กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสำรวจความเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลลิพัง ปี ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 61-L1486-1-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 21 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2561
งบประมาณ 17,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสุภาวรรณชัยศิริ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.184,99.81place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่า เราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จึงแสดงอาการต่างๆ ขึ้นมาเช่นโรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อโรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้นตำบลลิพัง เป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ80 ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวน ปลูกพืชผักผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงอยู่
จากสถานการณ์การตรวจคัดกรองความเสี่ยงการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลลิพังปี ๒๕๖๐ พบว่ามีเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืช จำนวน ๑๐๗ คน พบว่าผลเลือดปกติ ๒๐ คนคิดเป็นร้อยละ ๑๘.๗๐ และผลเลือดปลอดภัย จำนวน ๕๖ คน คิดเป็นร้อยละ ๕๒.๓๓ และผลเลือดมีความเสี่ยง ๒๓ คนคิดเป็น ร้อยละ ๒๑.๑๘ และไม่ปลอดภัย จำนวน ๘ คน คิดเป็นร้อยละ ๗.๔๗ แสดงว่าเกษตรกรในตำบลลิพัง ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง ดังนั้นโรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบลลิพัง จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในตำบลลิพัง จึงได้จัดทำโครงการสำรวจความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรังปี 25๖๑ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลลิพัง ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาประชากรกลุ่มเสี่ยงจากการประกอบอาชีพเกษตรกรในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ร้อยละ ๙๐เกษตรกรได้รับตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง โดยแบบฟอร์มคัดกรองกลุ่มเสี่ยงหาปริมาณสารเคมี ตกค้างในกระแสโลหิต

0.00
2 เพื่ออบรมให้ความรู้เกษตรกรผู้ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตำบลลิพัง

ร้อยละ ๙๘ เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่มีภาวะเสี่ยงได้รับการบำบัดด้วยสมุนไพรราจืด ร้อยละ ๙๘ เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงที่รับสมุนไพรรางจืดได้รับการเจาะเลือดซ้ำทุกราย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 17.00 0 0.00
1 ม.ค. 61 - 21 ก.ย. 61 ดำเนินการตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย 0 3.00 -
1 ม.ค. 61 - 21 ก.ย. 61 อบรมเรื่องอันตรายของสารเคมี การเข้าสู่ร่างกาย 0 8.00 -
1 ม.ค. 61 - 21 ก.ย. 61 จัดบริการรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสุขภาพให้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลลิพังโดยสมุนไพรรางจืด 0 6.00 -

จัดบริการรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสุขภาพให้แก่เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลลิพัง
โดยเจ้าหน้าที่ประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการแนะนำ การใช้สมุดบันทึกสุขภาพเกษตรกร และการตรวจซ้ำ
๗. ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน ๘. ปรับปรุง พัฒนาจากผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป สมุนไพรรางจืด

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ทราบถึงสถานการณ์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในเลือดของเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในตำบลลิพัง ๒. เพื่อจะได้นำข้อมูลมาใช้ในการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังและควบคุมโรคจากการ ประกอบอาชีพของตำบลลิพัง ๓. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รู้สถานะความเสี่ยงของตนเองและสามารถป้องกันตนเองได้ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2561 13:17 น.