โครงการร่วมด้วย ช่วยกัน ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน ปี 2561
ชื่อโครงการ | โครงการร่วมด้วย ช่วยกัน ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน ปี 2561 |
รหัสโครงการ | 61-L5294-1-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | รพสต.นาทอน |
วันที่อนุมัติ | 2 พฤษภาคม 2561 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 พฤษภาคม 2561 - 30 กันยายน 2561 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2561 |
งบประมาณ | 26,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวสุนิสา ชัยสงคราม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.032,99.743place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ดูจากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้เลือดออกย้อนหลังของ รพ.สต.นาทอน ปี 2556-2560 พบว่าอัตราป่วยต่อแสนประชากร เป็น 22.17 ,0 ,0 ,22.69 และ 89.77ซึ่งมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไปโดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ดังนั้น เพื่อให้การป้องกัน ควบคุมและเฝ้าระวังการระบาดของโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบลนาทอนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาทอน จึงได้จัดทำโครงการร่วมด้วย ช่วยกัน ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลายขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ตระหนักถึงความสำคัญความสำคัญการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรค และชุมชนมีส่วนร่วมในการป้องกัน ควบคุม และเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในชุมชน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1.เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (HI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
|
80.00 | |
2 | ข้อที่ 2. .เพื่อลดค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.นาทอน
|
80.00 | |
3 | ข้อที่ 3.เพื่อลดอัตราป่วยเป็นไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
|
80.00 | |
4 | ข้อที่ 4.เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
|
80.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 17.00 | 1 | 20,400.00 | -20,383.00 | |
2 พ.ค. 61 - 2 มิ.ย. 61 | 1.ร่วมด้วยช่วยกัน ชุมชนปลอดลูกน้ำยุงลาย | 0 | 17.00 | ✔ | 20,400.00 | -20,383.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 17.00 | 1 | 20,400.00 | -20,383.00 |
1.เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ
2.ประชาสัมพันธ์โครงการในพื้นที่ ม.1, ม.2, ม.3, ม.6 และ ม.7 ต.นาทอน
3.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ จนท.และอสม.
4.จัดตั้งทีมพิชิตยุงลายประจำหมู่บ้าน
5.จัดอบรมให้ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำประจำครอบครัวในการป้องกันโรคไข้เลือดอกจำนวน 120 คน
6.จัดกิจกรรม รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกในหมู่บ้าน และการเข้าร่วมกิจกรรมประกวดบ้านและหมู่บ้านต้นแบบ
7.แจกใบสมัครเข้าร่วมกิจกรรมประกวดบ้านและหมู่บ้านต้นแบบปลอดลูกน้ำยุงลาย
8.บ้านและหมู่บ้านที่เข้าร่วมกิจกรรม ทำกิจกรรมเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายเพื่อเป็นบ้านและหมู่บ้านต้นแบบ
9.ทีมพิชิตยุงลายประจำหมู่บ้าน ออกสุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายในบ้านและหมู่บ้าน ที่เข้าร่วมประกวด
10.คัดเลือกบ้านและหมู่บ้านต้นแบบ ที่ได้รับรางวัลปลอดลูกน้ำยุงลาย
11.มอบรางวัลพร้อมเกียรติบัตรบ้านและหมู่บ้านต้นแบบ
12.เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครประจำหมู่บ้านออกรณรงค์ ลูกน้ำยุงลานในเขตรับผิดชอบ รพ.สต.นาทอน
13.สรุปและรวบรวมผลการดำเนินงาน
1.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน (ค่าHI) ไม่เกิน 10 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
2.ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และมัสยิด (ค่าCI) เป็น 0 ของหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบ
3.อัตราผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกลดลง ไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
4.ชุมชนมีส่วนร่วมในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2561 13:49 น.