กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จากผลการดำเนินงานโครงการชุมชนปลอดเหล้า งานเศร้าเราไม่ดื่ม ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๑  ได้จัดกิจกรรมอบรบให้ความรู้แก่แกนนำประชาชนหมู่ที่ 1 – หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน จำนวน 100 คน โดยมีการบรรยายให้ความรู้เรื่องลด ละ เลิก การบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  ทุกประเภท และความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งมีการลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วยความร่วมมือการปลอดเหล้าในงานศพ ระหว่างเทศบาลตำบลบ้านกลาง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานสภาเทศบาลตำบลบ้านกลาง ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลบ้านกลาง กลุ่มพัฒนาสตรีตำบลบ้านกลาง กลุ่มผู้สูงอายุตำบลบ้านกลาง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกลาง ซึ่งผู้เข้าร่วมโครงการให้ความสนใจและร่วมมือในการทำกิจกรรมเป็นอย่างดี จากการประเมินความพึงพอใจในการอบรม พบว่า ก่อนการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการลด ละ เลิก การบริโภคเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท อยู่ในระดับมากเป็นส่วนใหญ่ จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 52 รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 35 คน คิดเป็นร้อยละ 35 หลังการอบรมมีความรู้เกี่ยวกับการลด ละ เลิก การบริโภคเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท อยู่ในระดับมาก จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 33 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากก่อนการอบรม ผู้เข้าอบรมได้รับประโยชน์จากการอบรมเรื่อง ลด ละ เลิก การบริโภคเครื่องดื่ม ที่มีแอลกอฮอล์ทุกประเภท อยู่ในระดับมากเป็นส่วนใหญ่ จำนวน  43 คน คิดเป็นร้อยละ 43 รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 28 การนำความรู้  ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมาก จำนวน 59 คน คิดเป็นร้อยละ 59 รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 34 วิทยากรมีความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ได้อย่างชัดเจน อยู่ในระดับมาก จำนวน 54 คน คิดเป็นร้อยละ 54 รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุดและระดับปานกลาง จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 23 เนื้อหาในการบรรยายของวิทยากรมีความเหมาะสมเข้าใจง่าย อยู่ในระดับมาก จำนวน 60 คน คิดเป็นร้อยละ 60 รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 24  สื่อ/เอกสารประกอบการบรรยายมีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก จำนวน 48 คน คิดเป็นร้อยละ 48 รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 33 ระยะเวลาในการอบรมให้ความรู้มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 52 รองลงมาอยู่ในระดับมากที่สุดและปานกลาง จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 24 ส่วนสถานที่ แสง แสงสว่างของห้องจัดประชุมมีความเหมาะสม      อยู่ในระดับมากที่สุด จำนวน 58 คน คิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมาอยู่ในระดับมาก จำนวน 42 คน คิดเป็นร้อยละ 42

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน
ตัวชี้วัด : อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ)
20.00 15.00

 

2 เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน
ตัวชี้วัด : อัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชนลดลงเหลือ(ร้อยละ)
10.67 10.00

 

3 เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน
ตัวชี้วัด : จำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชนเพิ่มขึ้น(คน)
12.00 24.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 100
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง -
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเด็กและเยาวชนที่มีอายุไม่เกิน 25 ปีในชุมชน (2) เพื่อลดอัตราการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ใหญ่ที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปในชุมชน (3) เพื่อเพิ่มจำนวนอาสาสมัครและเครือข่ายที่ทำงานเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในชุมชน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรมอบรมให้ความรู้ (2) กิจกรรมรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh