กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนปลอดเหล้า งานเศร้าเราไม่ดื่ม
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2561 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2561
งบประมาณ 26,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน
ละติจูด-ลองจิจูด 18.575,99.063place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุรา
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2561 30 ก.ย. 2561 26,850.00
รวมงบประมาณ 26,850.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน
20.00
2 ร้อยละของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน
10.67
3 จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน(คน)
12.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การดื่มสุราหรือเหล้าเป็นปัญหาสำคัญที่แฝงอยู่กับประเพณีและวัฒนธรรมไทยมานานจนก่อให้เกิดค่านิยมการดื่มเหล้าในโอกาสต่างๆ เช่นปีใหม่ สงกรานต์ ขึ้นบ้านใหม่ แต่งงาน งานบวชงานกฐิน หรือผ้าป่า รวมถึงงานศพ ล้วนแล้วแต่มีการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทั้งสิ้น โดยเฉพาะงานศพเป็นงานที่พบว่ามีปริมาณการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากในลำดับต้นๆ เนื่องจากงานศพเป็นงานที่เกิดขึ้นโดยที่เจ้าภาพไม่ได้ตั้งใจและไม่อยากให้เกิดขึ้นกับครอบครัว เมื่อเกิดขึ้นแล้วจำเป็นที่จะต้องจัดการตามประเพณี ซึ่งเจ้าภาพจะต้องจัดหาอาหารพร้อมเครื่องดื่ม เหล้า เบียร์ มาเลี้ยงแขกที่มาช่วยงาน บางคนเก็บศพไว้นานต้องเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากพองานเสร็จ บางครอบครัวต้องติดหนี้ ยิ่งถ้าผู้เสียชีวิตเป็นผู้นำครอบครัวด้วยแล้ว ผู้อยู่เบื้องหลังต้องลำบากเดือดร้อน นำไปสู่ความยากจนและปัญหาสังคม สาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนไทยนิยมดื่มเหล้าในเทศกาลงานบุญต่างๆ จนแทบจะเป็นเรื่องปกติในวิถีชีวิตประจำวันนั่นก็คือ การมีเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ชนิดต่างๆวางจำหน่ายอยู่โดยทั่วไปและหาซื้อได้ง่ายโดยไม่รู้สึกว่าเป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพ ชีวิต และทรัพย์สิน สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ก่อปัญหาเช่นนี้คือสืบเนื่องมาจากประเพณี วัฒนธรรมและบริบทของสังคมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนรู้สึกว่าการดื่มเหล้าเป็นเรื่องปกติในชีวิต โดยไม่ได้ฉุกคิดถึงพิษภัยของการดื่มเหล้าที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพสร้างปัญหาด้านเศรษฐกิจให้กับครอบครัว นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการเล่นการพนัน และนำพาไปสู่การเกิดปัญหาสังคมอื่นๆตามมา เช่นอุบัติเหตุจราจร การลักขโมย การทะเลาะวิวาท และความยากจนของคนในชนบทผลการสำรวจข้อมูลในการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2558ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชากรไทย 18,641,720 คนดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นานๆ ครั้ง ซึ่งดื่มน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ร้อยละ 60.1 และเป็นนักดื่มประจำ ซึ่งดื่มตั้งแต่ 1 ครั้งต่อสัปดาห์ขึ้นไปร้อยละ 39.9 เมื่อจำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ ประชากรกลุ่มอายุ 15-24 ปีส่วนใหญ่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นานๆ ครั้งร้อยละ68.1ในขณะที่กลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไปดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกวันร้อยละ 15ประชากรหญิงของไทยส่วนใหญ่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นานๆ ครั้งร้อยละ 84โดยดื่มเพียง 1-3 ครั้งต่อปีร้อยละ 30 ในขณะที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประชากรชายดื่มเป็นประจำร้อยละ 45.8
    ในพื้นที่ตำบลบ้านกลางเป็นแหล่งชุมชนเมือง มีโรงงานนิคมอุตสาหกรรมจึงมีประชากรย้ายเข้ามาอยู่ในพื้นที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดสถานประกอบการและสถานบันเทิงขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งทำให้เข้าถึงสิ่งเหล่านี้ได้สะดวกและง่ายขึ้น ส่งผลให้มีประชาชนที่ดื่มสุราเป็นจำนวนมากขึ้นตามสมัยนิยมในสังคมปัจจุบันซึ่งรายงานการสำรวจจำนวนผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง (ข้อมูลณ วันที่ 30 กันยายนพ.ศ.2560) พบว่ามีประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 8,084 คน เป็นเพศชายจำนวน 3,740 คน และเพศหญิงจำนวน 4,344 คน และมีจำนวนผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อายุ 15 ปี ขึ้นไป เป็นเพศชาย ร้อยละ 11.84และเป็นเพศหญิงร้อยละ 9.66และจากการทำแผนสุขภาพชุมชนโดยกลุ่มแกนนำ ผู้นำชุมชน ได้มีความเห็นว่า ควรมีการรณรงค์ให้ ลด ละ เลิกการดื่มเหล้าในงานศพ
    ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการชุมชนปลอดเหล้า งานเศร้า เราไม่ดื่ม เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ กระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงโทษของการดื่มเหล้า และลด ละ เลิก การดื่มเหล้าในงานศพ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น นำไปสู่การงดเหล้าในงานบุญงานประเพณีต่างๆ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน

อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ)

20.00 15.00
2 เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน

อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ)

10.67 10.00
3 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนเพิ่มขึ้น(คน)

12.00 24.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,850.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมอบรมให้ความรู้ 0 18,450.00 -
??/??/???? กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ 0 8,400.00 -
  1. เสนอโครงการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
  2. ประชุมชี้แจงรายละเอียดวัตถุประสงค์กิจกรรมโครงการให้กับกลุ่มแกนนำ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อสม. กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มผู้สูงอายุ
  3. จัดอบรมให้ประชาชนและแกนนำ มีความรู้ และสร้างความเข้าใจ เรื่องลด ละ เลิก การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท
  4. จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกัน
  5. รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ สร้างความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  6. ติดตามประเมินผล สรุปผลงาน เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมและขยายผลการดำเนินงาน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงโทษของการดื่มเหล้า
  2. ประชาชน ลด ละ เลิก การดื่มเหล้าในงานศพ
  3. มีหมู่บ้านต้นแบบปลอดเหล้างานศพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2561 10:46 น.