โครงการ หนูน้อยลิพัง ห่างไกลฟันผุ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑
ชื่อโครงการ | โครงการ หนูน้อยลิพัง ห่างไกลฟันผุ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ |
รหัสโครงการ | 61-L1486-1-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง |
วันที่อนุมัติ | 26 เมษายน 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2561 - 21 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 25 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 15,800.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสิริลดาเสียมไหม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.184,99.81place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 60 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีจึงมีผลต่อการมีสุขภาพกายที่ดีด้วย แต่ปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีสาเหตุเกิดจากภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีตัวปัญหาซึ่งเกิด จากสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันด้วย ยกตัวอย่างเช่นโรคฟันผุซึ่งเป็นปัญหาในช่องปากที่พบได้ทั่วไปก็มีปัจจัยร่วมหลายๆ อย่างที่ส่งเสริมให้เกิดโรคนอกเหนือไปจากเชื้อโรคในช่องปากเช่น อาจมาจากตัวบุคคลเองที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและการทำความสะอาดช่องปากของตนเองการอยู่ในครอบครัวที่ขาดการดูแลเอาใจใส่ หรือ สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวที่ไม่เอื้อต่อการใส่ใจสุขภาพช่องปาก นอกจากนี้สื่อโฆษณาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มก็มีอิทธิพลอย่างมากในสังคมปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรมต่างๆล้วนมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกันดังนั้นหากเราวางรากฐานเรื่องสุขภาพและสุขภาพช่องปากแก่เด็กก่อนวัยเรียนและผู้ปกครองพร้อมกับการสอดแทรกความรู้เรื่องการแปรงฟันที่ถูวิธี ในรูปแบบที่เหมาะสมกับเด็กๆนั้น เพื่อให้เด็กและผู้ปกครองได้ตระหนักเห็นว่าเรื่องของทันตสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ทุกคนมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบ แล้วปรับเปลี่ยนปลูกฝังพฤติกรรมอาจจะทำให้ปัญหาสุขภาพในช่องปากโดยเฉพาะเด็กก็จะมีสุขภาพที่ดีอีกด้วย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จึงได้ทำโครงการหนูน้อยลิพัง ห่างไกลฟันผุ ปีงบประมาณ ๒๕๖๑ เพื่อที่จะกระตุ้นความสนใจของเด็กให้หันมาสนใจและให้ความรู้ทันตอนามัยเรื่องสุขภาพและสุขภาพช่องปากมากขึ้น โดยจัดกิจกรรมที่สนุก เน้นการมีส่วนร่วม สอดแทรกไปกับความรู้ต่างๆ เพื่อให้เด็กได้รู้สึกว่าเรื่องต่างๆเหล่านี้ไม่ได้ไกลตัวและยากอย่างที่คิดและเพื่อให้เด็กและผู้ปกครอง ที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปเผยแพร่ยังกลุ่มเพื่อนตลอดจนผู้ใกล้ชิดต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง เด็กในคลินิกเด็กดี และเด็กวัยก่อนเรียน ( เด็กอายุอายุ แรกเกิด – ๖ ปี )มีความรู้ความเข้าใจ สามารถดูแลทันตสุขภาพของบุตรหลานได้อย่าง ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ๑. พ่อ แม่ ผู้ปกครอง( เด็กอายุอายุ แรกเกิด – ๖ปี )เด็กในคลินิกเด็กดี และเด็กวัยก่อนเรียน มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถดูแลทันตสุขภาพของบุตรหลานได้อย่าง ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ ร้อยละ๘๕ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 15.00 | 0 | 0.00 | 15.00 | |
1 ม.ค. 61 - 21 ก.ย. 61 | อบรมเรื่อง ผู้ปกครองทำอย่างไร หนูน้อยห่างไกลฟันผุ | 0 | 15.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 15.00 | 0 | 0.00 | 15.00 |
ขั้นเตรียมการ 1. จัดประชุมชี้แจงการดำเนินโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง 2. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านทางเสียงตามสายของหมู่บ้าน และอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่
ขั้นดำเนินการ ๑. อบรมให้ความรู้ พ่อ แม่ ผู้ปกครองที่ถูกต้อง เกี่ยวกับการดุแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน ๒. ฝึกปฏิบัติให้พ่อ แม่ ผู้ปกครอง สามารถแปรงฟันให้แก่บุตรหลาน อย่างถูกวิธี ๓. ทาฟลูออไรด์วานิช ในคลินิกเด็กดีและเด็กวัยก่อนเรียน ขั้นสรุปผลดำเนินการ ๑, สรุปและประเมินผล
1.เด็กที่เข้าร่วมโครงการ จะมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น 2.พ่อ แม่ ผู้ปกครอง เด็ก มีความรู้ ความเช้าใจ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากของบุตรหลาน ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2561 11:58 น.