กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ หนูน้อยสุขภาพดีด้วยแอปคุณลูกส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี
รหัสโครงการ 61-l1510-4-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบ่อ
วันที่อนุมัติ 14 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 กรกฎาคม 2561 - 10 กรกฎาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 10 สิงหาคม 2561
งบประมาณ 13,350.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอำนวยนวลแก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ห้องประชุม รพ.ส ตำบลหนองบ่อ อำเภอย่านตาขาว จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.416,99.718place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 ส.ค. 2561 10 ส.ค. 2561 13,350.00
รวมงบประมาณ 13,350.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรและเป็นกำลังสำคัญในการสร้างและพัฒนาประเทศ วัยทารกเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของชีวิตมนุษย์ ถ้าทารกได้เริ่มต้นวางรากฐานที่ดีเกี่ยวกับพัฒนาการเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยมีครอบครัวเป็นหลักเหมาะสมกับวัย ก็จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์แข็งแรง และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไป ซึ่งปัจจุบันนโยบายของรัฐในด้านสาธารณสุขให้ความสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาสตรีและเด็ก โดยมีความมุ่งหวังให้ทุกคนในครอบครัวมีสุขภาพดี เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมเหมาะสมตามวัย มีการส่งเสริมให้มารดามีการดูแลสุขภาพบุตรด้วยตนเอง โดยเฉพาะในเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี จะต้องได้รับการดูแลสุขภาพได้รับการตรวจพัฒนาการและได้รับการเอาใจใส่เป็นพิเศษจากทั้งบิดามารดา ญาติพี่น้อง รวมทั้ง องค์กรต่างๆในชุมชน
ในปัจจุบันสภาพปัญหาเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ของหมู่ที่ 2 หมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 4 ตำบลหนองบ่อพบมีพัฒนาการล่าช้าจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 20.8 อีกทั้งการตรวจพัฒนาการเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ยังไม่มีความครอบคลุมด้วยจำนวนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่เพียงพอ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ดูแลเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี เพื่อจะได้ส่งเสริมพัฒนาการได้อย่างทั่วถึง ทางชมรม อสม.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองบ่อ จึงได้จัดทำโครงการหนูน้อยสุขภาพดีด้วยแอปคุณลูกส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ขึ้น เพื่อให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีมีพัฒนาการสมวัย ,มีภาวะโภชนาการในระดับปกติ ,ได้รับวัคซีนครบถ้วนตามเกณฑ์ และมีสุขภาพช่องปากที่ดี เมื่อเติบโตก็จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เ1. เพื่อสร้างแกนนำดูแลสุขภาพเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี 2. เพื่ออบรมการใช้แอปคุณลูกส่งเสริมสุขภาพเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี 3. เพื่อให้เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีเข้าถึงบริการส่งเสริมสุขภาพครอบคลุมร้อยละ 100
  1. อสม.และ ผู้ดูแล มีความรู้ในการดูแลเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัย
  2. เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีมีสุขภาพดีครอบคลุม 4 ด้าน
  3. มีการใช้แอปคุณลูกมาช่วยในการดูแลสุขภาพเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี
1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่คณะทำงานประกอบด้วย สมาชิก อสม. จำนวน 20 คน
  2. จัดอบรมกลุ่มเป้าหมายตามโครงการ จำนวน 50 คน ประกอบด้วย อสม. จำนวน 40 คน และแกนนำผู้ปกครองเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี จำนวน 10 คน โดยมีรายละเอียดเนื้อหา ดังนี้
  3. อสม.และแกนนำผู้ปกครองนำชุดตะกร้าตรวจพัฒนาการเบื้องต้นออกตรวจพัฒนาการตามละแวกบ้านเดือนละครั้ง
  4. อสม.และผู้ปกครองส่งรายงานการตรวจพัฒนาการในวันประชุมประจำเดือน อสม.เป็นประจำทุกเดือน
  5. สรุปผลโครงการและส่งคืนข้อมูลแก่ประชาชนทั้ง 3 หมู่บ้าน
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม.และ ผู้ดูแล มีความรู้ในการดูแลเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตามวัย
  2. เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีมีสุขภาพดีครอบคลุม 4 ด้าน
  3. มีการใช้แอปคุณลูกมาช่วยในการดูแลสุขภาพเด็กแรกเกิดถึง 5 ปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 2561 13:38 น.