็นการใช้สมุนไพรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อีกด้วย จากการตรวจสุขภาพของนักเรียนระดับอนุบาล และประถมศึกษา ในอำเภอสุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส พบว่า มีเด็กนักเรียนเป็นเหาร้อยละ 22.85 ซึ่งการเป็นเหาในเด็กวัยเรียนมีโอกาสหายค่อนข้างยากและมีโอกาสติดโรคซ้ำ เนื่องจากภายในโรงเรียนมีเด็กนักเรียนเป็นจำนวนมากจึงมีการติดต่อโดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการใหล้ชิดหรือใช้ของร่วมกัน ทำให้เหาเพิ่มจำนวนและขยายพันธ์อย่างรวดเร๊วได้ตลอดปี จึงได้จัดทำโครงการเด็กวัยเรียนอำเภอสุไหงโก-ลก เหาตายสบายศีรษะ โดยใช้น้ำยาสกัดจากใบน้อยหน่าขึ้น เพื่อลดโรคเหาในเด็กนักเรียน และเพื่อให้เด็กนักเรียนมีความรู้ในการป้องกัน และรักษาโรคเหาเพิ่มขึ่น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1.เพื่อลดการเป็นเหาในเด็กนักเรียน
|
0.00 | |
2 | 2.เพื่อให้ผู้ปกครองมีความรู้ในการป้องกัน และรู้วิธีการกำจัดเหาเพิ่มขึ้น
|
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 46,200.00 | 0 | 0.00 | 46,200.00 | |
14 มิ.ย. 61 | ให้ความรู้เรื่องการป้อนกัน และรักษาโรคเหา แก่เด็กนักเรียน และผู้ปกครองที่เป็นเหาโดยให้ผู้ปกครองทำแบบสอบถาม ก่อนและหลังการให้ความรู้ | 0 | 46,200.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 46,200.00 | 0 | 0.00 | 46,200.00 |
-สำรวจจำนวน และรายชื่อเด็กนักเรียนที่เป็นโรคเหา จากรายงานการตรวจสุขภาพนักเรียน -ตรวจคัดกรองเหาในเด็กที่นักเรียนสำรวจรายชื่ออีกรอบ และสำรวจเด็กนักเรียนที่เป็นเหาเพิ่มเติม -ประชุมปรึกษาหารือคณะทำงาน/ประสานโรงเรียนและครูผู้รับผิดชอบงานอานามัยโรงเรียน -จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติ
1.จำนวนนักเรียนเป็นเหาลดลง และไม่กลับมาเป็นซ้ำอีก 2.ผู้ปกครองมีความรู้เรื่องการป้องกัน และวิธีกำจัดเหา สามารถนำไปปฏิบัติให้ลูกได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2561 09:21 น.