กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่องงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ รูปแบบตรวจสอบความดันโลหิต/เบาหวานที่บ้าน กลุ่มเสี่ยง/เสี่ยงสูง/กลุ่มป่วย ระยะเข้มข้นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาคุณภาพงานอย่างต่อเนื่องงานควบคุมโรคไม่ติดต่อ รูปแบบตรวจสอบความดันโลหิต/เบาหวานที่บ้าน กลุ่มเสี่ยง/เสี่ยงสูง/กลุ่มป่วย ระยะเข้มข้นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
รหัสโครงการ 61-L1497-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 14 กันยายน 2561
งบประมาณ 11,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปรีดาไทรงาม ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ต.ค. 2560 31 ส.ค. 2561 11,700.00
รวมงบประมาณ 11,700.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 90 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในการพัฒนาสาธารณสุข เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสุขภาพดีถ้วนหน้าของประชาชนได้นั้น จำเป็นต้องพัฒนากลวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการดูแลสุขภาพของตนเองตั้งแต่เริ่มต้น และปรับปรุงระบบบริการของรัฐให้สามารถรองรับและเชื้อมต่อกับระบบการสาธารณสุขมูลฐานของชุมชนได้ นอกจากนั้นยังต้องอาศัยการพัฒนาด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เหมาะสมกับท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนสามารถค้นหาปัญหาวางแผนแก้ไขปัญหาได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะก่อให้เกิดเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนและต่อเนื่อง สำหรับปัญหาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและทวีความรุนแรงมากขึ้น ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโยงใต้ มีผู้ป่วยเป็นเบาหวาน จำนวน 108 คน คิดเป็นอัตรา 2865.458 ต่อแสนประชากร ความครอบคลุมการค้นหาผุ้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานในประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งตามเป้าหมายแผนยุทธศาสตร์จังหวัดตรัง ค้นหาผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเท่ากับหรือมากกว่า ร้อยละ 95 ของกลุ่มเป้าหมาย จากการดำเนินงานควบคุม ป้องกัน และรักษา ปี 2560 พบปัญหาการค้นหาผู้ป่วยในระยะแรก การส่งเสริมสุขภาพการป้องกันภาวะแทรกซ้อน พบ ผุ้ป่วย และผู้มีภาวะเสี่ยง เสี่ยงสูง ที่มีโอกาสเกิดโรคได้กลวิธีที่จะดำเนินการในการควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดโรค โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มป่วยโดยการสนับสนุนการจัดการตนเอง โดยการเจาะตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้านซึ่งผลควบคุมน้ำตาลในเดือดได้ร้อยละ 60 ดังนั้น ปีงบประมาณ 2561 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโยงใต้ ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข เพิ่มการสนับสนุนการจัดการ กลุ่มป่วยเบาหวาน กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย ความดันโลหิตสูง เพื่อให้สามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องสามารถตรวจวัดความดันโลหิตและเจาะน้ำตาลเพื่อดูผลการดูแลตนเองอย่างปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันไม่ให้เกิดโรคในกลุ่มเสี่ยงลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มป่วย และการพัฒนาองค์กรชุมชนดูแลชุมชนของตนเองติดตามตรวจวัดความดันโลหิต เจาะตรวจน้ำตาลในเลือดให้กลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยที่บ้าน ระยะเข้มข้น ซึ่งทำให้มีแกนนำชุมชนมีความสามารถและสร้างศรัทธาแก่ประชาชนได้ จึงน่าจะเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินงาน ซึ่งจะเริมต้นที่ผลักดันบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครในเรื่องดังกล่าวให้เป็นรูปธรรม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโยงใต้ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องงานควบคุมโรครูปแบบตรวจความดันโลหิต เบาหวานที่บ้าน ระยะเข้มข้นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ อสม.ได้รับความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสามารถนำไปให้ความรู้แก่ประชาชนได้

อสม. ได้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมไม่เกิดโรคเรื้อรัง ร้อยละ 100

70.00
2 2.เพื่อให้กลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้มีความรู้และควบคุมปัจจัยอย่างทันท่วงทีและต่อเนื่องลดความพิการจากโรค

2.ให้กลุ่มผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานควบคุมภาวะโรคได้ ร้อยละ 50

333.00
3 3.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้มีความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะการเป็นโรค

1.ให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงวินิจฉัยเป็นโรคน้อยกว่าร้อยละ 10 2.ให้ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงเบาหวานวินิจฉัยเป็นโรคน้อยกว่าร้อยละ 5

122.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 11.00 2 11,700.00
2 ต.ค. 60 - 31 ส.ค. 61 1.อบรมให้ความรู้กลุ่มเป้าหมาย 0 11.00 11,700.00
2 ต.ค. 60 - 31 ส.ค. 61 ตรวจสุขภาพกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วย กลุ่มแกนนำ 0 0.00 0.00

1.จัดทำโครงการ 2.ชี้แจงผุ้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ 3.จัดทำแบบสำรวจ และเตรียมอุปกรณ์ในการตรวจน้ำตาลในเลือดและเครื่องวัดความดันโลหิต 4.จัดเตรียมเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน 2.1จัดให้ความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและกลุ่มป่วย กลุ่มเสี่ยง เสี่ยงสุงที่เข้าร่วมโครงการ เรื่อง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และการมีพฤติกรรมเสี่ยง -การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมายและการส่งต่อ -ติตามผู้ป่วยให้ได้รับรักษาอย่างสม่ำเสมอและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยง 2.2 อาสาสมัครฯ คัดกรองกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจัดทำทะเบี่ยนผุ้ป่วยกลุ่มเสี่ย 2.3 จัดอบรมให้ความรู้ในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และญาตโดยใช้การตรวจความดันโลหิตและตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยตนเองที่บ้าน 2.4 อสม. เยี่ยมติตามผู้ป่วยอย่างน้อย 1 คร้ัง/สัปดาห์ 2.5 อสม. เยี่ยมติดตามผุ้ป่วยอย่างน้อย 1 ครั้ง/เดือนฃ 2.6 จนท. สาธารณสุข เยี่ยมติดตามผุ้ป่วยอย่างน้อยเดือนละครั้ง 3. ติดตามและประเมินผล 4.สรุปการดำเนินงานและคืนข้อมูลสู่ชุมชน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชา่ชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมและเมื่อเจ็บป่วยได้รับการดูแลรักษาที่มีคุณภาพและต่อเนื่อง 2.ประชาชนมีความศรัทธาในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุข และสถานบริหารสาธารณสุขและให้ความร่วมมือในการพัฒนางานสาธารณสุขมากขึ้น ชุมชนได้รับการพัฒนาจนสามารถบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างเป็นรูปธรรมมีการปฏิบัติที่ต่อเนื่องและยั่งยืนได้ในที่สุดโดยชุมชนดูแลชุมชนของตนเอง 3.ผู้ป่วยเบาหวาน กลุ่มเสี่ยง เสี่ยงสูง ความดันโลหิตสูงรู้จักการจัดการตนเองและสามารถดูแลตนเองโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและควบคุมโรคได้ 4.อัตราป่วยและการตายจากโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2561 15:03 น.