กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพ และควบคุมฟันผุ (Caries Control) เด็กก่อนวัยเรียนตำบลนาโยงใต้ ปีงบประมาณ 2561
รหัสโครงการ 61-L1497-1-04
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโยงใต้
วันที่อนุมัติ 22 มิถุนายน 2561
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 มิถุนายน 2561 - 30 สิงหาคม 2561
กำหนดวันส่งรายงาน 14 กันยายน 2561
งบประมาณ 8,250.14 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเบญจวรรณอุตสาหะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาโยงใต้ อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.571,99.669place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 15 มิ.ย. 2561 30 ส.ค. 2561 8,250.14
รวมงบประมาณ 8,250.14
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพช่องปากของประชาชนไทยยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะโรคฟันผุเป็นปัญหาที่ เด่นชัด เมื่อไม่ได้รับการรักษาอย่าง
ทันท่วงที โรคจะลุกลามและสูญเสียฟันในที่สุด ส่งผลต่อพัฒนาการ สุขภาพ การสบฟัน ตลอดจนการใช้ชีวิตประจำวัน ข้อมูลจากการ
สำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ ๗ ปี ๒๕๕๕ พบว่า กลุ่มเด็กอายุ ๓ ปี มีฟันน้ำนมผุร้อยละ ๕๑.๗ มีฟันผุที่ไม่ได้รับ
การรักษา ร้อยละ ๕๐.๖ ในขณะที่ภาคใต้ พบว่าเด็ก ๓ ขวบมีอัตราการเกิดฟันผุสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับ ภาคอื่นๆ เป็นร้อยละ 61
และเป็นฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษาสูงสุด ร้อยละ ๕๙.๘ และเมื่อพิจารณาในเด็กอายุ ๕ ปี ก็พบว่า ในระดับประเทศก็มีอัตราการเกิดฟันผุที่สูงขึ้น เป็นร้อยละ ๗๘.๕
ผุที่สูงขึ้น เป็นร้อยละ ๗๘.๕ และมีฟันผุที่ยังไม่ได้รับการรักษา ร้อยละ ๗๕.๙ ในขณะที่ของภาคใต้ ก็พบว่า เด็ก 5 ขวบมีฟันน้ำนมผุ เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ ๘๓.๔ และไม่ได้รับการรักษาสูงถึง ร้อยละ ๘๒.๖
  สำหรับตำบลนาโยงใต้ จากผลการสำรวจสภาวะสุขภาพเด็ดในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล พบว่า มีฟันผุ ร้อยละ 85.04
ซึ่งมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ก่อนที่ฟันผุจะลุกลามไปจนต้องสูญเสียฟัน โดยที่ฟันส่วนหนึ่งยังรอการบูรณะอยู่และ
สามารถทำการบูรณะด้วยวิธี SMART Technique เป็นเทคนิคการอุดฟันที่คิดค้นเพื้อใช้ในการบูรณะฟัน ในกรณีที่ไม่สามารถจัดบริการ
แบบปกติได้ เป็นการให้บริการทันตกรรมเชิงรุก สามารถดำเนินการในชุมชนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เทคนิคนี้ได้มี
การพัฒนาวัสดุทางทันตกรรมที่ชื่อว่า กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ ที่มีคุณสมบัติที่ดีมีการปลดปล่อยฟลูออไรด์ในปริมาณที่สูงซึ่งฟลูออไรด์ที่
ปลดปล่อยออกมา ก็มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย เพิ่มการคืนกลับของแร่ธาตุ มีความสำคัญต่อการควบคุมการเกิดโรคฟันผุ
หรือป้องกันการเกิดฟันผุซ้ำ จากการทบทวนของ Yip และ Smales ในปี ค.ศ. 2002 พบว่า การใช้กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์เป็นสาร
เคลือบหลุมร่องฟันและทำการอุดฟันอย่างง่าย พบว่า อัตราการยึดสมบูรณ์ มีประมาณร้อยละ 70 และอัตราการคงอยู่และฟันไม่ผุเพิ่ม
ร้อยละ 96 ประโยชน์ของการทำ SMART Technique ด้วย กลาสไอโอโนเมอร์ ซีเมนต์ คือ เป็นการปรับพฤติกรรมเด็กให้คุ้นชินกับการ
รับบริการทันตกรรม ลดความเจ็บปวดของเด็ก ลดการลุลุกลามและสามารถเก็บฟันไว้โดยไม่ต้องถอน ลดปริมาณเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก
ได้ ซึ่งประสิทธิผลในการบูรณด้วยวิธีนี้ เหมาะสมในการจัดกิจกรรมทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล และควบคู่ไปกับ
กิจกรรมทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันที่ยังไม่ผุ ไม่ให้เกิดการผุต่อไป
  เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาฟันผุในกลุ่มเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาโยงใต้
จึงทำโครงการส่งเสริมป้องกันทันตสุขภาพและควบคุมฟันผุ (Caries Control) เด็กก่อนวัยเรียน ตำบลนาโยงใต้ ปีงบประมาณ 2561
ขึ้นเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการรับบริการส่งเสริม ป้องกัน และบริการทันตกรรม ในกลุ่มเด็กปฐมวัย ลดการสูญเสียฟันก่อนวันอันควร ป้องการ
การเกิดฟันผุในฟันดี และลดการสะสมเชื้อแบคทีเรียที่จะส่งผลให้ฟันกรามผุในช่วงวัยเรียนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

ร้อยละ 90 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล้กและโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก

90.00
2 2.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช

ร้อยละ 80 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลได้รับการทาฟลูออไรด์วานิช

80.00
3 3.เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลที่มีฟันผุ ได้รับการอุดฟันด้วยวิธี SMART Technique

ร้อยละ 40 ของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลที่มีฟันผุได้รับการอุดฟันด้วยวิธี SMART Technique

40.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 157.00 3 8,250.14 -8,093.14
15 - 22 มิ.ย. 61 1.กิจกรรมหลักตรวจสุขภาพช่องปากเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลและแจ้งผลการตรวจสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครองเด็ก 0 150.00 150.00 0.00
21 - 22 มิ.ย. 61 กิจกรรมหลักทาฟูลออไรด์วานิชเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้ 0 4.00 4,500.14 -4,496.14
4 - 9 ก.ค. 61 กิจกรรมกลักอุดฟันเด็กดด้วยวิธี SMART Technique ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาลในตำบลนาโยงใต้ 0 3.00 3,600.00 -3,597.00
รวมทั้งสิ้น 0 157.00 3 8,250.14 -8,093.14

๑. ตรวจสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล
๒. แจ้งผลการตรวจสุขภาพช่องปากแก่ผู้ปกครอง
๓. ดำเนินการขออนุญาตผู้ปกครองเด็กเพื่อให้เด็กเข้ารับบริการทันตกรรม
๔. ดำเนินการให้บริการทาฟลูออไรด์วานิชเพื่อป้องกันฟันผุในเด็กที่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองและไม่มีโรคประจำตัว ต้องห้าม
๕. ดำเนินการให้บริการอุดฟันอย่างง่ายด้วยวิธี Smart Technique ในเด็กที่ฟันผุและสามรถอุฟันด้วยวิธี Smart Techniqueได้
๖. สรุปโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กมีฟันผุลดลง 2.เด็กสูญเสียฟันก่อนกำหนดลดลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2561 16:04 น.