กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ ปี ๒๕๖๑
รหัสโครงการ 61-L1486-1-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลิพัง
วันที่อนุมัติ 26 เมษายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2561 - 21 กันยายน 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2561
งบประมาณ 26,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางภัทรพร วงศ์ศรีสมุทร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลิพัง อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.184,99.81place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

ระบุ

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เน้นด้านการพัฒนาคุณภาพคนและสังคมไทย เพราะการพัฒนาคนจะเป็นการแก้ปัญหาสังคมโดยตรง แต่บุคคลที่จะพัฒนานั้นจะต้องมีสุขภาพที่ดี ถ้าประชากรมีสุขภาพไม่ดี การพัฒนาก็เป็นไปอย่างไม่มีศักยภาพ การที่จะมีสุขภาพดีนั้นต้องรู้จักดูแลสุขภาพของตนเอง และเห็นคุณค่าของการมีสุขภาพที่ดี การปลูกฝังความสามารถในการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่วัยเด็กเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากจะดูแลสุขภาพของตนเองได้แล้วยังสามารถที่ จะดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว และคนอื่นได้ด้วย ฉะนั้นเด็กวัยเรียน จึงเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องมีการพัฒนาอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต และเป็นวัยที่มีการเรียนรู้การฝึกอบรมผู้นำนักเรียนด้านสุขภาพเพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพให้เด็กเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนการเกิดโรคต่อการลดปัญหาด้านสุขภาพอนามัยและยังแบ่งเบาภาระครูอาจารย์ในการดูแลสุขภาพนักเรียน ในโรงเรียน และที่สำคัญยังเป็นการปลูกจิตสำนึกให้นักเรียนพึ่งพาตนเองในการตรวจสุขภาพและปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการดูแลสุขภาพตนเองต่อไป จากสถานการณ์ที่ผ่านมา โรงเรียนในเขตของตำบลลิพัง ซึ่งมีทั้งหมด ๔ โรง ประกอบด้วยโรงเรียนบ้านลิพัง โรงเรียนบ้านทุ่งปาหนัน โรงเรียนบ้านเขาติง และ โรงเรียน ตชด.บ้านหินจอก ได้ผ่านการอบรมแกนนำนักเรียนเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๘ปี ๒๕๕๙ และปี ๒๕๖๐ นักเรียนไม่ได้รับการอบรมแกนนำนักเรียน เพื่อให้แกนนำนักเรียนสามารถช่วยดูแลสุขภาพตนเอง และดูแลสุขภาพของเพื่อนนักเรียนแบ่งเบาภาระครูอาจารย์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ลิพัง จึงได้จัดทำโครงการเยาวชนรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ ปี ๒๕๖๑

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้มีผู้นำนักเรียนด้านสุขภาพ สามารถช่วยงานครูอนามัยได้ในเบื้องต้น

โรงเรียนทุกโรงในเขตตำบลลิพังมีผู้นำนักเรียนด้านส่งเสริมสุขภาพที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตร ร้อยละ ๑๐๐

0.00
2 เพื่อให้นักเรียนสามารถตรวจหาความผิดปกติของร่างกายตนเองและเพื่อนนักเรียนได้ในเบื้องต้นและ ลงบันทึกได้

ผู้นำนักเรียนด้านสุขภาพที่ผ่านการอบรมสามารถตรวจหาความผิดปกติของร่างกายตนเองและ เพื่อนนักเรียนได้ในเบื้องต้น ลงบันทึก และรายงานผลได้ ร้อยละ ๙๐

0.00
3 เพื่อให้นักเรียนได้ตระหนักความสำคัญของการดูแลสุขภาพและเป็นตัวอย่างในการดูแลสุขภาพของตนเอง และครอบครัว

๒. ผู้นำนักเรียนด้านสุขภาพที่ผ่านการอบรมสามารถตรวจหาความผิดปกติของร่างกายตนเองและ เพื่อนนักเรียนได้ในเบื้องต้น ลงบันทึก และรายงานผลได้ ร้อยละ ๙๐

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26.00 0 0.00
1 ม.ค. 61 - 21 ก.ย. 61 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่นักเรียน ในรูปแบบการกระตุ้นความรู้ 0 26.00 -

กิจกรรมที่ ๑ ขั้นเตรียมการ ๑. ประชาสัมพันธ์กิจกรรมการดำเนินงาน กับกลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน ๒. รวบรวมข้อมูลรายชื่อนักเรียนทุกโรงเรียน ในเขตตำบลลิพัง ๓. จัดทำทะเบียนรายชื่อนักเรียนทั้งหมดที่เข้าร่วมกิจกรรม ๔. ประชุมชี้แจงคณะทำงานและวางแผนการดำเนินงาน
๕. ประสานงานวิทยากรเสริมในส่วนของสันทนาการ ๖.จัดเตรียมแผนการจัดกิจกรรมแกนนำนักเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยแบ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มๆละ ๒๐ -๒๑ คน เพื่อรับความรู้ตามฐาน ๗. แจ้งตารางนัดหมายการจัดกิจกรรมให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายทราบ ๘. จัดเตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์ สื่อสาธิต ในการจัดค่ายแกนนำส่งเสริมสุขภาพ ๙. จัดเตรียมสถานที่ ๑๐. จัดทำสมุดบันทึกสุขภาพและคู่มือความรู้ แก่นักเรียนที่เข้าอบรมฯ ๑๑. จัดเตรียมแบบทดสอบความรู้ก่อนและหลัง การเข้าร่วมกิจกรรม กิจกรรมที่ ๒ ขั้นดำเนินการ ๒.๑ จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่นักเรียนในรูปแบบกระตุ้นความรู้จำนวน๑๓๐ คนเพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันโรค, อาการ , การรักษา และการแกไขปัญหาฉุกเฉิน โดยแบ่งฐานให้ความรู้แก่นักเรียนจำนวน ๖ ฐาน ดังนี้ ๒.๑.๑ฐานสุขบัญญัติ ๑๐ ประการ ๒.๑.๒ ฐานการดูแลสุขภาพช่องปาก และฟัน
๒.๑.๓ ฐานการส่งเสริมการบริโภคอย.น้อย ๒.๑.๔ ฐานความรู้เรื่องเพศศึกษา ๒.๑.๕ ฐานการป้องกันยาเสพติด ๒.๑.๖ ฐานการป้องกันโรคติดต่อ และไม่ติดต่อ ๒.๒ติดตามประเมินผล โดย
-แบบทดสอบความรู้หลังการเข้าร่วมกิจกรรม -แบบติดตามและประเมินผล
๒.๓สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

มีแกนนำนักเรียนด้านสุขภาพครอบคลุมทุกโรงเรียนโดยแกนนำนักเรียนสามารถดูแลสุขภาพ ตนเองและเพื่อนนักเรียนได้ในเบื้องต้น มีความรู้ด้านสุขภาพปฏิบัติตามสุขบัญญัติแห่งชาติ ๑๐ ประการ
การดูแลรักษาสุขภาพ เบื้องต้น มีความรู้เรื่องเพศศึกษา การดูแลสุขภาพภายในช่องปากและฟัน
รวมทั้งการป้องกันภัยยาเสพติดสามารถช่วยเหลืองานครูอนามัยด้านการดูแลสุขภาพ
และตระหนักถึงการมีสุขภาพที่ดี ปฏิบัติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เพื่อนนักเรียนครอบครัว และชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2561 16:57 น.